Home
|
ไลฟ์สไตล์

ป้องกันอัลไซเมอร์ พร้อมแนวทางการรักษาแบบใหม่ | hhc Thailand

Featured Image

ป้องกันอัลไซเมอร์ด้วยแนวทางใหม่ เพิ่มความหวังสดใสให้ผู้ป่วยอัลไซเมอร์

วิธีป้องกันโรคอัลไซเมอร์และวิธีการรักษาโรคอัลไซเมอร์ด้วยแนวทางการรักษาที่คิดค้นขึ้นมาใหม่คืออะไร…? หลาย ๆ คนที่อ่านมาถึงตรงนี้คงมองเห็นความหวังในการรักษาและป้องกันอัลไซเมอร์ขึ้นมากันบ้างแล้วอย่างแน่นอน เพราะวิธีป้องกันอัลไซเมอร์และวิธีการรักษาโรคอัลไซเมอร์ทุกวิธีสามารถมอบความหวังในการป้องกันเกี่ยวกับอัลไซเมอร์ให้กับครอบครัวที่มีผู้ป่วยอัลไซเมอร์ได้ ซึ่งวิธีการรักษาและวิธีการป้องกันโรคอัลไซเมอร์แบบใหม่นี้ถือเป็นแสงแห่งความหวังสำหรับผู้คนหลายล้านคนทั่วโลกที่กำลังเผชิญกับความเสี่ยงในการเกิดโรคอัลไซเมอร์เมื่ออายุมากขึ้น

แม้ว่าในปัจจุบันยังไม่มีวิธีการรักษาและการป้องกันอัลไซเมอร์ให้หายขาดได้ แต่การวิจัยอย่างต่อเนื่องและความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ถือเป็นความท้าทายและโอกาสที่ดีในการคิดค้นการรักษาใหม่ ๆ  ที่สามารถช่วยป้องกันโรคอัลไซเมอร์หรือชะลอการลุกลามของโรคนี้ได้

จากสถิติต่าง ๆ ในปัจจุบัน พบว่าจำนวนประชากรทั่วโลกมีอายุที่ยืนยาวมากขึ้น ซึ่งในประเทศไทยพบว่ากว่า 22% ของประชากร 66 ล้านคนเป็นกลุ่มผู้สูงอายุ ที่มีอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป ส่งผลให้สัดส่วนของโรคที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มผู้ที่สูงวัยพบได้มากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะภาวะสมองเสื่อม หรืออัลไซเมอร์ก็ถือเป็นสิ่งที่มีความท้าทายเป็นอย่างมากในสังคมไทย โดยภาวะสมองเสื่อมอัลไซเมอร์นี้มีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยและครอบครัวเป็นอย่างมาก ทั้งในเรื่องของค่าใช้จ่ายในการดูแลที่เพิ่มขึ้น สุขภาพจิตของผู้ดูแล และความเป็นอยู่โดยรวมของครอบครัว

อีกความท้าทายในปัจจุบันและในอนาคตสำหรับภาวะสมองเสื่อมจากโรคอัลไซเมอร์นี้ คือเรื่องการตรวจวินิจฉัยเพื่อป้องกันอัลไซเมอร์ก่อนที่ลุกลามจนเกินเยียวยานั่นเอง ซึ่งในปัจจุบัน การตรวจหาโรคอัลไซเมอร์นั้นสามารถทำได้ยาก เนื่องจากผู้ป่วยจะยังไม่มีอาการของโรคที่แสดงออกมาอย่างชัดเจนและภาวะสมองเสื่อมแต่ละประเภทอาจมีสาเหตุและกลไกพื้นฐานของโรคที่แตกต่างกัน

