ดาวหางฮัลเลย์ ดาวหางแห่งความรักและความโชคร้าย
“ขออยู่ในชีวิตที่เหลือของเธอได้ไหม อยากลืมตาแล้วได้พบเธอจนวันสุดท้าย” วินาทีนี้ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าเพลง ‘ดาวหางฮัลเลย์ (Halley’s Comet)’ ของ Fellow Fellow นั้นกลายเป็นเพลงคลั่งรักฮิตทั่วบ้านทั่วเมือง นอกจากความโรแมนติกที่อยู่ในเนื้อเพลงแล้ว หนึ่งสิ่งที่น่าสนใจมาก ๆ คือการนำเอาเรื่องราวของ ดาวหางฮัลเลย์ มาแทนสิ่งที่ปรารถนาในชีวิตความรักของคนคนนึง
เจ้าดาวหางฮัลเลย์ มันจะเดินทางมาโคจรให้เราเห็นด้วยตาเปล่าทุก ๆ 75-76 ปี หากต้องการนอนดูดาวข้างกัน เท่ากับทั้งสองต้องคบกันเกือบทั้งชีวิต (ค่าเฉลี่ยอายุขัยมนุษย์ ณ ปัจจุบันอยู่ที่ 77 ปี) บางคนเลยถือว่าดาวหางฮัลเลย์นั้นโรแมนติก เหมือนการมาพบกันของคนรักที่วนกลับมาเรื่อย ๆ แม้ว่าจะห่างกันไปนานแค่ไหน
ภาพยนต์ไทยก็ได้หยิบตรงนี้มาเล่าเหมือนกัน อย่างในเรื่อง รถไฟฟ้ามาหานะเธอ ก็มีบทสนทนาระหว่าง ลุงและเหมยลี่ ที่ทั้งคู่นัดว่าจะมาดูดาวหางนี้ด้วยกันเมื่อมันโคจรกลับมาที่โลก
แต่ก่อนที่จะเป็นสัญลักษณ์ของความโรแมนติกอย่างทุกวันนี้ ก่อนที่จะรู้ว่ามันจะวนกลับมาหาพวกเราทุก 76 ปี ดาวหางฮัลเลย์ เคยถูกมองว่ามันเป็นตัวแทนความโชคร้าย ที่จะนำวิบัติมาสู่มนุษย์ ไม่ว่าจะเป็น โรคระบาด สงครามหรือความตาย ทำไมมันถูกมองเช่นนั้น แล้วใครเป็นผู้ที่ไขความลับของมัน เรามาย้อนเวลาไปดูที่มาของดาวหางนี้กัน
ดาวหางฮัลเลย์สัญลักษณ์แห่งความโชคร้าย?
“ความไม่รู้และความเชื่อทำให้ดาวหางฮัลเลย์กลายเป็นสัญลักษณ์แห่งความโชคร้าย” การปรากฏตัวของดาวหางฮัลเลย์เท่าที่มีการบันทึกไว้ก็ย้อนไปถึงช่วงหลักร้อยปีก่อนคริสตกาล โดยมีบันทึกจากจีน บันทึกจากชาวบาบิโลน
ให้เข้าใจก่อนว่าในอดีตของที่อยู่บนฟ้า อย่าง พระอาทิตย์ ,พระจันทร์หรือดาวหาง จะถูกผูกโยงกับความเชื่อเกี่ยวกับเทพเจ้า ลางบอกเหตุต่างๆ
ตั้งแต่สมัยกรีกโบราณ ดาวหางถูกเชื่อมโยงกับความโชคร้าย ผู้คนเชื่อว่าดาวหางจะนำความตาย ภัยพิบัติต่างๆ มาสู่มนุษย์ นอกจากนี้ยังมีการผูกกับเหตุการณ์หลายๆ อย่าง การสวรรคตของกษัตริย์หลังจากที่ดาวหางปรากฏตัว ,ความพ่ายแพ้ต่อสงคราม
ความเชื่อนี้ถูกส่งต่อกันมาและกลายเป็นเรื่องเล่าที่ปรากฏให้เห็นในหลายวัฒนธรรม แม้แต่ในการ์ตูนยอดฮิตอย่าง โดราเอมอน เป็นตอนที่โนบิตะและโดเรม่อน ย้อนเวลาไปหาทวดโนบิตะในวัยเด็ก ในการ์ตูนกล่าวถึงดาวหางฮัลเลย์ถ้าผ่านโลก จะทำให้อากาศหมดไป 5 นาที ต้องเตรียมยางในรถจักรยานมาเก็บอากาศไว้หายใจหรือฝึกกลั้นหายใจให้นานเกิน 5 นาที
