โรคกลัวที่แคบ Claustrophobia
หนึ่งในอาการกลัวหรือ Phobia ที่เราจะได้ยินกันบ่อยที่สุดกับ อาการกลัวที่แคบ วันนี้มาทำความรู้สึกอาการนี้กันสักนิด
โรคกลัวที่แคบคืออะไร?
โรคกลัวที่แคบ หรือ Claustrophobia คือ อาการวิตกกังวลผิดปกติของบุคคล เมื่อตกอยู่ในสถานการณ์ที่ถูกให้อยู่คนเดียวในบริเวณที่ปิดล้อม พื้นที่แออัด พื้นที่กำจัดที่ค่อนข้างแคบ จะเกิดอาการผิดปกติเช่น ไม่สบายใจ หายใจไม่สะดวก กังวล รู้สึกปวดหัว
อาการโรคกลัวที่แคบ
- เหงื่อออกกว่าปกติ
- ตัวสั่นคล้ายเกิดความกลัว
- หัวใจเต้นเร็วขึ้น
- ความดันโลหิตขึ้นสูง
- มึนหัว
- รู้สึกแน่นหน้าอก มีอาการหายใจไม่สะดวก
- รู้สึกชา
- หายใจเร็ว
- มีอาการปวดท้อง ท้องไส้ปั่นป่วน
สาเหตุของโรคกลัวที่แคบ
โรคกลัวที่แคบ หรือ Claustrophobia เป็นอาการกลัวที่อธิบายได้หลายสาเหตุ ตั้งแต่การทำงานที่ผิดปกติ ความทรงจำ ประสบการณ์ในวัยเด็กที่ไม่ดีจนกระทบต่อสมอง เช่น ถูกกลั่นแกล้ง ,ถูกขัง ,อุบัติเหตุที่ทำให้อยู่ในที่แคบ เช่น ลิฟท์ค้าง ลูกบิดเสียทำให้ติดอยู่ในห้องในตู้ เป็นต้น
สังเกตอาการตัวเอง
ลองสังเกตอาการของตัวเองว่าหากเราต้องอยู่ในสถานที่แบบนี้ เรามีอาการของโรคกลัวที่แคบหรือไม่
- ลิฟท์โดยสาร
- อุโมงค์
- ห้องใต้ดิน
- รถไฟใต้ดิน
- ห้องขนาดเล็ก ห้องที่แคบ
- เครื่องบิน
- ห้องที่ไม่มีหน้าต่าง
- ห้องที่ถูกล็อค
- จุดที่มีคนแออัด
หากสังเกตแล้วว่าตัวเองมีอาการกับสถานที่เหล่านี้ ส่วนใหญ่ก็จะรักษาโดยผู้เชี่ยวชาญ เช่น การบำบัดจิตใจ การรับประทานยา การให้ลองสัมผัสเสมือนจริงเช่น VR
ส่งท้ายสักนิดกับเรื่องน่าสนใจ สาเหตุที่ต้องติดกระจกในลิฟท์หนึ่งสาเหตุนั้นก็คือช่วยให้ลิฟท์รู้สึกกว้างขึ้นสำหรับคนที่มีอาการกลัวที่แคบนั่นเอง (ที่ติดกระจกยังมีอีกหลายสาเหตุไว้จะแวะมาเล่าให้ทุกคนฟัง) อยากรู้เกี่ยวกับโรคอะไรอีกบอก iNN ไว้ได้เลย
ติดตามเนื้อหาดีๆแบบนี้ได้ที่
Facebook : https://www.facebook.com/innnews.co.th
Twitter : https://twitter.com/innnews
Youtube : https://www.youtube.com/c/INNNEWS_INN
TikTok : https://www.tiktok.com/@inn_news
LINE Official Account : @innnews
ขอขอบคุณข้อมูล