ในอนาคต นักวิจัยและบุคลากรทางการแพทย์อาจให้ความสำคัญกับวิธีป้องกันโรคอัลไซเมอร์มากขึ้นโดยนำแนวทางการใช้ชีวิตมาใช้ปรับใช้มากยิ่งขึ้น เนื่องจากการใช้ชีวิตบางอย่าง เช่น การออกกำลังกายเป็นประจำ การรับประทานอาหารที่สมดุล การกระตุ้นการรับรู้ และการเข้าสังคม อาจช่วยลดความเสี่ยงของโรคอัลไซเมอร์และภาวะสมองเสื่อมอื่น ๆ ได้ และการตรวจวินิจฉัยจะมุ่งไปที่การความเฉพาะเจาะจงต่อชนิดของภาวะสมองเสื่อมมากขึ้น เช่น การตรวจทางพันธุกรรม การเจาะไบโอมาร์คเกอร์ การตรวจสมองด้วย MRI, PET Scan เป็นต้น 

นอกจากนี้ การรักษาอัลไซเมอร์อาจเปลี่ยนไปเป็นการรักษาเฉพาะบุคคลและตรงเป้าหมายมากขึ้น อย่างการกรวดน้ำไขสันหลังและการตรวจด้านรังสีวิทยาโดยเครื่องมือที่เรียกว่า PET Scan เป็นต้น ถึงแม้ว่าการรักษาเหล่านี้จะยังมีราคาสูง ทำให้ผู้ป่วยเข้าถึงการวินิจฉัยที่แม่นยำไม่ได้ แต่ด้วยเทคโนโลยีทางการแพทย์และการนำเทคโนโลยีดิจิทัลใหม่ ๆ มาใช้ แน่นอนว่าจะทำให้เทรนด์การรักษาภาวะสมองเสื่อมและโรครักษาอัลไซเมอร์เปลี่ยนไปอย่างแน่นอน 

เรียกได้ว่าความก้าวหน้าจากเทคโนโลยีใหม่ ๆ จะช่วยให้สามารถทำความเข้าใจสาเหตุและกลไกพื้นฐานของภาวะสมองเสื่อมประเภทต่าง ๆ รวมถึงอัลไซเมอร์ได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งตรงนี้เองที่จะนำไปสู่การพัฒนาวิธีการรักษาที่เหมาะสม พร้อมกับวิธีการป้องกันโรคอัลไซเมอร์ก่อนที่จะเกิดการลุกลามจนเกินเยียวยาได้

สำหรับใครที่อยากรู้ว่าแนวทางการรักษาและการป้องกันด้วยแนวทางใหม่นี้มีอะไรบ้างนั้น ในวันนี้เราขออาสาพาทุกคนไปเจาะลึกวิธีการรักษาและวิธีการป้องกันโรคอัลไซเมอร์ให้อยู่หมัดด้วยแนวทางการรักษาที่คิดค้นขึ้นใหม่กันพร้อม ๆ กันที่นี่

 

ตรวจวินิจฉัยอัลไซเมอร์ด้วยเลือด แนวทางใหม่สู่การป้องกันอัลไซเมอร์

ในการแสวงหาทางเลือกการรักษาและวิธีการป้องกันโรคอัลไซเมอร์อย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดเป็นทางเลือกของการวินิจฉัยโรคอัลไซเมอร์ใหม่ นั่นก็คือการตรวจวินิจฉัยอัลไซเมอร์ด้วยเลือด (Plasma Biomarkers of Alzheimer’s Disease) ที่สามารถช่วยในการรักษาเพื่อป้องกันโรคอัลไซเมอร์ลุกลามได้ดียิ่งขึ้น 

