Home
|
ไลฟ์สไตล์

ที่มาวันมะเร็งโลก และประวัติศาสตร์ของมะเร็ง

Featured Image

          วันมะเร็งโลก นั้นมีความสำคัญอย่างมาก เพราะเป็นหนึ่งในแรงพลักดันให้คนทั่วโลกใส่ใจกับสุขภาพและความร้ายแรงของโรคมะเร็งกันมากขึ้น โรคมะเร็งเป็นอีกหนึ่งโรคที่คร่าชีวิตคนไปมากที่สุด ในประเทศไทยเองเมื่อปี พ.ศ 2561 ผลการสำรวจพบว่า จำนวนผู้ป่วยรายใหม่ อยู่ราวๆ 170,495 ราย เสียชีวิตประมาณ 114,199 ราย เป็นตัวเลขที่เยอะจนน่าตกใจ คิดเฉลี่ยเป็น 8 รายต่อชั่วโมง นั่นแสดงถึงความน่ากลัวของโรคมะเร็งได้เป็นอย่างดี และทั่วโลกเองสถานการณ์ก็ไม่ต่างกันนัก จึงเป็นที่มาของวันมะเร็งโลก 

          วันมะเร็งโลก ผู้ที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จนี้คือ สมาพันธ์ควบคุมมะเร็งสากล Union for international Cancer Control หรือ UICC  เป็นองค์กรมะเร็งที่ใหญ่และเก่าแก่ที่สุดเลยก็ว่าได้ ริเริ่มการสนับสนุนเพื่อลดการเกิดโรคมะเร็ง ควบคุมและพัฒนาให้ทุกคนได้มีความรู้ที่ถูกต้องและได้รับการรักษาอย่างถูกวิธี พวกเขาเชื่อว่าทุกคนควรได้รับสิทธิในการรักษาอย่างถูกต้องและเท่าเทียม

          ในอดีตวันมะเร็งโลกนั้นเริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2543 ในการประชุม World Summit Against Cancer ที่เมืองปารีส ประเทศฝรั่งเศส เพื่อปลุกระดมให้ประชาคมโลกเห็นความน่ากลัวของโรคมะเร็ง และการป้องกัน จนมาที่มาของมะเร็งโลกในที่สุด 

          ประวัติศาสตร์ของมะเร็งนั้นย้อนไปได้พบได้ราวๆ 80 ล้านปีก่อน 

          70-80 ล้านปีก่อน 

          ปี พ.ศ. 2546 ค้นพบหลักฐานเซลล์มะเร็งในฟอสซิลไดโนเสาร์ 

          4.2-3.9 ล้านปีก่อน 

          หลักฐานที่ค้นพบเก่าแก่ที่สุดคือ มะเร็งเนื้องอกที่พบใน Homo erectus โดย Louis Leakey ในช่วงปี พ.ศ. 2475

          ช่วง 3,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช

          พบหลักฐานของเซลล์มะเร็งในมัมมี่ ประเทศอียิปต์ 

          ช่วง 1,900-1,600 ปีก่อนคริสต์ศักราช

          มะเร็งถูกค้นพบยุคสำริด ในกะโหลกศีรษะของมนุษย์เพศหญิง

          ช่วง 1600 ปีก่อนคริสต์ศักราช

          อียิปต์ได้มีบันทึกเกี่ยวกับมะเร็งและการรักษา เช่นมะเร็งกระเพาะอาหารนั้นรักษาด้วยข้าวบารณเลย์ต้มผสมอินทผาลัม 

          ช่วง 1100 – 400  ปีก่อนคริสต์ศักราช

          บันทึก The Rites of The Zhou ได้กล่าวถึงแพทย์จีนผู้เชี่ยวชาญในการรักษาอาการบวมและแผลพุพองที่เกี่ยวข้องกับมะเร็ง 

