ฉลองครบรอบ 130 ปี วันเกิด ศิลป์ พีระศรี อาจารย์ฝรั่งผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยศิลปากร ผู้สร้างตำนานแก่ศิลปินไทยหลายคน รวมถึงเจ้าของคำคม ‘ศิลปะยืนยาว แต่ชีวิตสั้น’
ประวัติเส้นทาง ศิลป์ พีระศรี
ก่อนจะได้ชื่อ ศิลป์ พีระศรี ที่เป็นที่เคารพ ชีวิตวันแรกของเด็กชาย คอร์ราโด เฟโรชี (Corrado Feroci) เริ่มขึ้นในวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2435 ณ เมืองฟลอเรนซ์ กรุงอิตาลี เมืองที่เรียกได้ว่าเป็นศูนย์กลางจักรวาลศิลปะตะวันตกของยุคเรเนซองส์ จึงไม่แปลกใจที่ประกายความอาร์ตจะเกิดขึ้นในตัวเด็กชายตั้งแต่อ้อนอ่อน
คอร์ราโด เริ่มต้นฝึกฝนหนทางศิลปะอย่างจริงจัง โดยการสมัครเป็นเด็กช่วยงานศิลปินคนเก่งๆ จนขัดใจแม่เรียนต่อ สถาบันศิลปะแห่งนครฟอเรนซ์ พัฒนาฝีมือไม่เพียงแต่งานปั้น งานวาด งานแกะสลักที่จัดจ้านอย่างกับมีชีวิต ด้านทฤษฎีสุนทรียศิลป์ ประวัติศาสตร์ และปรัชญา ก็อยู่ในจุดเหนือขั้นสมฐานะเกียรตินิยมอันดับหนึ่งเช่นกัน
ตรงกับช่วงรัชกาลที่ 6 ของไทย นายคอร์ราโด ในวัยวุฒิที่ 32 ถูกรัฐบาลว่าจ้างข้ามน้ำล่องเรือมายังแผ่นดินสยามเพื่อฝึกสอนศิลปินไทยให้มีความรู้ ความเข้าใจศาสตร์ศิลปะตะวันตกที่กำลังนิยมในขณะนั้น เรียกได้ว่าเป็นหัวชนวนที่รอระเบิดศิลปะไทยให้ไม่เหมือนเดิม
แบบทดสอบแรกของ คอร์ราโด คือการปั้นพระเศียรของเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ให้ออกมาเหมือนจริงเพื่อรับการยอมรับแด่ชนชั้นสูงชาวสยาม จนใครๆก็ถูกใจจ้างวานไปปั้นรูปเหมือน ประดับตามเรือนต่างๆ ไม่เว้นแต่พระมงกุฎเกล้า รัชกาลที่ 6 ด้วยฝีมือแบบอิตาลีสไตล์ทำให้ คอร์ราโด เป็นช่างปั้นพันธ์ุฝรั่งที่ได้รับความนิยมตลอดสัญญา 3 ปี
ไม่ใช่แค่ในฐานะศิลปินสรรสร้างความงามที่ยากจะหาคำบรรยาย ในฐานะอาจารย์นายคอร์ราโดยังเป็นผู้วางรากฐานการสอนศิลปะไทยให้ได้มาตรฐานเท่าอารยธรรมตะวันตก เริ่มจากตำแหน่งอาจารย์วิชาช่างปั้นหล่อ แผนกศิลปากรสถานราชบัณฑิตยสภา สู่คณบดีคนแรกของมหาวิทยาลัยศิลปากร ในปี พ.ศ. 2486
ถลำลึกถึงยุคสงครามโลกครั้งที่ 2 อิตาลียอมจำนนเป็นเมืองรองของจักวรรดิญี่ปุ่น ทางการไทยจึงร่วมมือเปลี่ยนสัญชาติให้เพื่อหลีกหนีการถูกจับกุมเป็นเชลยสร้างรถไฟสายมรณะ ทำให้ C.Feroci ต้องเปลี่ยนชื่อใหม่ กลายเป็นจุดเริ่มต้นของ ศิลป์ พีระศรี อาจารย์ฝรั่งผู้เป็นหัวใจหลักของศิลปินไทยหลายคนในปัจจุบัน
เมื่อกาลเวลาผ่านไปนาน 130 ปี อาจารย์ศิลป์ พีระศรี จากด้วยโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร แต่ถึงอย่างนั้น อาจารย์ก็ยังทิ้งตำนานด้วยวลีปลุกใจการทำงานหลายคน ทั้ง “ars longa vita brevis ศิลปะยืนยาวชีวิตสั้น” “นายคิดถึงฉัน นายทำงาน” “นายไม่อ่านหนังสือ นายจะรู้อะไร” เหมือนเป็นไฟที่จุดไฟอีกหลายดวงให้ยังคงสู้ในฐานะมนุษย์ต่อไป
ติดตามเรื่องราวย้อนวันวานต่อได้ที่ iNN Lifestyle
ติดตามเนื้อหาดีๆแบบนี้ได้ที่
Facebook : https://www.facebook.com/innnews.co.th
Twitter : https://twitter.com/innnews
Youtube : https://www.youtube.com/c/INNNEWS_INN
TikTok : https://www.tiktok.com/@inn_news
LINE Official Account : @innnews
ขอบคุณข้อมูลจาก