ตรวจวินิจฉัยอัลไซเมอร์ด้วยเลือดนี้มีความแตกต่างจากเทคนิคการตรวจวินิจฉัยแบบดั้งเดิม เนื่องจากเป็นการตรวจเลือดวิธีการใหม่และคุ้มค่าที่สามารถการระบุการมีอยู่ของสารโปรตีนที่ก่อให้เกิดโรคอัลไซเมอร์ได้ ความแม่นยำของผลลัพธ์ที่ได้จากวิธีนี้เทียบได้กับแนวทางการวินิจฉัยอื่น ๆ ซึ่งความโดดเด่นอย่างหนึ่งของการตรวจเลือดนี้ คือความสามารถในการตรวจหาโปรตีนผิดปกติที่เกี่ยวข้องกับโรคอัลไซเมอร์ได้ก่อนตั้งแต่ 10 – 15 ปี ก่อนที่ผู้ป่วยจะเริ่มแสดงอาการที่เห็นได้ชัดเจน เรียกได้ว่าช่วยให้ผู้ป่วยทราบแนวโน้มสุขภาพของตนเองว่ามีความเสี่ยงหรือไม่ และวางแผนดูแลสุขภาพตนเองในระยะก่อนเป็นโรคเพื่อป้องกันอัลไซเมอร์ได้นั่นเอง

ความโดดเด่นของวิธีตรวจวินิจฉัยใหม่นี้ไม่ได้อยู่ที่ความสามารถในการตรวจหาสารที่ก่อให้เกิดอัลไซเมอร์ตั้งแต่เนิ่นๆ เท่านั้น แต่ยังรวมถึงศักยภาพในการติดตามการลุกลามของโรคด้วย ด้วยการตรวจเลือดอย่างสม่ำเสมอ ผู้ป่วยและแพทย์ผู้เชี่ยวชาญสามารถติดตามการเปลี่ยนแปลงของระดับโปรตีนและการพัฒนาของโรคเพื่อปรับแผนการรักษาให้เหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นได้

 

Digital Tools วัดสุขภาพสมองด้วยตนเอง แนวทางใหม่สู่การป้องกันโรคอัลไซเมอร์

ในการป้องกันโรคอัลไซเมอร์และการรักษาทางเลือก แนวโน้มสำคัญคือการเน้นไปที่การตรวจหาโรคและการตรวจวินิจฉัยตั้งแต่เริ่มต้น และเพื่ออำนวยความสะดวกในเรื่องนี้ จึงได้มีการคิดค้นและพัฒนาเครื่องมือคัดกรอง (Screener) หลากหลายรูปแบบ รวมถึงแบบสอบถามที่ดำเนินการผ่านญาติผู้ป่วย นอกจากนี้ยังมีความก้าวหน้าที่โดดเด่นในรูปแบบของเครื่องมือ Digital Tools ที่ช่วยให้บุคคลทั่วไปรวมถึงผู้สูงอายุสามารถประเมินสุขภาพสมองของตนเองได้ง่าย ๆ ผ่านโทรศัพท์มือถือ ไอแพด และคอมพิวเตอร์ เป็นต้น

หนึ่งในเครื่องมือ Digital Tools ที่ว่านั้น ก็คือ CogMateTM หรือแบบทดสอบวัดระดับสุขภาพสมองออนไลน์ที่ทุกคนสามารถทดสอบได้ด้วยตนเอง เครื่องมือนี้ได้รับการออกแบบมาเพื่อประเมินการทำงานของการรับรู้ของสมอง เช่น บ่งบอกระดับสุขภาพสมองในด้านระดับความจำ (Memory) การคิดและการตัดสินใจ (Attention) ซึ่งจากหลาย ๆ งานวิจัย พบว่า หากผู้ทดสอบมีแนวโน้มสูญเสีย หรือ มีระดับของทั้งสองค่าที่กล่าวมาลดลง ผู้ทดสอบอาจมีแนวโน้มของปัญหาสุขภาพลดลง และอาจนำไปสู่โรคที่เกี่ยวกับภาวะความรู้คิดบกพร่องเล็กน้อย (MCI) ได้ 