          ช่วง 500 ปีก่อนคริสต์ศักราช

          นิทานรามายณะของอินเดียได้มีการกล่าวถึงการรักษาเนื้องอกด้วยการวางสารหนูหรืออาร์เซนิกเพื่อยับยั้ง

          ช่วง 400 ปีก่อนคริสต์ศักราช

          พบหลักฐานจากมัมมี่ในเปรูว่ามีร่องรอยของโรคมะเร็ง และในประเทศกรีก บิดาแห่งการแพทย์ ฮิปโป เครตีส ได้อธิบายไว้ว่าความเจ็บป่วยของร่างกายเกิดจากความไม่สมดุลของ น้ำดีเหลือง ดำ เลือด และเสมหะ และเป็นคนที่สังเกตความแตกต่างระหว่างเนื้องอกในระยะเริ่มแรกที่ไม่มีความร้ายแรง 

          ช่วง 400 ปีก่อนคริสต์ศักราช

          มีแพทย์จีนได้ทำการศึกษาการลุกลามการแพร่กระจายของมะเร็งเต้านม

          ช่วงคริสต์ศักราชที่ 50 

          ชาวโรมันได้สังเกตพบว่าเนื้องอกบางส่วนสามารถผ่าตัดออกได้และสามารถเติบโตได้อีกครั้ง

          ช่วงคริสต์ศักราชปี 500 – 1500 

          การผ่าตัดมีความก้าวหน้ามากขึ้น มีการใช้กับเนื้องอกขนาดเล็ก พวกสารหนูถูกนำมาใช้กับโรคมะเร็งมากขึ้น

         ช่วงคริสต์ศักราชปี 1400-1500s

          ลีโอนาร์โดดาวินชี ผ่าซากศพเพื่อจุดประสงค์ทางศิลปะและวิทยาศาตร์เกี่ยวกับร่างกายมนุษย์

          ช่วงคริสต์ศักราชปี 1500 

          เริ่มมีการผ่าเพื่อทำความรู้เกี่ยวกับเนื้องอกและโรคมะเร็งมากขึ้น

          ในศตวรรษที่ 17 

          ศัลยแพทย์ชื่อว่า Adrian Helvetius ได้ทำการผ่านตัดก้อนเนื้อและผ่าตัดมะเร็งเต้านม และในช่วงปีนั้นเองหลายประเทศมีความเข้าใจในโรคมะเร็งมากขึ้นว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร และมีความก้าวหน้าในการผ่าตัดมากขึ้น 

          ในคริสต์ศักราชปี  1775 

          Dr.Percival Pott จากโรงพยาบาลเซนต์บาร์โธโลมิว ได้อธิบายว่ามะเร็งเกิดจากสะสมจากเขม่าหรือการสัมผัสเคมีในสิ่งแวดล้อมต่างๆได้ งานวิจัยชิ้นนี้นำไปสู่งานวิจัยอีกมากมายจนถึงปัจจุบัน

          มะเร็งนั้นอยู่คู่กับโลกเรามากอย่างยาวนาน และยังเป็นคู่ต่อสู้ที่ร้ายกาจสำหรับมนุษย์เสมอ แม้ว่าปัจจุบันเทคโนโลยีจะก้าวหน้าจะสามารถสู้กับมะเร็งได้ดีกว่าแต่ก่อนมาก แต่สำคัญที่สุดก็คือการดูแลรักษาตัวเองให้ดีตั้งแต่แรก ใส่ใจให้ความสำคัญ  ดั่งวัตถุประสงค์ที่วันมะเร็งโลกได้จัดตั้งขึ้นมานั้งเอง

ติดตามเนื้อหาดีๆแบบนี้ได้ที่

Facebook : https://www.facebook.com/innnews.co.th

Twitter : https://twitter.com/innnews

Youtube : https://www.youtube.com/c/INNNEWS_INN

TikTok : https://www.tiktok.com/@inn_news

ขอขอบคุณข้อมูลจาก

Worldcancerday 

สถาบันมะเร็งแห่งชาติ

  • Tiktok
  • Youtube
  • Youtube