Home
|
ไลฟ์สไตล์

ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด! แชร์ 5 ขั้นตอนเมื่อไปพบจิตแพทย์ครั้งแรก

Featured Image

          ในวันที่เราต้องการเยียวยาจิตใจด้วยการรักษา หลาย ๆ คนที่ประสบกับปัญหาทางใจอาจไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นอย่างไรเมื่อจะไปพบจิตแพทย์ครั้งแรก ไม่ต้องกังวลไป วันนี้เราจะมาแนะนำขั้นตอนการไปพบจิตแพทย์ครั้งแรก ต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง ตามไปดูกันเลย ~

1.เรียบเรียงว่าตัวเองจะไปพบแพทย์ด้วยเรื่องอะไร

          เริ่มต้นด้วยการเรียบเรียงก่อนว่าตัวเองจะพบจิตแพทย์ในเรื่องอะไร เมื่อเข้าพบแพทย์เราจะได้เล่าปัญหาได้ตรงจุด และครบทุกเรื่อง นอกจากนี้เมื่อรู้ปัญหาของตัวเองแล้ว จะได้รู้ว่าควรพบจิตแพทย์แบบไหนให้มารักษาอาการของเรา เพราะแผนกจิตเวชมีสาขาและแพทย์ที่มีความชำนาญที่แตกต่างกันไป

2.การหาข้อมูลสถานพยาบาล ก่อนตัดสินใจว่าจะรับการรักษาที่ไหน

          หลังจากเรียบเรียงตัวเองแล้วว่ามีปัญหาที่ตรงไหน การหาข้อมูลสถานพยาบาลต่าง ๆ จึงเป็นลำดับต่อมา เพราะบางสถานพยาบาลอาจไม่มีแผนกจิตเวช หรือจิตแพทย์นั้นอาจไม่ถูกจริตเรา ซึ่งการรักษาที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด คือการที่ตัวของผู้เข้ารับการรักษาและแพทย์ร่วมมือกันเพื่อให้อาการบรรเทาและหายไปในที่สุด แต่เมื่อเจอจิตแพทย์ที่ไม่สามารถรักษาหรือไม่สะดวกใจที่จะคุย การรักษาที่ได้รับมาทั้งหมดอาจเสียเปล่า การหาข้อมูลสถานพยาบาลและจิตแพทย์จึงเป็นเรื่องสำคัญเป็นอย่างมาก 

3.สอบถามรายละเอียด

          จำเป็นที่จะต้องสอบถามรายละเอียดจากสถานพยาบาลก่อน เพราะบางที่มีการจำกัดคิวต่อวัน จึงต้องมีการเตรียมตัวก่อนไปพบแพทย์

4.ลงทะเบียนผู้ป่วยนอก

         ต่อมาคือ ลงทะเบียนที่ผู้ป่วยนอก ซึ่งถ้ามีสิทธิที่ใช้ในการรักษา คุณสามารถตรวจสอบได้ว่าสามารถใช้ได้หรือไม่ และเมื่อลงทะเบียนเรียบร้อยแล้ว จากนั้นเข้าคิวรอพบจิตแพทย์เพื่อปรึกษาได้เลย 

5.เข้าพบจิตแพทย์

          มาถึงข้อสุดท้าย เมื่อถึงคิวของเราในการเข้าพบจิตแพทย์แล้ว แพทย์จะซักถามประวัติและอาการตามปกติ สิ่งที่เราควรทำ คือเราควรเปิดใจบอกสิ่งที่กำลังเผชิญตามตรงต่อแพทย์ที่ให้คำปรึกษา เพื่อให้แพทย์สามารถวินิจฉัยและช่วยรักษาอาการของเราได้ตรงจุด หลังจากนั้นเมื่อพบแพทย์เรียบร้อยแล้ว จึงสามารถรอจ่ายเงินและรับยากลับบ้านได้เลย

           เป็นอย่างไรบ้างกับการเข้าพบจิตแพทย์ครั้งแรก ไม่ได้ยาก แล้วก็ไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิดเลยใช่ไหม! ซึ่งการไปรักษาใจก็เหมือนกับการไปหาแพทย์ทั่วไปเลย เพียงแต่ว่าอาจต้องใช้เวลาต่อเนื่องในการเข้ารับการรักษาในแต่ละครั้ง ในขณะเดียวกันการปรึกษาจิตแพทย์ไม่ใช่เรื่องน่ากลัว การป่วยใจก็เป็นการป่วยอย่างหนึ่ง ซึ่งไม่ใช่เรื่องน่าอายเลย

ติดตามเนื้อหาดีๆแบบนี้ได้ที่

Facebook : https://www.facebook.com/innnews.co.th

Twitter : https://twitter.com/innnews

Youtube : https://www.youtube.com/c/INNNEWS_INN

TikTok : https://www.tiktok.com/@inn_news

LINE Official Account : @innnews

ขอบคุณข้อมูลจาก

An Y

  • Tiktok
  • Youtube
  • Youtube