บัตรผ่าน M-Flow / M-Pass / Easy pass ต่างกันยังไง?
สาระนักท่องเที่ยว คนใช้รถใช้ถนน กับข้อแตกต่างของบัตรผ่าน M-Flow / M-Pass / Easy pass ระบบเก็บเงินค่าผ่านทาง ที่ต่อให้อยู่ติดกันก็ไม่ได้แปลว่าเหมือนกัน
บัตร Easy Pass
บัตร Easy Pass เป็นบัตรของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย ถูกออกแบบมาเพื่อแก้ไขปัญหาจราจรติดขัดโดยผู้ใช้ไม่ต้องต่อแถวเข้าช่องเก็บเงินสด แต่สามารถเข้าใช้ได้ในช่อง Easy Pass เพื่อให้เซนเซอร์ระบบหักเงินในบัญชี Easy Pass ที่เราเติมเก็บไว้ทันที
ผู้ที่ต้องการสมัครสามารถสมัครใช้งานได้ที่ศูนย์บริการ Easy Pass อาคารด่านเก็บค่าผ่านทางทุกแห่งทุกวัน รวมถึง Easy Pass Fast Service โดยข้อดีของบัตร Easy Pass คือ เราสามารถใช้ได้ในทางพิเศษทุกสาย ดังนี้
- ทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 7 (ช่วงกรุงเทพฯ-ชลบุรี)
- ทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 9 (ช่วงบางปะอิน – บางพลี)
- ทางพิเศษของการทางพิเศษแห่งประเทศไทยทั้ง 5 สาย ได้แก่
- ทางพิเศษเฉลิมมหานคร – ทางพิเศษฉลองรัช
- ทางพิเศษศรีรัช – ทางพิเศษบูรพาวิถี
- ทางพิเศษอุดรรัถยา
- ทางพิเศษกาญจนาภิเษก (บางพลี-สุขสวัสดิ์)
- ทางพิเศษศรีรัช-วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร
บัตร M-Pass
บัตร M-Pass เป็นบัตรผ่านที่เกิดจากความร่วมมือระหว่างกรมทางหลวงและธนาคารกรุงไทย ทำให้เป็นบัตรผ่านที่สมัครง่ายผ่านธนาคารกรุงไทยทั่วประเทศ ผ่าน KTB netbank รวมไปถึงจุดบริการบนทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 7 และ 9
นอกจากนี้บัตร M-Pass สามารถใช้แทนบัตรเงินสดสามารถทำธุรกรรมผ่านตู้ ATM ได้เช่นกัน โดยข้อดีของบัตร M-Pass สามารถใช้ได้ในทางพิเศษทุกสายเหมือนบัตรผ่าน Easy Pass ดังนี้
- ทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 7 (ช่วงกรุงเทพฯ-ชลบุรี)
- ทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 9 (ช่วงบางปะอิน – บางพลี)
- ทางพิเศษของการทางพิเศษแห่งประเทศไทยทั้ง 5 สาย ได้แก่
- ทางพิเศษเฉลิมมหานคร – ทางพิเศษฉลองรัช
- ทางพิเศษศรีรัช – ทางพิเศษบูรพาวิถี
- ทางพิเศษอุดรรัถยา
- ทางพิเศษกาญจนาภิเษก (บางพลี-สุขสวัสดิ์)
- ทางพิเศษศรีรัช-วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร
ระบบ M-Flow
ตามหลักแล้ว M-Flow ไม่ได้เป็นบัตรแต่เป็นระบบปฏิบัติการตามนโยบายของกระทรวงคมนาคม เพื่อแก้ไขปัญหาการจราจรติดขัดบนทางด่วนและมอเตอร์เวย์ โดยจะเป็นระบบกล้อง AI บันทึกภาพป้ายทะเบียนรถอัตโนมัติ โดยไม่ต้องใช้ไม้กั้นและเซนเซอร์เหมือน Easy Pass และ M-Pass ทำให้ขับรถผ่านไปได้ตามปกติได้เลย
โดย M-Flow เป็นระบบ วิ่งก่อน จ่ายทีหลัง ส่งผลให้ผู้ใช้บริการจะต้องตามจ่ายเงินย้อนหลัง เว็บไซต์หรือโมบายแอปพลิเคชั่นของระบบ M-Flow ตลอดจนการชำระด้วยระบบ QR Code และการชำระผ่านระบบตัดเงิน ทั้งระบบรายครั้งและรายบิล
ระบบ M-Flow สามารถใช้ได้ผ่านช่องทางพิเศษ ดังนี้
- ทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 9 (วงแหวนบางปะอิน-บางพลี) ทั้ง 4 ด่าน
- ด่านธัญบุรี 1
- ด่านธัญบุรี 2
- ด่านทับช้าง 1
- ด่านทับช้าง 2
สรุปข้อดีและข้อเสีย
ทั้งบัตรผ่าน Easy Pass M-Pass และ ระบบ M-Flow มีส่วนช่วยอำนวยความสะดวกในการเดินทางให้สะดวกรวดเร็วมากขึ้นเพื่อให้ผู้ใช้รถใช้ถนนสามารถกะเวลานัดหมายได้อย่างชัดเจน โดยข้อดีของ Easy Pass จะคล้ายกับ M-Pass คือ เป็นระบบเก็บค่าโดยสารอัตโนมัติแบบมีไม้กั้นสามาถใช้ได้บนทางด่วนทุกเส้น เพียงแต่ M-Pass จะสมัครง่ายกว่ารวมถึงใช้เป็นบัตรเงินสดได้
ส่วน M-Flow เป็นระบบปฏิบัติการที่อำนวยความสะดวกมากกว่าบัตรที่อธิบายไป เพราะสามารถขับผ่านได้เลยเนื่องจากไม่มีไม้กั้น แต่เนื่องจากยังไม่เปิดใช้แพร่หลาย รวมถึงมีปัญหาค่าปรับหากใช้บริการโดยไม่ได้ลงทะเบียน หรือจ่ายเกินกำหนด
เพราะฉะนั้นไม่ว่าจะเดินทางไกลไปที่ไหน อย่าลืมเช็คเส้นทางดีๆและเช็คข้อดี-ข้อเสียบริการบนท้องถนนต่างๆ เพื่อประโยชน์ในการขับรถให้สะดวกรวดเร็ว ติดตามสาระความรู้เพิ่มเติมต่อได้ที่ iNN Lifestyle
ติดตามเนื้อหาดีๆแบบนี้ได้ที่
Facebook : https://www.facebook.com/innnews.co.th
Twitter : https://twitter.com/innnews
Youtube : https://www.youtube.com/c/INNNEWS_INN
TikTok : https://www.tiktok.com/@inn_news
LINE Official Account : @innnews