21 ก.พ. ประเทศไทยใช้ พ.ศ. ครั้งแรกแทนรัตนโกสินทรศก
ปีนี้ปีที่เท่าไหร่? หากได้ยินในยุคสมัยนี้ก็คงต้องถามกลับไปว่าจะให้ตอบแบบ พ.ศ. หรือ ค.ศ. แต่หากย้อนกลับไป 111 ปี(นับแบบ พ.ศ.) ประเทศไทยก็เข้าสู่ยุค ร.ศ.241 ของวันที่ 21 กุมภาพันธ์ ครบรอบการใช้ระบบ พุทธศักราช เป็นศักราชประจำชาติแทน รัตนโกสินทรศก
กาลเวลาแบบไทยๆสู่สากล
เดิมทีในสมัยโบราณคนไทยใช้วิธีการนับวันเดือนปีแบบจันทรคติ อาศัยลักษณะดวงจันทร์ที่เว้าแหว่งเต็มดวงสลับกันไปทุกๆครึ่งเดือน โดยวันนับตั้งแต่ ข้างขึ้น 1 ค่ำ – ขึ้น 15 ค่ำ ค่อยต่อด้วย แรม 1 ค่ำ – แรม 14 ค่ำ หรือ แรม 15 ค่ำ ซึ่งจะนับแรมได้ถึง 15 นั้นก็ต้องดูว่าเดือนนั้นเป็นเดือนขาดหรือเดือนเต็ม
ต่อมาเมื่อประเทศไทยสนับสนุนวัฒนธรรมแบบตะวันตกเพื่อไม่ให้ตกเทรนด์โลก รัชกาลที่ 5 จึงเปลี่ยนวิธีการนับวันตามพระจันทร์ (จันทรคติ) หันมานับง่ายๆแบบสุริยคติ ซึ่งอิงจากดาราศาสตร์ฝรั่งที่อธิบายถึงโลกเคลื่อนที่ตามดวงอาทิตย์ เมื่อครบ 365 วันก็เท่ากับ 1 ปีพอดิบพอดี
และเมื่อมี ปี จึงมีประกาศให้นับศักราชในไทยใหม่เปลี่ยนจาก ปีแบบจุลศักราช เป็น รัตนโกสินทรศก(ร.ศ.) ในวันที่ 1 เมษายนโดยรัชกาลที่ 5 และกำหนดให้วันนี้เป็นวันขึ้นปีใหม่ในช่วงนั้น
การนับปีด้วยระบบ ร.ศ. ใช้ได้มาถึง 131 ปี ก่อนจะต้องเปลี่ยนแปลงตามคำสั่งของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 เพื่อต้องการเทียบปีได้ง่ายกับประวัติศาสตร์จึงสะดวกให้ใช้พุทธศักราช (พ.ศ.) แทนเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2455 จนถึงปัจจุบัน
ติดตามบทความสาระดีๆ แบบนี้ต่อได้ที่ iNN Lifestyle
ติดตามเนื้อหาดีๆแบบนี้ได้ที่
Facebook : https://www.facebook.com/innnews.co.th
Twitter : https://twitter.com/innnews
Youtube : https://www.youtube.com/c/INNNEWS_INN
TikTok : https://www.tiktok.com/@inn_news
LINE Official Account : @innnews