อนุสัญญาเจนีวา คำมั่นสัญญาแห่งสนามรบ
อนุสัญญาเจนีวา ได้รับการพูดถึงอย่างมากหลังจากเหตุการณ์ชุมนุมในวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2564 ที่ผ่านมา สาเหตุที่ อนุสัญญาเจนีวา ได้รับการพูดถึงเนื่องจากมีวิดีโอถูกปล่อยออกมาว่าหนึ่งในทีมของแพทย์อาสาถูกทำร้าย ซึ่งขัดต่อหลักสากล ในเวลาต่อมาก็มีการโต้เถียงกันถึงความถูกต้องและข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น ซึ่งผลสรุปจะเป็นอย่างไรก็ต้องรอติดตามกันต่อไป ในตอนนี้เราจะมาพูดถึงที่มาและความสำคัญของ อนุสัญญาเจนีวา คำมั่นสัญญาแห่งสนามรบ
อนุสัญญาเจนีวา(Geneva Conventions) คือ อนุสัญญาที่เหมือนเป็นคำมั่นสัญญาสำคัญในระดับโลก มีเนื้อหาสำคัญอยู่ที่กฏเกณฑ์ในการปฏิบัติเรื่องความรุนแรงในสงคราม การคุ้มครองผู้ที่ไม่ได้เกี่ยวข้องในการสู้รบเช่น พลเรือน บุลลากรทางการแพทย์ หรือ กลุ่มผู้ทำงานเพื่อช่วยเหลือต่างๆ และยังครอบคลุมถึงผู้ที่ไม่สามารถร่วมการสู้รบได้อีกต่อไปเช่น ทหารที่บาดเจ็บ เชลยสงคราม โดยมีผู้ที่เกี่ยวข้องดูแลเป็นหลักคือ คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ ICRC (THE INTERNATIONAL COMMITTEE OF THE RED CROSS) ,สหพันธ์สภากาชาดและสภาเสี้ยววงเดือนแดงระหว่างประเทศ (The International Federation of Red Cross and Red Crescent Societies) หรือ IFRC ,สภากาชาดประจำชาติ สภาเสี้ยววงเดือนแดงประจำชาติ The National Red Cross and Red Crescent Societies (National Societies)
จุดเริ่มต้นของอนุญัญญาเจนีวา นั้นเริ่มในปี 2407 เป็นการประชุมที่จัดขึ้นโดยรัฐบาลสวิตเซอร์แลนด์ร่วมกับประเทศต่างๆในยุโรป ร่างและลงนามร่วมกัน โดยมีทั้งหมด 4 ฉบับ มีใจความสำคัญดังนี้
- อนุสัญญาฉบับที่ 1 สาระสำคัญว่าด้วยการปรับปรุงสภาพความเป็นอยู่ของผู้บาดเจ็บ ผู้ป่วยในกองทัพที่อยู่ในสนานรบให้มี สภาพที่ดีขึ้น รวมถึงบุคลากรทางการแพทย์ บุคลากรทางศาสนา
- อนุสัญญาฉบับที่ 2 สาระสำคัญเน้นไปที่เจ้าหน้าที่ ทหารที่บาดเจ็บ ในทะเลไม่ว่าจะเรืออัปปางหรือเรือแตกในสงคราม ให้มีสภาพที่ดีขึ้น
- อนุสัญญาฉบับที่ 3 สาระสำคัญเน้นไปที่เชลยศึกสงคราม การปฏิบัติต่อเชลยสงคราม เช่น ที่คุมขังต้องชี้แจ้งชัดเจน ได้รับกระบวนการพิจารณาคดี ข้อกำหนดให้ปล่อยตัวและส่งกลับหลังจากสงครามยุติ
- อนุสัญญาฉบับที่ 4 สาระสำคัญเน้นไปที่พลเรือน ผู้ที่อยู่ในดินแดนที่ถูกยึดครองหรือมีสงคราม สัญญาเกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญหลังช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ในช่วงแรกอนุสัญญาเน้นไปที่ทหารหรือกองกำลัง แต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ทุกคนได้เห็นผลกระทบต่อพลเรือนแล้วว่าหนักขนาดไหน ใจความหลักของสัญญาฉบับนี้คือ การรักษาพยาบาลแก่เพื่อนและศัตรูโดยเท่าเทียบ เคารพในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
สรุปสาระสำคัญของอนุสัญญาเจนีวา
ทางสำนักงานยุวกาชาด สภากาชาดไทยได้สรุปสาระสำคัญของอนุสัญญาเจนีวาไว้ดังนี้
- ผู้บาดเจ็บต้องไม่ถูกทอดทิ้ง
- ผู้ป่วยต้องได้รับการรักษา ผู้เสียชีวิตต้องถูกค้นหา
- พาหนะเคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บต้องได้รับการคุ้มครอง
- โรงพยาบาลต้องไม่ถูกคุกคาม
- เชลยศึกต้องได้รับการปลดปล่อยและส่งกลับ
- ห้ามการปล้นสะดม
- หีบห่อยาและเวชภัณฑ์มีเส้นทางลำเลียงที่ปลอดภัย
- เป็นหลักของกฏหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ
หลังจากที่มีอนุสัญญาเจนีวาแล้ว ก็ได้มีการขยายเพิ่มเติมเรียกว่า กฏหมาย IHL หรือกฏหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ เป็นการคุ้มครองพลเรือนที่ได้รับผลกระทบจากสงคราม ความขัดแย้งภายในไม่ว่าจะเป็น สงครามกลางเมือง การขัดแย้งระหว่างฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายกบฏ สรุปเรื่องหลักๆที่กล่าวถึงคือ
- จำกัดวิธีในการทำสงคราม
- แยกพลเรือนออกจากผู้ที่ทำการรบ เคารพชีวิตทหาร พลเรือน
- ห้ามทำลายสิ่งที่จำเป็นต่อความอยู่รอดของพลเรือน
- เคารพสัญลักษณ์กาชาด (หรือที่ได้ยินกันบ่อยๆว่าห้ามทำร้ายบุคลากรทางการแพทย์ ไม่ยิงหมอ)
- ห้ามทำร้ายคนที่วางอาวุธ
- ช่วยเหลือคนบาดเจ็บ รักษาพยาบาล
ที่ไหนใช้อนุสัญญาเจนีวาบ้าง?
