Home
|
ไลฟ์สไตล์

โรคชอบเก็บตัว ฮิคิโคโมริ

Featured Image

          ฮิคิโคโมริ(HiKikomori) คำนี้เชื่อว่าหลายคน น่าจะเคยได้ยินผ่านหูกันมาบ้าง เพราะมันคืออาการทางจิต ที่ผู้ป่วยจะชอบเก็บตัว เรามักจะเห็นผู้คนชอบหยิบยกคำนี้มาใช้กับเด็กหรือลูกของตัวเองและสงสัยว่าเป็นโรคนี้รึเปล่า วันนี้มารู้จักโรคนี้ให้มากขึ้นกันดีกว่า 

ฮิคิโคโมริ ซินโดรม(Hikikomori Syndrome) 

          ฮิคิโคโมริ หรือภาษาญี่ปุ่น (引きこもり) เป็นอาการ ความผิดปกติทางจิตวิทยาอย่างหนึ่ง โดยผู้ป่วยมักมีพฤติกรรมแยกตัวออกจากสังคม ไม่ชอบพบปะผู้คน มักเก็บตัว ขังตัวเองอยู่ในห้อง 

          กระทรวงสาธารณสุขญี่ปุ่นให้คำจำกัดความของ “ฮิคิโคโมริ” ว่าหมายถึงคนที่ตัดขาดตัวเองจากสังคมภายนอกเป็นเวลาหกเดือนขึ้นไป และปฏิสัมพันธ์เพียงแค่กับคนในบ้านเท่านั้น รัฐบาลคาดการณ์ว่าญี่ปุ่นมีฮิคิโคโมริประมาณ 1.15 ล้านคน แต่อาจารย์ไซโต ทามากิ จิตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเรื่องฮิคิโคโมริและเป็นผู้คิดคำนี้ขึ้นมา คาดว่าจริง ๆ แล้วน่าจะมีไม่ต่ำกว่า 2 ล้านคน

ผลกระทบของฮิคิโคโมริ 

คนที่เป็นฮิคิโคโมริ

  • มักจะขาดความมั่นใจในตัวเอง 
  • กลัวการปฏิสัมพันธ์กับผู้คน 
  • มีปัญหาด้านบุคลิกภาพ 
  • มักขังตัวเองไว้ในห้องแทบตลอดเวลาโดยไม่ยอมไปโรงเรียนหรือไปทำงาน 

          แต่บางคนก็สามารถไปที่ที่รู้สึกปลอดภัยซึ่งไม่ต้องข้องแวะกับผู้คนนัก เช่น ห้องสมุด สถานีรถไฟ หรือร้านสะดวกซื้อ แม้จะรู้สึกสบายใจกับการอยู่ในโลกส่วนตัวมากกว่าออกไปเจอโลกภายนอก แต่พวกเขาก็มักรู้สึกเหงา กระวนกระวาย และซึมเศร้าอยู่เสมอ

 

ทำไมญี่ปุ่นถึงมีคนเป็นฮิคิโคโมริเยอะ 

          ด้วยสังคมที่ใช้ชีวิตตามกรอบอย่างเข้มงวด ค่านิยมด้านการทำงาน ความอดทนอดกลั้นนั้นก็เป็นข้อเสียทำให้ผู้คนรู้สึกเครียดสูงมาก เมื่อความเครียดสูงหลายคนก็เลือกเส้นทางที่จะหนีปัญหา หนีผู้คนเพื่อความสบายใจ 

 

สาเหตุของฮิคิโคโมริ 

          สาเหตุนั้นยังไม่ชัดเจนว่าเกิดจากอะไร แต่ส่วนใหญ่มักเกิดจากความเครียด ความกดดัน ความผิดหวังที่เจอในชีวิต จนทำให้เป็นคนเก็บตัวในที่สุด

 

ป้องกันฮิคิโคโมริ 

  • พูดคุยกับเด็กเยอะๆ เพราะโรคนี้มักเกิดในช่วงวัยเด็ก
  • พบปะผู้คนที่ทำให้เราสบายใจ
  • หากิจกรรมที่ชอบ ที่สามารถทำได้นอกบ้าน 
  • ให้กำลังใจคนรอบข้างและตัวเอง
  • ไปเที่ยว 
  • ชื่นชมในตัวเอง

          หากมีปัญหาจนกระทบชีวิตก็ปรึกษาจิตแพทย์เพื่อรับคำแนะนำในการรักษาต่อไป ยังไงก็อย่าลืมสังเกตคนรอบข้างๆ เพื่อป้องกันไว้เป็นดีที่สุด ทุกคนสามารถติดตามสาระความรู้เพื่อสุขภาพได้ที่ iNN Lifestyle

ติดตามเนื้อหาดีๆแบบนี้ได้ที่

Facebook : https://www.facebook.com/innnews.co.th

Twitter : https://twitter.com/innnews

Youtube : https://www.youtube.com/c/INNNEWS_INN

TikTok : https://www.tiktok.com/@inn_news

LINE Official Account : @innnews

ขอขอบคุณข้อมูล

กรมสุขภาพจิต 

pubmed

  • Tiktok
  • Youtube
  • Youtube