เมื่อเข้าสู่ช่วงฤดูฝนจนถึงฤดูหนาวเช่นนี้ นอกเหนือจากโรคภัยอย่างไข้หวัด ตลอดจนโรคมือเท้าปากแล้ว “ยุง” ก็ถือเป็นอีกหนึ่งปัญหาใหญ่ที่พ่อแม่ต้องวางแผนรับมือและหาทางป้องกันไม่ให้เข้ามาใกล้เจ้าตัวน้อยสุดที่รักได้ เพราะไม่เพียงแต่จะสร้างความรำคาญใจเท่านั้น แต่ยุงตัวเล็กนี้ยังอาจมาพร้อมกับโรคร้ายแรงมากมาย ไม่ว่าจะเป็นไข้เลือดออก มาลาเลีย ตลอดจนตุ่มพุพองที่อาจลุกลามกลายเป็นแผลได้
แต่หากวันใดที่ลูกโดนยุงกัดขึ้นมา พ่อแม่หลายคนอาจสงสัยว่า หากยุงกัดลูกแล้วควรใช้อะไรทาถึงจะช่วยบรรเทาอาการคัน ความเจ็บ รวมไปถึงการอักเสบต่าง ๆ ของเจ้าตัวน้อยได้ หากคุณพ่อคุณแม่สงสัยว่าหากยุงกัดลูกแล้วควรใช้อะไรทาบ้าง ลองมาพิจารณา 3 ขั้นตอนที่นำมาฝากในวันนี้กัน!
ล้างแผลด้วยน้ำเปล่าและสบู่อ่อนก่อน
เมื่อยุงกัดลูก ก่อนจะใช้อะไรทาทุกครั้ง อย่าลืมให้ลูกล้างแผลที่โดนยุงกัดก่อนทุกครั้งเพื่อเป็นการล้างน้ำลาย ตลอดจนความสกปรกที่มากับยุง ซึ่งสามารถทำได้ง่าย ๆ เพียงใช้น้ำเปล่าและสบู่อ่อนที่ปลอดภัยกับผิวลูกน้อย
หลังจากล้างคราบสกปรกและน้ำลายยุงออกทั้งหมดแล้ว ขอแนะนำว่าอย่านำยาหม่อง พิมเสน หรือสมุนไพรใด ๆ มาโดนที่แผลยุงกัด เพราะหากยังมีน้ำลายยุงตกค้าง ยาหม่องและยาสมุนไพรอาจทำปฏิกิริยากับน้ำลายยุง ทำให้เป็นตุ่มบวมและมีอาการแพ้เพิ่มขึ้นได้
เช็กขนาดและลักษณะตุ่มที่เกิดขึ้นก่อน
หลังจากที่ล้างทำความสะอาดน้ำลายยุงออกไปหมดแล้ว ทีนี้คุณพ่อคุณแม่ลองมาสังเกตแผลที่เกิดขึ้นบนขาลูกน้อยสักนิด ซึ่งหากลูกน้อยไม่มีอาการแพ้ที่รุนแรงอย่างหายใจไม่ออก หรืออาการรุนแรงอื่น ๆ ขอแนะนำให้รอประมาณ 5 – 10 นาทีเพื่อดูขนาดของแผลที่เกิดขึ้น ตลอดจนเพื่อสังเกตอาการแพ้ต่าง ๆ เพื่อเลือกยาที่ใช้ทาได้อย่างเหมาะสม ซึ่งการทำเช่นนี้จะช่วยให้พ่อแม่ตัดสินใจได้ว่า เมื่อยุงกัดลูกควรจะใช้อะไรทาถึงจะเหมาะสมและปลอดภัยกับสุขภาพลูกน้อยมากที่สุด
เลือกใช้ยาให้ถูกต้อง
เมื่อเวลาผ่านไปสัก 5 – 10 นาที คุณพ่อคุณแม่ก็จะเริ่มสังเกตเห็นถึง ลักษณะและความรุนแรงของแผลยุงกัดที่เกิดขึ้นแล้ว โดยหากเกิดเป็นแผลยุงกัดธรรมดา ไม่มีอาการแพ้รุนแรงเกิดขึ้นก็สามารถใช้ยากลุ่ม Calamine เพื่อลดอาการคันได้ แต่หากมีอาการแพ้ขึ้นมาสักเล็กน้อยก็ควรใช้ยาที่กลุ่ม Hydrocortisone หรือขี้ผึ้งที่ออกแบบมาเพื่อรักษาแมลงกัดต่อยโดยเฉพาะ แต่หากพบอาการรุนแรง เช่น การบวมแดง ตุ่มขนาดใหญ่กว่าปกติ หรืออาการภูมิแพ้รุนแรงก็ควรรีบนำลูกไปพบแพทย์โดยด่วนเพื่อมองหากลุ่มยาที่รุนแรงขึ้น
แม้จะเป็นแผลเล็ก ๆ แต่เมื่อยุงกัดลูกก็อย่าเพิ่งใช้อะไรทาจนกว่าจะตรวจสอบอาการและความรุนแรงเรียบร้อยก่อน อย่าลืมนำทั้ง 3 เคล็ดลับการสังเกตอาการที่นำมาฝากนี้ไปพิจารณาเมื่อลูกน้อยโดยยุงกัดด้วยนะ