เชื่อว่าวัยทำงาน หรือกลุ่มที่มีรูทีนแบบนอนดึก ตื่นเช้า แถมต้องจ้องจอคอมพิวเตอร์และเอกสารแทบทั้งวัน เมื่อลองสังเกตตัวเองในกระจก หลายครั้งจะพบว่าตัวเองมีดวงตาไม่สดใส ตาปรือ ตาตก ดูเหมือนคนง่วงนอนตลอดเวลา ซึ่งทำให้หลายคนอาจคิดว่านี่เป็นอาการของการพักผ่อนน้อย นอนไม่เพียงพอเท่านั้น บางคนนอนพักแล้วหาย แต่ถ้าหากนอนพักแล้ว อาการเหล่านี้ก็ยังไม่หายไปสนิทล่ะ? อย่าชะล่าใจไป! เพราะนี่อาจเป็นสัญญาญเตือนของโรคกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง (MG) โรคที่ส่งผลกระทบต่อการมองเห็น และการใช้ชีวิตประจำวันในระยะยาวก็เป็นได้ ในบทความนี้ขอชวนเหล่าวัยทำงานที่ใช้ดวงตาอย่างหนักหน่วง ลองมาเช็ก 5 อาการสำคัญของโรค MG เพื่อให้รักษาอาการต่างๆ ได้ทัน พร้อมเสริมสร้างสุขภาพตาที่ดีในอนาคตกัน!
โรคกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง (MG) คืออะไร เกิดขึ้นได้อย่างไร?
ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักเกี่ยวกับโรคนี้ให้มากขึ้นกัน โดยโรคกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงแบบ MG หรือ Myasthenia Gravis คือ โรคที่มีสาเหตุมาจากความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันที่ร่างกายจะสร้าง Antibody บางชนิดขึ้นมาทำลายโปรตีน ซึ่งมีหน้าที่สำคัญในการรับสารอะซีทิลคอลีน(Acetylcholine) ที่อยู่ระหว่างสารสื่อประสาทที่อยู่บริเวณรอยต่อเส้นประสาทและกล้ามเนื้อดวงตาและเมื่อกล้ามเนื้อดวงตาไม่สามารถรับสัญญาณจากเส้นประสาทได้แบบปกติ จึงก่อให้เกิดอาการกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง ควบคุมกล้ามเนื้อตาไม่ได้ หนังตาจึงมักตก หย่อนคล้อยลงมา ชั้นตาไม่เท่ากัน จนดูเหมือนคนง่วงนอนตลอดเวลานั่นเอง
ในส่วนของสาเหตุของโรคกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงนั้น อาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นผลมาจากพันธุกรรมที่เป็นมาตั้งแต่กำเนิด อายุที่เพิ่มมากขึ้น จนทำให้ชั้นเปลือกตาหย่อนคล้อยลงมาตามอายุ ขาดความยืดหยุ่นของชั้นดวงตา อุบัติเหตุที่ทำให้กล้ามเนื้อดวงตาฉีกขาด จนทำให้เส้นประสาทตาเสียการควบคุมกล้ามเนื้อตาไป หรือจะเป็นพฤติกรรมใช้ชีวิต อย่างวัยทำงานที่มักจะใช้ดวงตาเพ่งเล็งจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานๆ พักผ่อนน้อยมาก จนทำให้กล้ามเนื้อตาล้า ตาอ่อนแรง เป็นต้น โดยโรค MG นี้ มักจะพบในเพศหญิงอายุ 20-40 ปี และเพศชาย อายุ 50 ปีขึ้นไป
5 อาการสำคัญของโรคกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง (MG)
อย่างที่เราบอกไปว่า หนึ่งในสาเหตุของการเกิดโรคกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงนั้นอาจเป็นผลมาจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต ที่ใช้สายตาจ้องมองจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานๆ ไหนจะการพักผ่อนน้อย ดังนั้นวัยทำงานจึงถือเป็นกลุ่มเสี่ยงที่อาจเผชิญกับโรคกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงหรือโรค MG ได้ โดย 5 อาการสำคัญที่มักจะพบในโรค MG มีดังต่อไปนี้
1. เปลือกตาและหนังตาตก ดูเหมือนคนง่วงซึมตลอดเวลา
เปลือกตาและหนังตาตกลงมากมากกว่าปกติ อาจเป็นข้างเดียว หรือทั้งสองข้าง จนดูเหมือนคนง่วงซึมตลอดเวลา เป็นอาการเริ่มต้นของโรคกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงที่พบได้มากที่สุดอาการหนึ่ง ทำให้ต้องคอยพยายามเบิกตา เลิกคิ้วสูงๆ เพื่อให้ดวงตาเปิดกว้างขึ้น ส่งผลต่อบุคลิกภาพ ใบหน้าดูเหนื่อยล้า ไม่สดใส โดยอาการเปลือกตาและหนังตาตกนี้จะมีอาการไม่คงที่ในระหว่างวัน ตื่นนอนตอนเช้า อาจจะมีอาการไม่มาก แต่ตกบ่าย หรือเย็นๆ หลังเลิกงาน อาการเป็นมากขึ้นได้
2. ดวงตาดูไม่เท่ากัน ในเคสที่เปลือกตาตกลงมาข้างเดียว
