Home
|
ไลฟ์สไตล์

อันตรายจากแสงแดดภัยใกล้ตัวที่คนมองข้าม

Featured Image

          หน้าร้อนแบบนี้ หนึ่งสิ่งที่ควรระวังคือ แสงแดด แม้จะมีประโยชน์มากไม่ว่าจะช่วยผลิตวิตามินดี ,ลดความเสี่ยงภาวะซึมเศร้า ,ช่วยให้การนอนเป็นปกติ ,ฆ่าเชื้อโรคได้ แต่แสงแดดที่แรงและมากเกินไปก็ทำให้เกิดอันตรายได้เช่นกัน 

แสงแดดทำไมถึงอันตราย?

          บอกก่อนว่าในแสงแดดประกอบด้วยรังสีและแสงหลายชนิด หลักๆ ที่ควรรู้จะมี 

1.แสงที่มองเห็น (Visible light) มีปริมาณ 45 %ของแสงแดดทั้งหมด มีพลังงานต่ำแต่ถ้าได้รับเป็นเวลานานก็ทำให้ผิวคล้ำเสีย กระตุ้นให้ฝ้าเข้มขึ้น หรือผิวเสื่อมจากแดดได้ เนื่องจากสามารถกระตุ้นให้เกิดอนุมูลอิสระ

2.แสงที่มองไม่เห็น (Invisible Light) เช่น อัลตราไวโอเลต (Ultraviolet light ;UV) ที่เราต่างคุ้นหูกันดี ซึ่งรังสียูวีถูกแบ่งออกเป็น 3 โซนด้วยกัน คือ รังสีUVC , UVB และ UVA แต่แสงแดดที่มาถึงพื้นโลกจะมีคลื่นแสงยาวกว่า 290 nm ดังนั้น UVC มักมาไม่ถึงผิวโลก ยกเว้น บริเวณยอดเขาสูงเป็นต้น

3.แสงอินฟราเรด (Infrared) หรือแสงที่ให้ความร้อน มีปริมาณ 50% ของแสงแดดทั้งหมด และมีพลังงานต่ำกว่าแสงที่ให้ความสว่าง ดังนั้น จึงมีพลังงานต่ำที่สุด โดย Infrared A เป็นคลื่นแสงที่ทำให้เกิดผิวแก่ก่อนวัย (photoaging) ย่อยสลายคอลลาเจน (collagen breakdown) และเกิดรอยเหี่ยวย่นของผิวหนัง เพราะสามารถกระตุ้นให้เกิดอนุมูลอิสระได้ แต่ต้องใช้ปริมาณสูงมาก

          ความแตกต่างของรังสี UVA และ รังสี UVB รังสี UVA มีอยู่อย่างต่อเนื่องตลอด ทั้งวัน สามารถทะลุผ่านชั้นของเมฆและหมอกควันได้ไม่จำกัด ที่สำคัญคือทะลุผ่านกระจกได้ ในขณะที่ UVB ไม่ผ่าน เป็นรังสีที่กระตุ้นเม็ดสีเมลานิน ทำให้ผิวเป็นสีน้ำตาลในระยะสั้น และผ่านลงลึกไปในผิวชั้นล่าง (ชั้นหนังแท้) ก่อให้เกิดริ้วรอยผิวก่อนวัยอันควร ภูมิแพ้แสงอาทิตย์และผิวไวต่อแดด การกดภูมิคุ้มกัน ตาและจอประสาทตาเกิดความเสียหาย และเกิดการก่อตัวของอนุมูลอิสระส่งผล กระทบทางอ้อมต่อดีเอ็นเอ การกลายพันธุ์ทางพันธุกรรม เกิดเป็นมะเร็งผิวหนังบางชนิดได้

          รังสี UVB จะเข้มสูงสุดในช่วง 10.00-16.00 น. เป็นรังสีที่จำเป็นต่อการผลิตวิตามินดี แต่ผลเสียคือทำให้ผิวไหม้แดด (Sunburn), กระตุ้นการผลิตเมลานินใหม่ที่มีสีน้ำตาลดำ ติดทนนาน และเป็นสาเหตสำคัญของการเสียหายของดีเอ็นเอ โรคมะเร็งผิวหนัง ตาและจอประสาทตาเกิดความเสียหาย

พฤติกรรมอะไรที่ทำให้เราได้รับรังสี UV มากเกินไปจนเกิดอันตรายได้? 