แต่ความไม่รู้ที่ทำให้เกิดความเชื่อเหล่านี้ ก็ถูกหักล้างและพิสูจน์ด้วยหลักการทางวิทยาศาสตร์ โดย เอ็ดมอนด์ ฮัลเลย์ (Edmond Halley)
เอ็ดมอนด์ ฮัลเลย์ ผู้ไขปริศนาดาวหางลึกลับ
เอ็ดมอนด์ ฮัลเลย์ นักดาราศาสตร์ชาวอังกฤษ เขาได้ศึกษา ตรวจสอบรายงานดาวหางที่มีการ
บันทึกไว้ เขาพบว่าดาวหางดวงนี้มีความคล้ายคลึงกันทั้งวงโครงจร ความสว่าง ลักษณะเวลามันปรากฏ ทุกอย่างดูคล้ายกัน เขาคิดว่ามันคือดาวดวงเดียวกัน
เขาได้ใช้หลักการคำนวณ ทฤษฏีต่างๆ เช่น แรงโน้มถ่วง วงโคจร การเคลื่อนที่ จนมั่นใจว่ามันคือดาวดวงเดียวกันตอนนั้นเขาทำนายไว้ว่ามันจะกลับมาอีกใน ศ.ศ. 1758 แต่ฮัลเลย์เองก็ได้เสียชีวิตลงในปี ค.ศ. 1742 เขาไม่ได้รอเห็นดาวหางนี้ด้วยตาตัวเอง ไม่ได้พิสูจน์ว่าสิ่งที่เขาคิดนั้นถูกต้อง
สุดท้ายในปี ค.ศ. 1758 ดาวหางดวงนั้นมันก็กลับมาให้ทุกคนเห็นจริงๆ แม้ เอ็ดมอนด์ ฮัลเลย์ จะไม่ได้เห็นด้วยตาตัวเอง แต่ผู้คนก็ได้รับรู้และเห็นด้วยตาตัวเองว่าสิ่งที่เขาคิดนั้นถูก เลยตั้งชื่อดาวหางว่า ฮัลเลย์ เพื่อเป็นเกียรติให้แก่เขา
ดาวหางฮัลเลย์ทำไมถึงเห็นชัด
ดางหางฮัลเลย์นั้นประกอบไปด้วยน้ำ คาร์บอนไดออกไซด์ ฝุ่นและแอมโมเนีย มีขนาดราว ๆ 15 กิโลเมตร x 8 กิโลเมตร เมื่อมันได้ความร้อนจากดวงอาทิตย์มันจะเกิดเป็นลำแสง เป็นหางยาว สวยงามแบบที่เราเห็น
ดาวหางฮัลเลย์ ดาวหางที่หลายคนยกให้เป็นหนึ่งในตัวแทนของความโรแมนติก มันปรากฏตัวครั้งล่าสุดในปี พ.ศ. 2529 และคาดว่าจะโคจรมาให้ทุกคนเห็นอีกครั้งในปี พ.ศ 2604 หวังว่าพวกเราทุกคนจะได้อยู่ดูดาวหางฮัลเลย์ด้วยกันนะ
ขอขอบคุณข้อมูลและรูปภาพ
thaipbs – ‘ฮัลเลย์’ การเดินทางของดาวหาง และความรัก
spaceth ดาวหางฮัลเลย์ การจากลา เพื่อกลับมาพบกันใหม่ในอีก 75 ปี
silpa-mag – “ดาวหางฮัลเลย์” ดาวหางที่ถูกใช้เป็นเครื่องมือฝ่ายปฏิวัติ เพื่อโค่นล้ม “ราชวงศ์ชิง”
ดาราศาสตร์หลังบ้าน
ติดตามเนื้อหาดีๆแบบนี้ได้ที่
Facebook : https://www.facebook.com/innnews.co.th
Twitter : https://twitter.com/innnews
Youtube : https://www.youtube.com/c/INNNEWS_INN
TikTok : https://www.tiktok.com/@inn_news
LINE Official Account : @innnews