ดวงตาดูไม่เท่ากัน หรืออาการที่รูปตาข้างซ้าย หรือข้างขวามีขนาดเล็กกว่าอีกข้างหนึ่ง ซึ่งสามารถสังเกตได้ง่ายๆ ผ่านการส่องกระจก หรือลองถ่ายรูปเซลฟี่มุมตรง มักจะเกิดขึ้นได้ในเคสที่เปลือกตาตกลงมาข้างเดียว โดยเป็นผลมาจากโรคกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงที่อาจทำให้กล้ามเนื้อที่ใช้ในการยกตาทำงานผิดปกติ จนทำให้หนังตาตกลงมาปิดตาดำมากกว่าปกติ ตลอดจนไม่สามารถลืมตาได้เต็มที่ทั้งสองข้าง
3. มองเห็นเป็นภาพซ้อน กลอกตาไม่ได้ ตาเหล่ หรือเขผิดไปจากปกติ
หากอาการเริ่มรุนแรงขึ้น ผู้ที่เป็นโรคภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงอาจมองเห็นเป็นภาพซ้อน ภาพเบลอ ไม่สามารถโฟกัสวัตถุชัดๆ ตลอดจนกลอกตาให้ไปตามในทิศทางที่ต้องการไม่ได้ จนทำให้ตาเหล่ หรือเขผิดไปจากปกติ ซึ่งเป็นสิ่งที่ส่งต่อภาพลักษณ์ของใบหน้า ทำให้หลายๆ คนไม่มั่นใจ และยังส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันในด้านการมองเห็น ทำให้มองเห็นได้ไม่ชัดเจนนั่นเอง
4. เลิกคิ้วสูงโดยไม่รู้ตัว รู้สึกปวดขมับรุนแรง
เมื่อเริ่มมีอาการมองเห็นได้ไม่ชัดเจน ลืมตาไม่ขึ้น หลายๆ คนจึงต้องพยายามเลิกคิ้วขึ้นสูงๆ เพื่อยกตาเปลือกตาและหนังตาขึ้น เมื่อทำติดต่อกันเป็นเวลานานๆ อาจทำให้เกร็งช่วงระหว่างคิ้วหรือกล้ามเนื้อขมับ จนมีอาการปวดหัวรุนแรง นอกจากนี้การเลิกคิ้วยังเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดริ้วรอย ความเหี่ยวย่นบริเวณหน้าผากได้ด้วย
5. ลิ้นเกร็งแข็ง กลืนอาการได้ลำบาก สำลักง่าย
อีกหนึ่งอาการที่สำคัญ และถือว่าเริ่มมีอาการที่หนักแล้ว คือ อาจมีอาการลิ้นเกร็งแข็ง กลืนอาหารได้ลำบาก และสำลักอาหารได้ง่าย ซึ่งหากรุนแรงมากขึ้น อาจไม่สามารถรับประทานอาหารเองได้เลย ซึ่งต้องรีบพบแพทย์มากประสบการณ์โดยด่วน เพราะเป็นสิ่งที่ส่งผลต่อร่างกายและกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันอย่างหนักนั่นเอง
เป็นอย่างไรกันบ้างกับ 5 อาการสำคัญของโรค MG หรือโรคกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง แม้อาการของโรคนี้ จะยังไม่เป็นอันตรายถึงกับทำให้สูญเสียการมองเห็นถาวร แต่ก็ต้องยอมรับว่า ส่งผลเสียต่อบุคลิกภาพ ความั่นใจ และการใช้ชีวิตประจำวันในระยะยาว เพราะโรคกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงนี้มักจะทำให้เรามีหนังตาตก ตาปรือ ดูง่วงนอนตลอดเวลา บางรายอาจตาเข ตาเหล่ มองได้ไม่ชัด หรือต้องปวดหัวเพราะต้องคอยเลิกคิ้วตลอดเวลา มากกว่าไปกว่านั้นอาจมีอาการลิ้นเกร็งแข็ง กลืนอาการได้ลำบาก ซึ่งต้องปรึกษาแพทย์เพื่อมองหาแนวทางการรักษาที่เหมาะสมต่อไป สำหรับการรักษาโรค MG แพทย์อาจจะประเมินตามอาการให้ยารับประทานเพื่อกดภูมิคุ้มกัน ไม่ให้ร่างกายสร้าง Antibody ที่ทำให้กล้ามเนื้อตาอ่อนแรงทำงานผิดปกติขึ้นมา นอกจากนี้อาจมีการใช้ ‘เทคนิคการทำตาสองชั้นดึงกล้ามเนื้อลีเวเตอร์’ ซึ่งจะแตกต่างการทำตาสองชั้นปกติ เพราะจะลงลึกไปถึงกล้ามเนื้อตา เพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อยกเปลือกตาให้ได้มากที่สุดนั่นเอง
สำหรับใครที่กำลังประสบกับปัญหากล้ามเนื้อตาอ่อนแรงและกำลังมองหาคลินิกรักษาและแก้ไขกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงที่ Lovely Eye & Skin Clinic เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่เปิดให้บริการ เรามีทีมแพทย์มากประสบการณ์และความชำนาญในการรักษา ด้วยเทคนิคเฉพาะทางโดยตรง พร้อมให้คำปรึกษาและดูแลการรักษาเกี่ยวกับปัญหารอบดวงของคุณอย่างตรงจุด ใส่ใจพิถีพิถันทุกรายละเอียด เพื่อให้ทุกคนมีดวงตาที่สวยใส มองเห็นได้ชัดเจนอีกครั้ง
ติดต่อและสอบถาม Lovely Eye & Skin Clinic
Tel. 02 382 0045, 06 1405 0044
Line: @lovelyeye
Website: www.lovelyeyeclinic.com