          พฤติกรรมที่อาจทำให้เราเสี่ยงต่อการรับสังสี UV มากเกินไปจนเกิดอันตราย เช่น ทำกิจกรรมท่ามกลางแสงแดดเป็นเวลานาน ,ไปยังสถานที่ ที่ร้อนและมีแสงแดดแสงเช่น ทะเล ,ไม่ทาครีมกันแดด ,นั่งทำงานบริเวณหน้าต่างหรือกระจก

โรคที่เกิดจากแสงแดด 

โรคที่เกิดจากแสงแดด

1.โรคมะเร็งผิวหนัง (Skin Cancer) 

รังสี UV จะเข้าทำลาย DNA (Genotoxic) จนทำให้เกิดโรคมะเร็งผิวหนังได้ เพราะในแสงแดดจะมีสารกระตุ้นมะเร็งอยู่แล้ว ยิ่งเมื่อได้รับแสงแดดจัดโดยตรงเป็นเวลานาน ก็จะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงเป็นโรคมะเร็งผิวหนังมากขึ้น

2.โรคฝ้า (melasma) 

แสงแดดเป็นปัจจัยสำคัญที่กระตุ้นที่ทำให้เกิดฝ้า ผื่นสีน้ำตาลที่ใบหน้าโดยเฉพาะที่บริเวณแก้ม จมูก หน้าผาก คาง บริเวณที่ถูกแสงแดด มักจะพบในผู้หญิงวัย 30-40 ปี      

3.โรคต้อเนื้อ (Pterygium) 

เกิดจากสัมผัสของรังสี UV จากดวงอาทิตย์กับเยื่อบุตามากเกินไป กลายเป็นเนื้อรูปสามเหลี่ยมสีแดงยื่นเข้าไปในตาดำ จนเยื่อบุตาเสื่อมลงในที่สุด

4.โรคลมแดด (Heat Stroke) 

เกิดจากการที่ร่างกายได้รับความร้อนมากเกินไป และขับเอาความร้อนออกจากร่างกายไม่ทัน จนมีอาการหน้ามืด ตาลาย เป็นลม  สามารถช็อก และชีวิตได้

 ป้องกันภัยจากแสงแดดได้ง่ายๆ 

  • ทาครีมกันแดดเป็นประจำและสม่ำเสมอ ควรทาก่อนออกแดด 15 นาทีและทาซ้ำทุก 2 ชั่วโมง
  • หลีกเลี่ยงแสงแดดในช่วงเวลา 10.00-16.00 น. 
  • สวมเสื้อผ้าหรือใช้อุปกรณ์ที่ช่วยปกป้องผิวจากแสงแดด เช่น หมวก ร่ม แว่นกันแดด 

          หลายคนมักมองข้ามและคิดว่าชินกับแสงแดดในประเทศไทย แต่อยากให้รู้ไว้ว่ามันมีอันตราย รู้แบบนี้แล้วอย่าลืมทำตามที่แนะนำด้วยนะ 

ติดตามเนื้อหาดีๆแบบนี้ได้ที่

Facebook : https://www.facebook.com/innnews.co.th

Twitter : https://twitter.com/innnews

Youtube : https://www.youtube.com/c/INNNEWS_INN

TikTok : https://www.tiktok.com/@inn_news

LINE Official Account : @innnews

ขอขอบคุณข้อมูล 

sukumvithospital

petcharavejhospital

bangkokpattayahospital

  • Tiktok
  • Youtube
  • Youtube