แม้ว่าเครื่องมือประเมินตนเองนี้จะเป็นตัวบ่งชี้สุขภาพสมองเบื้องต้น แต่สิ่งสำคัญคือต้องเน้นย้ำว่าเครื่องมือเหล่านี้ไม่ใช่เครื่องมือในการตรวจวินิจฉัย แต่ทำหน้าที่เป็นตัวช่วยที่จะกระตุ้นให้ผู้ทดสอบเข้ารับการตรวจประเมินทางการแพทย์และหาวิธีป้องกันอัลไซเมอร์ก่อนที่จะเกิดการลุกลามได้อย่างถูกต้อง หากตรวจพบความผิดปกติหรือการลดลงของความรู้ความเข้าใจที่เกิดขึ้น การรับรู้ถึงการเปลี่ยนแปลงใด ๆ ที่เกี่ยวข้องตั้งแต่เนิ่น ๆ จะสามารถช่วยให้ผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยและการรักษาอย่างทันท่วงที รวมถึงยังสามารถป้องกันการลุกลามของโรคอัลไซเมอร์และนำไปสู่ผลลัพธ์ของการรักษาที่ดีขึ้น

 

แนวทางใหม่สู่การป้องกันโรคอัลไซเมอร์ลุกลาม ด้วยการรักษาแบบเจาะจงมากขึ้น

การรักษาและแนวทางการป้องกันโรคอัลไซเมอร์ลุกลามในปัจจุบันจะเน้นไปที่การใช้ยาเพื่อจัดการกับอาการ หรือชะลอการดำเนินของโรคในโรคอัลไซเมอร์แบบประคับประคอง แต่ตอนนี้บริษัทด้านวิจัยยาหลาย ๆ แห่ง ได้มีการพัฒนายาที่มุ่งเน้นไปที่สาเหตุที่แท้จริงของภาวะสมองเสื่อมมากขึ้น

หนึ่งในยานั้นก็คือการใช้ยามุ่งเป้าไปลดและควบคุมคราบพลัคอะไมลอยด์ (Amyloid Plaques) หรือเทาโปรตีน (Tau protein) ในโรคอัลไซเมอร์ โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่ไม่แสดงอาการ หรือผู้ที่มีอาการเล็กน้อย โดยหวังผลการรักษาเพื่อการยืดระยะเวลาในการเข้าสู่โรค หรือยืดระยะเวลาการเกิดโรคออกไปให้ได้นานขึ้น

เช่นเดียวกับการรักษาที่เกิดขึ้นใหม่ การทดลองและการประเมินอย่างละเอียดถี่ถ้วนเป็นสิ่งสำคัญเพื่อให้มั่นใจถึงความปลอดภัยและประสิทธิภาพของการรักษาและป้องกันอัลไซเมอร์ลุกลาม ดังนั้น การวิจัยและความร่วมมืออย่างต่อเนื่องระหว่างบริษัทยา นักวิจัย และผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งในการตระหนักถึงศักยภาพสูงสุดของการรักษาที่ตรงเป้าหมายเหล่านี้ ในขณะที่การวิจัยดำเนินไป การบำบัดที่เป็นนวัตกรรมใหม่เหล่านี้อาจปูทางไปสู่ยุคใหม่ของการรักษาอัลไซเมอร์ให้หายขาดได้ในอนาคต 

 

แนวทางการดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์และผู้ที่มีภาวะความรู้คิดบกพร่องเล็กน้อย

ในขอบเขตของการดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์และการจัดการกับความบกพร่องทางสติปัญญาระดับเล็กน้อย (MCI) นั้น กำลังมีการมุ่งเน้นในวิธีการที่ไม่ใช้ยามากยิ่งขึ้นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของความรู้ความเข้าใจ ชะลอและป้องกันอัลไซเมอร์ลุกลาม ซึ่งวิธีการเหล่านี้กำลังได้รับความสนใจและการสนับสนุนอย่างมากจากสังคมในปัจจุบัน  เนื่องจากเป็นแนวทางที่มีแนวโน้มในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของบุคคลที่ได้รับผลกระทบจากภาวะสมองเสื่อม

