Home
|
ไลฟ์สไตล์

รำลึก ‘ทมยันตี’ ผ่าน 3 สาวแกร่งที่สร้างจากปลายปากกาของเธอ

Featured Image

          ‘ทมยันตี’ นามปากกาอันลือเลื่อง เจ้าของผลงานนวนิยายน้ำดีที่มีภาษาสละสลวย เนื้อเรื่องเข้มข้นเต็มไปด้วยอารมณ์ของมนุษย์แบบจับใจทำให้ได้รับความนิยมและนำไปดัดแปลงสู่ละครเวทีและบทโทรทัศน์อย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน ทั้ง คู่กรรม ทวิภพ ดั่งดวงหฤทัย พิษสวาท ล่า และ ใบไม้ที่ปลิดปลิว

          ผลงานการรังสรรค์ของ แม่อี๊ด หรือ คุณหญิงวิมล ศิริไพบูลย์ ภายใต้นามปากกา ทมยันตี และอีกหลากหลายชื่อนั้น ได้พัฒนาวงการนิยายไทยให้พัฒนาไปอย่างรวดเร็ว จนถึงขนาดได้รับการยอมรับเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ ประจำปี พ.ศ. 2555

          ถึงแม้ชีวิตจะดูสวยงามโรยด้วยกลีบกุหลาบ แต่แท้จริงแล้ว ‘ทมยันตี’ คนนี้ก็มีประวัติล้มเหลวในเรื่องครอบครัว กลายเป็นแม่ม่ายลูก 3 และถูกใส่ร้ายว่าเป็นผู้หญิงมีชู้เช่นเดียวกัน ทำให้ผลงานวรรณกรรมภายใต้ปลายปากกาของเธอมีกลิ่นอายการต่อสู้ของลูกผู้หญิงเยอะอยู่ทีเดียว

          เพื่อเป็นการไว้อาลัยถึงการจากไปในอายุ 85 ปี ของแม่อี๊ดเจ้าของนามปากกา ทมยันตี เราเลยขอยก 3 ชีวิต ลูกผู้หญิงที่ถูกสังคมกดทับผ่านคำบอกเล่าของผู้เขียนที่เคยโดนดูถูกเช่นเดียวกัน

  1. อังศุมาลิน : หญิงที่โดนดูถูกว่าไม่สงวนตัวจนต้องจบลงด้วยการโดนบังคับแต่งงาน – คู่กรรม

          เรื่องคู่กรรมเป็นเรื่องที่คนส่วนใหญ่รู้ดีถึงความรักข้ามเชื้อชาติระหว่างโกโบริและอังศุมาลิน แต่ในรายละเอียดยิบย่อยแล้วการแต่งงานของทั้งคู่เกิดจากเสียงปากเสียงชาวบ้านนี่แหละ ที่ต้องมีชื่อเสียงเสียหายเพียงเพราะถูกพบอยู่ในอ้อมกอดของพระเอกในหลุมหลบภัย การโดนเหยียดหยามว่าเป็นผู้หญิงลูกผู้หญิงไม่รักนวลสงวนตัวรวมถึงผลประโยชน์ทางการเมืองทำให้เธอต้องปลงใจกับชายที่ยังไม่ได้รัก

  1. ชลา : หญิงที่โดนด้อยค่าเป็นสมบัติในฐานะเมียน้อย – เมียน้อย

          เรื่องราวของสาวน้อย ชลา ที่ชีวิตพลิกผันต้องรับบทเป็นเมียน้อยให้กับผู้ชายหลายต่อหลายคน ท่ามกลางการโดนดูถูกว่าเป็นผู้หญิงที่ไร้คุณค่าจากคนรอบข้าง และถูกมองเป็นเพียงสมบัติผลัดกันชมของผู้ชาย ทำให้เธอต้องแข็งแกร่งเพื่อทนกับคำครหาต่างๆ

  1. มธุสร : หญิงที่ตอบโต้ความรุนแรงของผู้ชายจากการโดนข่มขืน – ล่า

          สาวลูก 1 ที่ต้องกลายเป็นแม่ม่ายหลังโดนกดขี่จากสามีของเธอ หนำซ้ำชีวิตหลังการหย่าก็ต้องกลายเป็นนรกทั้งเป็นยิ่งกว่าเดิมจากน้ำมือของ 7 ทรชน ที่ข่มขืนเธอและลูกจนเสียสติ การถูกสังคมชายเป็นใหญ่ที่กดทับให้ผู้หญิงดูอ่อนแอและกฎหมายที่ไม่สามารถเอาผิดได้ ทำให้เธอเลือกที่จะตอบโต้ความรุนแรงนี้ด้วยตัวเอง

          จาก 3 ตัวละครหญิงที่ถูกสร้างโดย ทมยันตี นี้เป็นเหมือนเครื่องตอกย้ำถึงความเป็นผู้หญิงที่ดี และ ผู้หญิงเลว ว่าไม่ได้ขึ้นอยู่กับตัวเองแต่กลับถูกผูกไว้กับตาชั่งของผู้ชาย แม้ในตอนจบทั้ง 3 ตัวละครนี้จะพบกับความสุขในท้ายเล่ม แต่ในความเป็นจริงยังมีผู้หญิงอีกหลายคนที่รอคอยความหวังที่จะได้กลับมามีความสุขอีกครั้งเหมือนกับตัวละครในนิยาย

ติดตามคอนเทนต์เปิดโลก บทความสุขภาพดีๆ และไลฟ์สไตล์โดนๆได้ที่ iNN Lifestyle

ติดตามเนื้อหาดีๆแบบนี้ได้ที่

Facebook : https://www.facebook.com/innnews.co.th

Twitter : https://twitter.com/innnews

Youtube : https://www.youtube.com/c/INNNEWS_INN

TikTok : https://www.tiktok.com/@inn_news

ขอบคุณข้อมูลจาก

ภัทรพร หงษ์ทอง . การศึกษาแนวคิดสตรีนิยมในนวนิยาย ของทมยันตีระหว่างพุทธศักราช 2506-2534. กรุงเทพมหานคร : ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย; 2537.

  • Tiktok
  • Youtube
  • Youtube