อนุสัญญาเจนีวาได้รับการสัตยาบันโดยหลายประเทศ หลายรัฐบาล ประเทศไทยก็เป็นหนึ่งในนั้นเช่นกันโดยอยู่ใน พระราชบัญญัติ บังคับการให้เป็นไปตามอนุสัญญาเจนีวาเกี่ยวกับการปฏิบัติต่อเชลยศึก พ.ศ.2498 สามารถดูรายชื่อประเทศที่สัตยาบันเจนีวาได้ที่นี้ รายชื่อประเทศที่เข้าร่วมอนุสัญญาเจนีวา
อนุสัญญาเจนีวากับบุคลากรทางการแพทย์
แน่นอนว่าในรายละเอียดสัญญานั้นมีระบุเกี่ยวกับทั้งพลเรือน ทหาร เจ้าหน้าที่ ตามที่ระบุไป แต่ในตอนนี้จะมาดูตัวอย่างข้อที่น่าสนใจเกี่ยวกับบุคลากรทางการแพทย์กันที่มีตั้งแต่อดีตกัน
อนุสัญญาเจนีวา(1864)
มาตราที่ 2 อนุสัญญาเจนีวาปี 1864 ใจความสำคัญระบุไว้ว่า
เจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาล การหน้าที่บริการทางการแพทย์ รถพยาบาล ต้องได้รับประโยชน์ การอำนวจความสะดวกอย่างเป็นกลาง หรือกล่าวง่ายๆว่า ไม่ถูกโจมตีหรือขัดขวางจากทุกฝ่าย
อนุสัญญาเจนีวา(1906)
มาตราที่ 9 อนุสัญญาเจนีวาปี 1906 ใจความสำคัญระบุไว้ว่า
บุคลากรที่ทำหน้าที่ขนส่ง รักษาผู้ป่วย ผู้บาดเจ็บ ตลอดจนบริหารงานสุขาภิบาล จะได้รับการเคารพและคุ้มครองในทุกสถานการณ์
อนุสัญญาเจนีวา(1949)
มาตรา 36 อนุสัญญาเจนีวาปี 1949 ใจความสำคัญระบุไว้ว่า
บุคลากรทางการแพทย์และโรงพยาบาลต้องได้รับการเคารพและคุ้มครอง
นอกจากนี้ยังมีอีกหลายฉบับใจโดยเน้นย้ำไปที่ บุคลลากรทางการแพทย์ต้องได้รับความเคารพและคุ้มครอง
คงได้รู้ข้อมูลกันแล้วว่า สัญญาเจนีวา ที่พูดถึงกันนั้นมีที่มาและความสำคัญอย่างไร ในหลายประเทศที่เกิดสงครามหรือความขัดแย้งก็จะมีการพูดถึงอนุสัญญาเจนีว่าเสมอๆ และส่วนใหญ่ก็มักที่จะโดนละเมิด อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะเห็นต่างกันขนาดไหน ทุกฝ่ายควรปฏิบัติตามหลักอย่างถูกวิธี มีความเป็นมนุษยธรรม ยึดมั่นคำมั่นสัญญาแห่งสนามรบไว้เสมอ
ติดตามเนื้อหาดีๆแบบนี้ได้ที่
Facebook : https://www.facebook.com/innnews.co.th
Twitter : https://twitter.com/innnews
Youtube : https://www.youtube.com/c/INNNEWS_INN
TikTok : https://www.tiktok.com/@inn_news
ขอขอบคุณข้อมูลจาก