ตัวอย่างแนวทางใหม่ ๆ ในปัจจุบัน ก็จะมีโปรแกรมการกระตุ้นการรับรู้ (Cognitive training) ที่ออกแบบมาเป็นพิเศษโดยแพทย์หรือนักจิตวิทยาผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งมีจุดมุ่งหมายเพื่อกระตุ้นความสามารถทางความคิดและปรับปรุงความจำและทักษะการคิด นอกจากนี้ การบูรณาการหลักสูตรการออกกำลังกายเข้ากับอาหารกระตุ้นสมอง เช่น การรับประทานอาหารและโภชนาการแบบ Mediterranean and DASH-style diets เพื่อส่งเสริมสุขภาพสมองยังสามารถส่งผลดีต่อการทำงานของสมองและความเป็นอยู่ที่ดีโดยรวมได้อีกด้วย 

นอกจากนี้ การร่วมกิจกรรมการมีส่วนร่วมทางสังคมและการสนับสนุนทางจิตใจ รวมถึงกิจกรรมเสริมพฤติกรรมและชีวิตประจำวันต่าง ๆ เพื่อชะลอการเสื่อมของความรู้ความเข้าใจ (Cognition) ควบคู่ไปกับวิธีการรักษาที่ไม่ใช้ยาก็สามารถปรับปรุงการทำงานของการรับรู้ได้ดีเช่นเดียวกัน ทั้งนี้จากในปัจจุบันที่ได้มีการพัฒนาเครื่องมือในการตรวจวินิจฉัยและยารักษาโรค เทคโนโลยี Digital Tools ทางด้านสุขภาพก็มีการพัฒนามากขึ้น ทำให้ในอนาคตอันใกล้เราอาจเห็นการใช้เทคโนโลยี Digital Tools ในการดูแลภาวะสมองเสื่อม ชะลอ และป้องกันอัลไซเมอร์ลุกลามกันมากขึ้น เช่น…

แอปพลิเคชันมือถือและระบบติดตามระยะไกล

อาจมีการพัฒนาขึ้นมาใหม่เพื่อความสะดวกในการตรวจสอบปัญหาสุขภาพ และติดตามความคืบหน้าของโรค โดยให้ข้อมูลเชิงลึกแก่ทั้งผู้ป่วยและผู้ให้บริการด้านสุขภาพ

 

การใช้ความจริงเสมือน (VR) หรือความเป็นจริงเสริม (AR) สำหรับการฝึกฟื้นฟูความรู้ความเข้าใจ 

ซึ่งเทคโนโลยีเหล่านี้มอบความหวังในการสามารถสร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมเพื่อกระตุ้นกระบวนการรับรู้ มอบวิธีการใหม่ ๆ ในการปรับปรุงการทำงานของสมองและปรับปรุงประสิทธิภาพการรับรู้โดยรวมได้ 

 

เทคโนโลยีบ้านอัจฉริยะและอุปกรณ์สวมใส่

อาจทำให้สามารถตรวจสอบและให้ความช่วยเหลือในกิจวัตรประจำวันได้แบบเรียลไทม์ เทคโนโลยีเหล่านี้สามารถให้การแจ้งเตือน การตรวจสอบความปลอดภัย และการสนับสนุนส่วนบุคคล พร้อมช่วยลดภาระของผู้ดูแลและเพิ่มอิสระในการดูแลผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์

 

Brain-computer Interfaces (BCIs)

ในอนาคต BCIs อาจถูกนำมาใช้เพื่อปรับปรุงการสื่อสารและการทำงานของการรับรู้ในบุคคลที่มีภาวะสมองเสื่อม อินเทอร์เฟซเหล่านี้จะอนุญาตให้มีการสื่อสารโดยตรงระหว่างสมองกับอุปกรณ์ภายนอก ช่วยให้ผู้ที่มีทักษะทางการสื่อสารที่บกพร่องหรือการเคลื่อนไหวบกพร่อง สามารถแสดงออกและโต้ตอบกับสิ่งรอบตัวได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

