รู้หรือเปล่า? สีของน้ำมูกก็บอกอาการป่วยได้นะ
ยามถึงเวลาไม่สบายสัญญาณแรกๆที่สังเกตได้ส่วนใหญ่คืออาการครั่นเนื้อครั่นตัว แล้วตามด้วยน้ำมูกที่ค่อยๆไหลมาแล้ว หากไม่ทำความสะอาดก็จะแปลงกลายเป็นขี้มูกปิดบังรูจมูกให้หายใจลำบากอีกจนต้องพกทิชชู่ติดตัวตลอด ซึ่งก็น่าแปลกใจอยู่เหมือนกันที่การป่วยบาง สีของน้ำมูก ก็เข้มน้อยไม่เท่ากัน iNN Lifestyle ขอเปิดคลินิกจำลองหาความรู้มาให้ว่า สีของน้ำมูกสามารถระบุโรคที่เราป่วยได้เหมือนกัน
รู้จักประโยชน์ของน้ำมูก
หากร่างกายรู้สึกป่วยและช่วงที่พบเจอฝุ่นมลภาวะ ร่างกายก็จะตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมดังกล่าวให้เยื่อบุทางเดินหายใจและทางเดินอาหาร อย่างเช่น ปอด จมูก ไซนัส คอ ไปถึงจนหลอดลม ผลิตของเหลวเพื่อดักจับสิ่งแปลกปลอมที่ลอยละล่องไม่ให้เข้าสู่ร่างกายอากาศ ซึ่งอาจเป็นได้ทั้งขี้ฝุ่น สารก่อภูมิแพ้ และเชื้อไวรัส โดยน้ำมูกมีได้หลายสีขึ้นอยู่กับปัจจัยการผลิตของร่างกาย จึงทำให้เราเช็กสุขภาพเบื้องต้นของเราได้จากน้ำมูกด้วยเช่นกัน
ความหมายของน้ำมูกแต่ละสี
ความหมายของน้ำมูกแต่ละสี
- น้ำมูกใส
เป็นน้ำมูกที่มีความข้นน้อยที่สุด มีลักษณะใส ไม่มีสี และเหลวเป็นน้ำ บ่งบอกถึงการมีสุขภาพดี แต่คนส่วนใหญ่มักเจอบ่อยตอนเป็นหวัดเล็กน้อย หรือภูมิแพ้อ่อนๆ รวมไปถึงตอนร้องไห้ เนื่องจากจมูกแห้ง ร่างกายเลยต้องการให้โพรงจมูกชุ่มชื้นมากขึ้น
- น้ำมูกสีขาว
มีลักษณะเหนียวหนืดกว่าแบบใส เกิดจากน้ำมูกขังอยู่ภายในโพรงจมูกเป็นเวลานานจนสูญเสียน้ำที่เป็นองค์ประกอบหลัก ส่งผลให้น้ำมูกหนาเป็นสีขาวแม้ไม่เป็นอันตรายแต่หากพบบ่อยอาจเป็นต้นเหตุของโรคไซนัส
- น้ำมูกสีเขียว
หมายถึงร่างกายเป็นไข้ เพราะภูมิต้านทานของเรากำลังเปิดศึกกับเชื้อโรคอยู่บริเวณทางเดินหายใจโดยเซลล์เม็ดเลือดขาวจะผลิตเอนไซม์ที่ทำให้น้ำมูกเป็นสีเขียวปนเหลืองออกมา
- น้ำมูกสีแดง
ส่อสัญญาณบาดเจ็บบริเวณจมูก หรืออาการเส้นเลือดในโพรงจมูกแตก ทั้งจากการสั่งน้ำมูกมากเกินไป แคะขี้มูกบ่อย ทำให้น้ำมูกติดสีแดงจากเลือดและเป็นสีน้ำตาลจากเลือดที่แห้งแล้ว
- น้ำมูกสีเทา
พบเห็นได้ยากซึ่งอาจเป็นลักษณะอย่างหนึ่งของอาการเกิดริดสีดวงในจมูก โดยเกิดจากไซนัสที่บวมเบ่งออกมา
- น้ำมูกสีดำ
อาจเกิดจากการติดเชื้อราที่รุนแรงจนเป็นสัญญาณโรคไซนัสอักเสบจากเชื้อรา รวมถึงสาเหตุจากการสูบบุหรี่หรือใช้สารเสพติด รวมทั้งอยู่เขตอากาศที่เป็นมลพิษมากเกินไป
ทั้งนี้แม้ผู้ป่วยคนไหนอาจตกใจกับสีของน้ำมูกที่เช็ดออกมา แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะเป็นโรคที่ว่า 100% ทางที่ดีหากพบอาการผิดปกติควรรีบพบแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัยและรักษาได้อย่างถูกต้องที่สุด เพราะท้ายที่สุดแล้วกูเกิ้ลไม่ได้เรียนปริญญา 6 ปีเท่าเด็กคณะแพทยศาสตร์
ติดตามสาระความรู้เพื่อสุขภาพได้ที่ iNN Lifestyle
ติดตามเนื้อหาดีๆแบบนี้ได้ที่
Facebook : https://www.facebook.com/innnews.co.th
Twitter : https://twitter.com/innnews
Youtube : https://www.youtube.com/c/INNNEWS_INN
TikTok : https://www.tiktok.com/@inn_news
LINE Official Account : @innnews