รู้หรือเปล่า ตุลาคม ปี พ.ศ.2125 มีแค่ 21 วัน!
เกร็ดความรู้สนุกๆ รู้หรือเปล่าเมื่อปี พ.ศ.2125 หรือ ค.ศ 1582 เดือนตุลาคม มีแค่ 21 วันเท่านั้น!! หากไม่เชื่อลองหยิบมือถือขึ้นมาแล้วย้อนไป พ.ศ.2125 กดเข้าไปที่เดือนตุลาคม
สิ่งที่จะเห็นคือหลังวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ.2125 วันรุ่งขึ้นแทนที่จะเป็นวันที่ 5 กลับกลายเป็นวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ 2125 แทน คำถามต่อมาคือหายไปไหน 10 วัน มันเกิดอะไรขึ้นกันแน่?
คำตอบคือ เกิดจากการเปลี่ยนปฏิทินจูเลียนมาเป็นปฏิทินเกรกอเรียน
เอาละมาอธิบายเพิ่มกันสักนิด ให้เข้าใจง่ายๆ ปฏิทินแบบเกรกอเรียน (Gregorian) ก็คือรูปแบบปฏิทินที่เราใช้กันในปัจจุบัน ยึดเอาวันที่ 1 มกราคม เป็นวันปีใหม่ เจ้าปฏิทินนี้ก็พัฒนามาจากปฏิทินจูเลียน(Julian) ที่ใช้กันก่อนหน้านี้
แล้วทำไมต้องเปลี่ยน ง่ายๆ คือ ปฏิทินจูเลียนมันไม่ค่อยตรงกับวงจรของโลกเท่าไร ปฏิทินนี้มันเฉลี่ย 1 ปีมีประมาณ 365.25 วัน แต่โลกหมุนเฉลี่ยจริงๆ แค่ 365.24.. โดยประมาณ
แม้ตัวเลขอาจจะดูต่างกันไม่เยอะ แต่พอหลายร้อยปีมันจะทำให้นับเกินมาถึง 1 วันเป็นแบบนี้มาเรื่อยๆ โดยประมาณ ที่นี้มันส่งผลต่อวันสำคัญอย่าง วันวสันตวิษุวัตหรือวันที่กลางวันยาวเท่ากลางคืน วันนี้เกี่ยวเนื่องกับวันอีสเตอร์(Easter) ที่มาจากคำว่า อียอสเตอร์(Eostre) เป็นอีกคำของคำว่า Spring Equinox หรือวันวสันตวิษุวัต วันแรกของฤดูใบไม้ผลิ
พอกระทบแบบนี้เลยมีประกาศใช้ปฏิทินเพื่อให้มันตรงกับวงจรของโลกให้มากขึ้น โดยกำหนดให้ปฏิทิน ปีเท่ากับ 365.24.. แล้วก็ตัดออกไป 10 วันที่มันเกินมา แล้วเริ่มการใช้ปฏิทินเกรกอเรียนนับตั้งแต่ตอนนั้น เป็นสาเหตุว่าทำไม ตุลาคม พ.ศ.2125 มีแค่ 10 วันนั้นเอง
ติดตามเนื้อหาดีๆแบบนี้ได้ที่
Facebook : https://www.facebook.com/innnews.co.th
Twitter : https://twitter.com/innnews
Youtube : https://www.youtube.com/c/INNNEWS_INN
TikTok : https://www.tiktok.com/@inn_news
LINE Official Account : @innnews