Home
|
ไลฟ์สไตล์

25 สิงหาคม คณะราษฎรตั้ง “สมาคมคณะราษฎร” เป็นพรรคการเมืองแรกของไทย

Featured Image

          เปิดที่มาคณะราษฎร และสมาคมคณะราษฎร พรรคการเมืองแรกของประเทศหลังไทยเปลี่ยนระบอบการปกครองจากสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ

          เป็นที่รู้กันดีอยู่แล้วว่าในปัจจุบันมีพรรคการเมืองที่เกิดขึ้นมาใหม่และอยู่มานานจำนวนมาก เพื่อคอยทำหน้าที่เป็นกระบอกเสียงประชาชน (หรือเป็นกระบอกเสียงของพรรคพวกตัวเอง) แต่รู้หรือเปล่าว่าวันนี้เมื่อ 90 ปีที่แล้วเป็นวันแรกที่ประชาชนมีกระบอกเสียงเป็นของตัวเองผ่าน “คณะราษฎร” ที่ตั้ง “สมาคมคณะราษฎร” ในวันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ.2475

ที่มา  “คณะราษฎร” กับ “สมาคมคณะราษฎร”

          คณะราษฎร (อ่านว่า คะ-นะ-ราด-สะ-ดอน) เป็นกลุ่มรวมตัวประชาชนหัวก้าวหน้าที่ต้องการปรับเปลี่ยนระบอบการปกครองประเทศจากระบอบเก่าให้เป็นระบอบใหม่ โดยมองว่าเจ้าของระบอบเก่าไม่สามารถรับมือปัญหาเศรษฐกิจตกแต่ง และปัญหาการรุกรานจากบริติชและอังกฤษได้

          จึงได้มีประชุมลับในแต่ละที่หลายต่อหลายครั้ง จนในปี 2475 ยึดอำนาจการปกครองแผ่นดินจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองของประเทศสยามในสมัยนั้น ให้กลายเป็นการปกครองแบบตะวันตกให้มากที่สุด ทั้งการนำกษัตริย์อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญหรือระบบสภาแบบอังกฤษ

          โดยใช้แผนการ  “ยึดอำนาจโดยฉับพลัน” เพื่อหลีกเลี่ยงการนองเลือดเหมือนประเทศอื่น รวมไปถึงลดการเกิดความขัดแย้งภายใน เพราะหากประเทศล่าอาณานิคมรู้ก็จะเสี่ยงต่อการโดนแทรกแซงอำนาจในที่สุด

         ซึ่งต่อมาหลังจากปฏิวัติยึดอำนาจได้แล้ว ก็ได้ประกาศเป้าหมาย 6 ประการของคณะราษฎรเป็นการสัญญาว่าจะรักษาเอกราช ความปลอดภัย ความสมบูรณ์ และมีความเท่าเทียม มีเสรีภาพ มีการศึกษาแก่ราษฎรทุกคน 

          ทำให้ สมาคมคณะราษฎร ได้ลงทะเบียนจัดตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการ ถูกประชาชนพูดถึงมากขึ้นเป็นวงกว้างจนได้รับการยอมรับในฐานะกลุ่มผู้นำประเทศ และถูกยกให้เป็นพรรคการเมืองแรกของประเทศไทย แม้สมัยนั้นจะยังไม่มีการบัญญัติคำว่า ‘พรรค’ ก็ตาม

          สมาคมคณะราษฎร ประกอบไปด้วยกลุ่มทหารบก กลุ่มทหารเรือ รวมถึงกลุ่มพลเรือนนำโดย ดร.ปรีดี พนมยงค์ นักกฎหมายจบนอก รวมทั้งหมด 114 ชีวิต ทำหน้าที่รักษาการแทนพระมหากษัตริย์ในช่วงปี 2481-2490 ก่อนที่จะมีปัญหาเกาเหลากันเองในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เหลือไว้เพียงจอมพล ป. พิบูลสงคราม ที่หมดอำนาจแล้ว นับเป็นการจบตำนานคณะราษฎรและสมาคมคณะราษฎรในที่สุด

ยังมีเรื่องราวย้อนวันวานให้รออ่านอีกแวะค้นต่อได้ที่ iNN Lifestyle

ติดตามเนื้อหาดีๆแบบนี้ได้ที่

Facebook : https://www.facebook.com/innnews.co.th

Twitter : https://twitter.com/innnews

Youtube : https://www.youtube.com/c/INNNEWS_INN

TikTok : https://www.tiktok.com/@inn_news

LINE Official Account : @innnews

  • Tiktok
  • Youtube
  • Youtube