 

หุ่นยนต์ที่ออกแบบมาโดยเฉพาะสำหรับการดูแลภาวะสมองเสื่อมอาจแพร่หลายมากขึ้น หุ่นยนต์เหล่านี้สามารถช่วยงานประจำวัน เป็นเพื่อน และติดตามความเป็นอยู่ของบุคคลที่เป็นโรคสมองเสื่อม ซึ่งอาจมีการพัฒนาและติดตั้งเซนเซอร์เพื่อตรวจจับการหกล้ม การเปลี่ยนแปลงของสัญญาณชีพ หรือสังเกตพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปได้อีกด้วย

 

การเกิดขึ้นของวิธีการที่ไม่ใช้ยาและการรวมเทคโนโลยีดิจิทัลนำเสนอโอกาสใหม่ ๆ ที่น่าสนใจสำหรับวิธีการป้องกันอัลไซเมอร์และการรักษาทางเลือก ตั้งแต่การฝึกความรู้ความเข้าใจและอาหารกระตุ้นสมองไปจนถึงการนำ VR และ AR ที่ทันสมัยมาใช้เพื่อฝึกการรับรู้และช่วยติดตามความก้าวหน้าของโรค วิธีการเหล่านี้ให้การสนับสนุนในหลากหลายแง่มุมสำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะสมองเสื่อมและผู้ที่ดูแลผู้ป่วยเป็นอย่างมาก อย่างไรก็ตาม แนวโน้มเหล่านี้แสดงให้เห็นถึงความหวังของการรักษาและการป้องกันโรคอัลไซเมอร์ที่ดีขึ้นกว่าเดิม เนื่องจากแนวโน้มทั้งหมดนี้สามารถช่วยให้ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากภาวะสมองเสื่อม หรืออัลไซเมอร์มีความเป็นอยู่ที่ดีและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้ในอนาคต

เป็นอย่างไรกันบ้าง? กับบทความ “การป้องกันอัลไซเมอร์ พร้อมแนวทางการรักษาแบบใหม่” ที่เราได้นำมาฝากในวันนี้ หลาย ๆ คนคงจะเห็นกันแล้วใช่ไหมว่า ด้วยการผสมผสานการรักษาทางเภสัชวิทยาและไม่ใช่ทางเภสัชวิทยา วิธีการแบบองค์รวมในการดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์กำลังถูกหล่อหลอมขึ้น โดยมีเป้าหมายในการปรับปรุงการทำงานของความรู้ความเข้าใจ คุณภาพชีวิต และความเป็นอยู่ที่ดีโดยรวมได้ ซึ่งการวิจัยอย่างต่อเนื่องและการบูรณาการแนวทางใหม่เหล่านี้ ทำให้ทุกคนมีความหวังในการต่อสู้กับโรคอัลไซเมอร์ได้มากยิ่งขึ้น ทั้งสำหรับผู้ที่เป็นโรคอัลไซเมอร์ ผู้ที่มีความเสี่ยง และผู้ที่ดูแล ดังนั้นในอนาคตอันใกล้นี้เราคงมีความหวังที่จะได้พบกับแนวทางการรักษาภาวะสมองเสื่อม ชะลออาการ และป้องกันอัลไซเมอร์ลุกลาม หรือวิธีป้องกันโรคอัลไซเมอร์แนวทางใหม่ ๆ ได้อีกอย่างแน่นอน 

สำหรับครั้งหน้าเราจะนำเรื่องราวสาระดี ๆ เรื่องไหนมาฝากอีกนั้น ขอให้ทุกคนรอติดตามกันได้เลย!

  • Tiktok
  • Youtube
  • Youtube