Home
|
ไลฟ์สไตล์

นอนหลับแล้วไม่ฝัน ไม่ได้หมายความว่าหลับสนิท

Featured Image

         ความฝันหลังการนอนหลับของหลาย ๆ คนได้ออกไปผจญภัยเรื่องราวต่าง ๆ มากมาย แต่สำหรับบางคนอาจจะไม่เห็นภาพอะไรในความฝันเลย จากอดีตอาจได้ยินมาว่าการนอนไม่ฝัน คือการหลับสนิท จนทำให้ชะล่าใจจนคิดว่ามันปกติ แต่จริง ๆ แล้วในการนอนไม่ฝันนั้น อาจไม่ได้ส่งผลดีต่อสุขภาพ

ทุกการนอนหลับ ทุกคนอาจจะฝันเสมอ

โดยปกติแล้วไม่มีใครที่ไม่ฝัน มีคำอธิบายทางการแพทย์ว่าเราทุกคนล้วนฝันอย่างน้อยวันละ 2 รอบ โดยรอบที่เราจดจำได้มักจะเป็นในช่วงก่อนตื่นนอน ซึ่งเหตุผลนี้นำมาอธิบายในคนที่ไม่ฝันได้ว่า ไม่ได้ไม่ฝันแต่แค่จำฝันไม่ได้ หรือ สุขภาพการนอนอาจไม่ดี เกิดการหลับ ๆ ตื่น ๆ ในช่วงกลางดึก จนทำให้ไม่ฝันเพราะโดยปกติแล้วเราจะฝันใน่ชวง REM หรือ ช่วงหลับฝันของการนอน จะมีในทุกคนที่ได้หลับจนทำให้เกิดความฝันขึ้นมา นั่นก็หมายความว่า นอนหลับแล้วไม่ฝัน ไม่ได้แปลว่าหลับสนิท

REM (Rapid Eye Movement Sleep) มีผลต่อการนอนอย่างไร?

ช่วง REM ที่ทุกคนได้หลับฝัน จะสามารถส่งผลการเรียนรู้ ความจำ ความคิดสร้างสรรค์ และการควบคุมอารมณ์  หากเราขาดการนอนหลับแบบ REM Sleep อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพร่างกายและอารมณ์ได้ อีกทั้งการฝันในช่วงนี้ยังช่วยการพัฒนาระบบประสาทส่วนกลาง (CNS) ภาพความฝันต่าง ๆ ได้กระตุ้นทำงานของสมองเราในขณะที่หลับไปด้วย

นอนไม่ฝันนำมาซึ่งผลเสียต่อสุขภาพ

สาเหตุของการนอนไม่ฝันที่มีผลมาจากสุขภาพการนอนเกิดได้จาก การนอนไม่หลับ ภาวะเครียด อาการซึมเศร้า วิตกกังวล โรคกลัว อาจไม่ใช่เพียงการจดจำฝันไม่ได้ แต่นำไปสู่ปัจจัยเสี่ยงปัญหาสุขภาพ เกิดการนอนหลับไม่เพียงพอจนทำให้สุขภาพจิตแย่ลง และอาจเป็นสัญญาณว่าคุณมีโรคประจำตัว เช่น ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ หรือโรคนอนไม่หลับ 

*แม้ว่าปัญหาการนอนหลับและความซึมเศร้าจะเชื่อมโยงกัน แต่การไม่ฝันไม่ได้หมายความว่าคุณเป็นโรคซึมเศร้า* 

หรือใครที่มีความเครียดสะสม การเหนื่อยล้าจากการทำงานที่ทำให้ร่างกายไม่มีแรงแม้แต่จะก้าวขึ้นเตียง อาการเหล่านี้ก็ส่งผลต่อการนอนซึ่งทำให้ไม่สามารถจดจำความฝันใน่ชวงขณะที่หลับ และไม่เกิดความฝันในช่วง REM รวมไปถึงการมีความฝันที่น้อยลงหรือที่เรียกว่า ภาวะ Chronic dream deprivation และความผิดปกติในช่วงการนอนหลับ สาเหตุที่นำมาสู่การนอนที่เปลี่ยนไป มีองค์ประกอบที่เกี่ยวข้อง  ได้แก่ มีโรคทางร่างกายหรือจิตใจ ติดยาเสพติด และอายุมาก อาจมีอาการสำคัญ (major symptoms) 4 อย่างที่มักพบได้บ่อย คือ

  1. Insomnia คือ อาการหลับยาก หลับ ๆ ตื่น ๆ ชั่วคราวเกิดจากโรคความเจ็บปวดทางสมอง โรคทางจิตใจ วิตก ซึมเศร้า 
  2. Hypersomnia คือ นอนมากเกินไป ง่วงตอนกลางวัน ตื่นยาก โดยอาจมีสาเหตุจากโรคทางกาย ซึมเศร้าได้เช่นเดียวกัน 
  3. Parasomnia คือ การนอนละเมอ ที่มีตั้งแต่เบาไปจนหนัก จนอาจทำให้ส่งผลต่อร่างกายและระบบประสาทได้ หรืออาจส่งผลต่อคนรอบข้างได้อีกด้วย
  4. sleep wake schedule disturbance คือ อาการที่ อยากหลับแต่หลับไม่ได้ อยากตื่นแต่ตื่นยาก หรือหลับได้ไม่ตรงเวลาที่ต้องการ

ทำอย่างไรให้ร่างกายหลับสนิท

วิธีง่าย ๆ ที่จะทำให้ร่างกายของเราสามารถหลับสนิทได้ คือ 

  1. ออกกำลังกาย ช่วงเย็นอย่างน้อย 30 นาทีหรือ 4-6 ชั่วโมงก่อนนอน
  2. กินกล้วยหอม เพราะช่วยคลายเครียดลดความกังวลทำให้หลับสบาย
  3. หลีกเลี่ยงอาหารมื้อหนัก อาหารที่มีรสเผ็ดหรืออาหารหวานมาก งดอาหารอย่างน้อย 3-4 ชั่วโมงก่อนนอน
  4. หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ กาแฟ หรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  5. เข้านอนให้เป็นเวลา และเพียงพ่อต่อร่างกาย
  6. จัดระเบียบห้องนอน และกำจัดสิ่งรบกวน
  7. ผ่อนคลายร่างกายและจิตใจก่อนนอน อาบน้ำอุ่น หรือนั่งสมาธิ

          เมื่อการไม่ฝันเกิดจากการนอนที่ไม่เพียงพอ การนอนหลับไม่ดีอาจเป็นสัญญาณของปัญหาสุขภาพร่างกายและจิตใจ ปัญหาการนอนหลับเรื้อรังอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพโดยรวมได้ การไม่ฝันอาจไม่ได้หมายความว่าเราหลับสนิท ควรสังเกตการนอนให้ดี หรือถ้าหากมีปัญหาการนอนเหล่านี้ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อสุขภาพการนอนที่ดีขึ้น 

ติดตามเนื้อหาดีๆแบบนี้ได้ที่

Facebook : https://www.facebook.com/innnews.co.th

Twitter : https://twitter.com/innnews

Youtube : https://www.youtube.com/c/INNNEWS_INN

TikTok : https://www.tiktok.com/@inn_news

LINE Official Account : @innnews

ขอบคุณข้อมูลจาก

Healthline

WebMed

National library of medicine

Medswu

RAMA Channel

  • Tiktok
  • Youtube
  • Youtube