ไหนใครไม่ชอบปลา มารู้จัก Ichthyophobia อาการกลัวปลากัน
อาการที่ไม่สามารถเห็นปลา จับปลา หรือแม้แต่ทานอาหารที่มีปลาได้ รู้ไหมว่านี่เป็นอีกความกลัวหนึ่งที่หลาย ๆ คนมี
อาการกลัวปลา (Ichthyophobia) เป็นโรคกลัวที่เฉพาะเจาะจงชนิดหนึ่ง คือกลัวเฉพาะปลา กลัวที่จะเห็น จะจับ จะอยู่ร่วม ไม่ว่าจะมาในรูปแบบของปลาเป็น ซากปลา หรือปลาที่ถูกนำมาทำเป็นอาหารแล้วก็ตาม และจะมีความกลัวแยกย่อยไปอีก เช่น อาการกลัวฉลาม (Galeophobia) เป็นโรคกลัวเฉพาะฉลาม
สาเหตุของการกลัวปลามาจากอะไร?
อาการโฟเบีย มักมีสาเหตุที่คล้าย ๆ กัน แต่ก็ยังไม่ได้ระบุแน่ชัดว่าเกิดจากอะไรเป็นพิเศษหรือไม่ เพราะส่วนใหญ่จะมีความกลัวมาตั้งแต่เด็ก ๆ รวมไปถึงลักษณะอาการกลัวปลา มักมีร่วมกับอาการวิตกกังวลอื่น ๆ ด้วย มักจะได้รับหลังจากประสบการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ทำให้เกิดการกระตุ้นความหวาดกลัวเหล่านี้ขึ้น
อาการของการกลัวปลา
อาการกลัวปลา สามารถแบ่งเป็นทางกายภาพ ทางระบบประสาท และทางพฤติกรรม ที่ส่งผลเชื่อมโยงกัน โดยสามารถจินตนาการเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่นำมาซึ่งความกลัวให้เกิดอาการกลัวจนแสดงออกทางพฤติกรรมได้
ทางกายภาพ
- หัวใจเต้นเร็ว แน่นหน้าอก รู้สึกหายใจไม่ออก
- เวียนศีรษะ
- เหงื่อออกเยอะขึ้น
- เกิดความเกลียดชัง
- อาการมวนท้อง
- กระวนกระวาย
- เป็นลม
อาการทางปัญญา.
- เกิดความคิดเกี่ยวกับอันตรายโดยไม่สามารถควบคุมได้เกี่ยวกับปลา
- นึกถึงภัยธรรมชาติ
- รู้สึกไม่สมเหตุผล
- กลัวการสูญเสียการควบคุมและไม่สามารถจัดการสถานการณ์ได้อย่างน่าพอใจ
- คาดเดาสถานการณ์ต่าง ๆ ที่น่ากลัว
อาการพฤติกรรม
โดยส่วนใหญ่อาการทางพฤติกรรมที่เกิดมาจากการตอบสนองต่อการกระตุ้นความรู้สึกเกลียดชัง โดยวัตถุประสงค์ของพฤติกรรมเหล่านี้ คือเพื่อหลีกเลี่ยงสถานการณ์ที่กลัวโดยตรง หรือเพื่อหลบหนีจากความกลัวนั้น ๆ พฤติกรรมเหล่านี้เรียกว่าพฤติกรรมหลบหนีหรือหลีกเลี่ยง เช่น
- หลีกเลี่ยงการลงน้ำในทะเล หรือแม่น้ำ หรือที่ ๆ คิดว่ามีปลาอาศัยอยู่
- ไม่ไปในสถานที่ที่คิดว่าจะมีปลาปรากฏให้เห็น เช่น อควาเรียม ตลาดสด โซนของสดในห้าง เป็นต้น
ในทางตรงกันข้ามพฤติกรรมการหลบหนีจะปรากฏขึ้นเมื่อบุคคลนั้นไม่สามารถหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้ากับการกระตุ้นแบบ phobia ดังนั้นพวกเขาจะดำเนินพฤติกรรมทุกชนิดที่ช่วยให้พวกเขาหลบหนีจากสถานการณ์ปัจจุบันโดยเร็วและเร็วที่สุด
มีการรักษาหรือไม่?
ในปัจจุบันยังไม่ได้มีการรักษาอาการกลัวปลาหรือ ichthyophobia อย่างเป็นทางการ แต่มีการรักษาผ่านจิตบำบัดเพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจในสิ่งที่กลัวผ่านผู้เชี่ยวชาญ
การรักษาแบบนี้เป็นการรวมเทคนิคการสัมผัสชีวิตหรือ desensitization จะเกี่ยวกับเทคนิคในการผ่อนคลายและปรับโครงสร้างทางความคิด ทำให้สามารถควบคุมความหวาดกลัวได้ และบรรเทาลงในที่สุด
อาการกลัวปลาแสดงให้เห็นว่า คนเรามีความกลัวที่แตกต่างและไม่เหมือนกัน ไม่ว่าใครก็สามารถกลัวในสิ่งที่คนอื่นไม่กลัวได้ และอาจมีอาการรุนแรงจนส่งผลต่อการดำเนินชีวิต ดังนั้นเราควรที่จะทำความเข้าใจในความกลัวของกันและกัน
และหากผู้ที่มีอาการความกลัวต่าง ๆ จนส่งผลรุนแรงต่อตนเอง แนะนำให้ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ หรือเข้ารับการรักษาอย่างถูกวิธี เพื่อลดความกลัวและขจัดมันออกไปได้ในที่สุด
ติดตามเนื้อหาดีๆแบบนี้ได้ที่
Facebook : https://www.facebook.com/innnews.co.th
Twitter : https://twitter.com/innnews
Youtube : https://www.youtube.com/c/INNNEWS_INN
TikTok : https://www.tiktok.com/@inn_news
LINE Official Account : @innnews
ขอบคุณข้อมูลจาก