คุณรู้หรือไม่ว่าความคิดหรือจิตใจที่วุ่นวายนั้นทำให้เราไม่มีความสุข นั้นคือความจริง ในทุกวันนี้ความคิดและจิตใจของเรานั้นวุ่นวายเพราะมีเรื่องที่ให้คิดถึงตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็น เรื่องการเมือง สุขภาพ สภาพอากาศ ความสัมพันธ์กับคนรอบตัว คำถามสำคัญคือในเมื่อความคิดและจิตใจเราวุ่นวายแล้วทำให้ไม่มีความสุข เราจะจัดการมันอย่างไร
จากการศึกษาของ Dr.Matt Killingsworth แห่งมหาวิทยาลัย Harvard พบว่า ปกติแล้วความคิดอันแสนวุ่นวายของเรานั้นจะคิดถึงเรื่องนู้นนี้ถึง 46.9 เปอร์เซ็นตลอดเวลาไม่ว่าเราจะทำกิจกรรมอะไรอยู่ก็ตาม เราเรียกสิ่งนี้ว่า Mind – Wandering ให้เข้าใจได้ง่ายที่สุดคือ ความคิดที่ไม่เกี่ยวข้องกับงานหรือกิจกรรมใดๆที่เรากำลังทำอยู่ หลายคนอาจจะเรียกว่าอาการเหม่อลอยหรือไม่มีสมาธิก็ได้ เรามักจะรู้สึกกังวลเมื่อเราคิดหรือโฟกัสไปถึงเรื่องอนาคต เมื่อเรารู้สึกเศร้าความคิดของเรานั้นมักเป็นช่วงที่เราโฟกัสอดีต แล้วโดยทั่วไปความคิดของเรานั้นมักถูกผูกกับชีวิตในปัจจุบันหรือเป้าหมายที่เกี่ยวข้องกับตัวเราเอง ซึ่งผลส่วนใหญ่มันจะเป็นไปทางความคิดลบ ส่งผลให้เราไม่มีสมาธิกับการทำบางสิ่งบางอย่างที่จำเป็น แต่โชคดีเหลือเกินว่าเราสามารถควบคุมมันได้
1.สำรวจตัวเองว่าเราไม่มีสมาธิขนาดไหน
ลองตั้งคำถามกับตัวเองง่ายๆว่าเรามีความคิดที่มันไร้สาระหรือกังวลกับมันมากเกินไปขนาดไหน หากมันมากเกินความจำเป็น (แน่นอนว่าเราหยุดคิดไม่ได้ บางเรื่องพวกนี้ก็มีประโยชน์เช่นกัน) ให้เราลองนั่งหายใจเข้าลึกๆสักสองถึงสามครั้งเพื่อเป็นการดึงตัวเองกลับมา ณ ช่วงเวลาปัจจุบันให้ได้มากที่สุด
2.ถ้าไม่สามารถหยุดคิดมากได้ จงคิดบวก
หากคุณไม่สามารถหยุดคิดมากได้ งั้นลองพยายามคิดต่อไป แต่การคิดนั้นให้คิดถึงแต่เรื่องดีๆ นั้นจะส่งผลดีกับตัวคุณเช่นกัน มันจะทำให้คุณรู้สึกขอบคุณตัวเองมากยิ่งขึ้น
3.อย่าทำอะไรหลายอย่างพร้อมกัน
Multitask อาจจะเป็นคำหรือการกระทำที่ดูดีหรือดูว่าคุณมีความสามารถในการทำอะไรหลายๆอย่างพร้อมกัน แต่ในความเป็นจริงแล้วมันอาจจะทำให้งานของคุณแย่ลงและความสุขของคุณน้อยลงกว่าเดิม Dr.Matt Killingsworth แนะนำว่าคุณควรทำทีละอย่างมากกว่าที่จะทำหลายๆอย่างพร้อมกัน
4.เพิ่มความสนใจในจุดที่ต้องทำ
ลดความสนใจเป็นสิ่งที่ควรทำเพื่อลดความคิดอันวุ่นวายของเรา หลายคนอาจจะไม่รู้ว่าเราสามารถฝึกสมองเพื่อช่วยฝึกความสนใจและเราสามารถโฟกัสได้มากขึ้น และเมื่อเราโฟกัสได้มากขึ้นจะทำให้เรามีสมาธิและมีความสุขมากขึ้นตามไปด้วย โดยค่อยๆเริ่มจากลดสิ่งที่ทำให้เราเสียสมาธิหรือหลุดโฟกัสไปทีละนิดเช่น ปิดคว่ำมือถือระหว่างทำงาน ไม่ล็อคอินเฟสบุ๊คค้างไว้เวลาทำงานก็จะสามารถช่วยได้
การจัดการความคิดที่วุ่นวายของเรานั้นมีผลดีอย่างมากต่อทั้งการทำงานและสุขภาพจิต อย่าปล่อยละเลย อย่ามีความคิดว่ามันไม่สามารถแก้ไขได้ ทุกอย่างสามารถเริ่มได้จากตัวเรา
ติดตามเนื้อหาดีๆแบบนี้ได้ที่
Facebook : https://www.facebook.com/innnews.co.th
Twitter : https://twitter.com/innnews
Youtube : https://www.youtube.com/c/INNNEWS_INN
TikTok : https://www.tiktok.com/@inn_news
ขอบคุณบทความจาก : https://www.psychologytoday.com/