ไลฟ์สไตล์
“อาการโมโหหิว” นี่มันมีจริงๆหรือเราคิดไปเอง?
02 มีนาคม 2021 - 08:30
เวลารู้สึก “หิว”ทีไร ทำไมมันจะต้องหงุดหงิดหรือมีอารมณ์ฉุนเฉียวทุกครั้งเลย ยิ่งสั่งอาหารเวลาหิวๆแล้วอาหารมาช้าจะยิ่งหงุดหงิดและมีความเกรี้ยวกราดเป็นพิเศษ มีใครเคยสงสัยบ้างว่าอาการเหล่านี้เป็นเพราะอารมณ์งอแงของตัวเองล้วนๆหรือเป็นเพราะว่าเกิดจาก “อาการโมโหหิว”กันแน่ ?
- ผลวิจัยของนักวิทยาศาสตร์จากเว็บไซต์ New Scientist ไซมอน อ็อกเซนแฮม (Simon Oxenham) ได้บอกว่า “อาการโมโหหิว “นั้นไม่ได้เกิดจากการที่เราคิดไปเอง แต่เกิดจากภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำจนทำให้ขาดสมาธิและมีอาการแสดงความหงุดหงิดใส่คนรอบตัว
- แครธริน ทรงพัฒนะโยธิน ผู้เขียนหนังสือ Genius ทางอารมณ์ และผู้เชี่ยวชาญด้าน Cognitive and Decision Sciences แสดงความคิดเห็นต่อกรณีพฤติกรรมการหิวที่ส่งผลต่ออารมณ์ว่า “ความหิวส่งผลให้ร่างกายผลิตฮอร์โมนความเครียดเพราะอาการหิวเป็นสัญชาตญาณที่เกี่ยวข้องกับความอยู่รอดของมนุษย์ ซึ่งสัญชาตญาณใดก็ตามที่เกี่ยวกับการอยู่รอดของมนุษย์จะส่งผลทางอารมณ์ที่รุนแรงทั้งหมด
- ในส่วนของอาจารย์โซฟี เมดลิน นั้นเป็นอาจารย์สาขาวิชาโภชนาการและกำหนดอาหารแห่งคิงส์คอลเลจ ลอนดอน ได้มาบอกอีกว่าอารมณ์หงุดหงิดกับความหิวนั้นมีความสัมพันธ์ต่อกัน ในส่วนของฮอร์โมน Cortisol กับ Adrenaline ที่เป็นฮอร์โมนป้องกันอันตรายในร่างกายก็จะเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งฮอร์โมนที่กระตุ้นความหิวเป็นฮอร์โมนชนิดเดียวกันกับที่กระตุ้นพฤติกรรมหุนหันพลันแล่นและกระตุ้นความโกรธ ด้วยเหตุนี้ปฏิกิริยาของคนเราจึงแสดงออกมาในรูปแบบเดียวกัน
ทีนี้ทุกคนก็ได้รู้กันแล้วว่าการที่เราโมโหหิวนั้นไม่ได้เป็นเพราะว่าเราขี้เหงุดหงิดหรือเป็นคนไม่มีเหตุผล เพราะจริงๆแล้วอาการเหล่านี้เป็นผลข้างเคียงที่เกิดจากการทำงานของระบบภายในร่างกาย ซึ่งสามารถพิสูจน์ได้ด้วยวิธีทางวิทยาศาสตร์ได้นั่นเอง
ติดตามเนื้อหาดีๆแบบนี้ได้ที่
Facebook : https://www.facebook.com/innnews.co.th
Twitter : https://twitter.com/innnews
Youtube : https://www.youtube.com/c/INNNEWS_INN
TikTok : https://www.tiktok.com/@inn_news