Home
|
ไลฟ์สไตล์

Commitment Phobia โรคกลัวการผูกมัด

Featured Image

          Commitment Phobia คือ โรคกลัวการผูกมัด กลัวการใกล้ชิด ซึ่งคนที่มีอาการนี้มักจะกลัวในเรื่องของการตัดสินใจที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ที่จะมีผลยาวนาน เช่น การคบหาเป็นแฟน การแต่งงาน จะรู้สึกไม่สบายใจ กังวล จนไม่สามารถต่อยอดก้าวหน้าในความสัมพันธ์ได้ 

          จริงๆอาการนี้เราอาจเคยได้สัมผัสกับตัวเองหรือเรารู้สึกเองก็ได้ ขอยกตัวอย่างหนึ่งท่อนสุดโด่งดังของ วันเดอร์เฟรม “อยู่ดีๆก็หาย ไลน์ไม่ตอบ” ที่ส่วนหนึ่งก็อาจจะมาจาก Commitment Phobiaก็ได้ 

สาเหตุของโรคกลัวการผูกมัด 

  • เคยมีประสบการณ์ที่ไม่ดีในอดีตเกี่ยวกับความสัมพันธ์ 
  • ครอบครัวแยกทางกัน มีปมในใจตั้งแต่อดีต 
  • บางคนที่มีความผิดปกติทางบุคลิกภาพ ก็อาจจะสูญเสียความมั่นใจ และไม่อยากผูกมัดกับใคร
  • ขาดความมั่นใจในตัวเอง 
  • กลัวความสัมพันธ์ที่ลึกซึ้งจะมีผลเสียมากกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
  • เคยตัดสินใจผิดพลาดจนส่งผลเสียกับตัวเอง 

สัญญาณหรือลักษณะอาการโรคกลัวการผูกมัด 

ลองสังเกตอาการเบื้องต้นเหล่านี้กับตัวเองหรือคนที่เรากำลังคุยอยู่ว่ามีบ้างไหม ย้ำว่าเป็นการสังเกตในเบื้องต้น 

  • ไม่ค่อยพูดคุยเกี่ยวกับอนาคตของความสัมพันธ์หรือแสดงอาการวิตกกังวลเวลาคุยเรื่องนี้
  • หากมีการพูดถึงอนาคต แต่อาจจะไม่มีเราอยู่ด้วยในแผนนั้นๆ 
  • ความสัมพันธ์ดูไม่คืบหน้าหลังจากที่คุยหรือเดทกันมาสักพักหนึ่ง
  • พยายามหนีออกห่างจากความสัมพันธ์ 
  • อาจจะมีเพื่อนหรือคนรู้จักน้อย
  • เอาตัวเองเป็นที่ตั้ง ทำตามความต้องการของตัวเองมากกว่า

ย้ำว่านี้คือการสังเกตในเบื้องต้น แต่ละคู่ แต่ละคนอาจจะมีสไตล์ที่ไม่เหมือนกัน บางคู่อาจจะมีความสุขที่เป็นแบบนี้

จัดการกับความกลัวนี้อย่างไรดี?

หากสงสัยหรือคิดว่าคนที่เราคุยมีอาการแบบนี้ เราจะจัดการยังไง ควรทำอย่างไรในเบื้องต้น 

  • พูดถึงความกังวลนี้กับคนที่เราคุยอยู่เพื่อให้ทั้งสองฝ่ายเข้าใจกัน
  • ช่วยเพิ่มความมั่นใจให้กันและกัน
  • เคารพในขอบเขตของแต่ละคน 
  • ยอมรับและปล่อยวางหากรู้สึกว่าไม่โอเค 
  • ปรึกษาจิตแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญ เพื่อทราบแนวทางการแก้ไขที่ถูกต้อง

          อาการจำพวก Phobia ส่วนใหญ่หากได้รับคำแนะนำที่ถูกต้อง ได้ลองปรับเปลี่ยนก็สามารถดีขึ้นได้ ในกรณีของ Commitment Phobiaสิ่งที่สำคัญก็คงเป็นเรื่องพื้นฐานของความสัมพันธ์ นั่นคือ การพูดคุยและทำความเข้าใจกัน เราไม่มีทางรู้ว่าอีกฝ่ายเจอเรื่องอะไรมา รับฟังด้วยใจอย่าตัดสินกัน หาทางออกร่วมกันเป็นสิ่งที่ควรทำอันดับแรกๆ และอย่าลืมติดตาม ไอ.เอ็น.เอ็น. เพื่อไม่พลาดทุกข่าวและบทความใหม่ๆ 

ติดตามเนื้อหาดีๆแบบนี้ได้ที่

Facebook : https://www.facebook.com/innnews.co.th

Twitter : https://twitter.com/innnews

Youtube : https://www.youtube.com/c/INNNEWS_INN

TikTok : https://www.tiktok.com/@inn_news

ขอขอบคุณข้อมูล

psychecentral 

webmd

  • Tiktok
  • Youtube
  • Youtube