Motion Sickness หรือ ภาวะป่วยจากการเคลื่อนไหว บางครั้งถูกเรียกว่า อาการเมารถ เมาเรือ เมาเครื่องบิน รวมไปถึงบางคนอาจมีอาการเวลาเล่นวิดีโอเกมโดยเฉพาะแนว FPS หรือเกมมุมมองบุคคลที่หนึ่ง ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการกระสับกระส่าย เวียดหัว คลื่นไส้ อาเจียน สามารถพบได้ในคนทุกวัย
อาการ Motion Sickness สาเหตุเกิดจากอะไร?
เกิดจากความไม่สอดคล้องกันของการเคลื่อนไหวที่ได้จากการมองเห็น การรับรู้ผ่านระบบการเคลื่อนไหว โดยปกติร่างกายคนเราสามารถรักษาความสมดุลได้จากอวัยวะต่าง ๆ เช่น ดวงตา หูชั้นใน ฝ่าเท้า ทุกอย่างรับรู้และสัมพันธ์กัน แต่เมื่อเกิดความไม่สอดคล้อง เช่น นั่งรถยนต์ที่เหวี่ยงนาน เรือโคลงเคลงไปมา เล่นเครื่องเล่น มองจอที่ผ่านหมุนไปอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดอาการขึ้นได้
คลายข้อสงสัยเล่นเกมส์ก็มีโอกาสเกิด Motion Sickness ได้
Motion Sickness เกิดกับเวลาเล่นเกมได้อย่างไร? เพราะการนั่งบนรถยนต์กับการนั่งเล่นเกมนั้นมันไม่ได้ดูคล้ายกันเลย
แต่มีคำอธิบาย หากให้เข้าใจง่ายๆ มันก็มีส่วนคล้ายๆกันอยู่ นึกภาพว่าเก้าอี้ที่เรานั่งคือเบาะรถยนต์ หน้าจอคอมพิวเตอร์ก็คือด้านหน้ารถยนต์ ภาพด้านหน้าเราเคลื่อนที่ไปเรื่อยๆ ในขณะที่ตัวเราไม่ได้ขยับ เมื่อการมองเห็นและการรับรู้ทำงานไม่สอดคล้องกันก็ทำให้เราเกิดอาการแบบนั้นนั่นเอง
อาการ Motion Sickness
อาการเมารถ เมาเรือ เมาเครื่องบิน หรือแม้กระทั้งเวลาเล่นวิดีโอเกมส์ มักเกิดขึ้นอย่างฉับพลัน อาการแตกต่างไปแต่ละบุคคล เช่น
- รู้สึกปวดหัว
- คลื่นไส้
- อาเจียน
- ผิวซีด
- เบื่ออาหาร
- มีอาการหายใจตื้น
- รู้สึกสูญเสียการควบคุม การรักษาสมดุล
วิธีป้องกัน Motion Sickness
กรณีนั่งยานพาหนะลองทำตามวิธีดังนี้
- นั่งบริเวณด้านหน้าของรถยนต์
- หากนั่งเครื่องบินหรือรถไฟ ให้นั่งริมหน้าต่าง
- หลีกเลี่ยงการเล่นมือถือหรืออ่านหนังสือขณะเดินทาง
- พักผ่อนให้เพียงพอก่อนเดินทาง
- รับประทานยาแก้เมารถก่อนออกเดินทางประมาณ 30 นาที
อยากเล่นเกมแต่มีอาการ Motion Sickness ทำอย่างไรดี
- เริ่มจากลองเล่นเกมในระยะเวลาสั้นๆ เมื่อมีอาการก็ให้พักและหยุดเล่นก่อน
- อย่านั่งเล่นใกล้จอมากเกินไป
- ในห้องที่เราเล่นเกมนั้นควรมีแสงสว่างให้เพียงพอ
- ทำให้ร่างกายได้มีการสัมผัส เช่น ให้มีลมพัดโดนตัว ดื่มน้ำเย็น เป็นต้น
สรุป Motion Sickness หรืออาการเมารถ เมาเรือ จนไปถึงเล่นเกมส์ นั้นเกิดจากความไม่สอดคล้องกันของการเคลื่อนไหวที่ได้จากการมองเห็น มักเกิดขึ้นแบบฉับพลัน แต่สามารถป้องกันได้ ส่วนใครที่มีอาการมากหรือรู้สึกกระทบต่อชีวิตประจำวัน แนะนำให้ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญต่อไป
ติดตามเนื้อหาดีๆแบบนี้ได้ที่
Facebook : https://www.facebook.com/innnews.co.th
Twitter : https://twitter.com/innnews
Youtube : https://www.youtube.com/c/INNNEWS_INN
TikTok : https://www.tiktok.com/@inn_news
LINE Official Account : @innnews
ขอขอบคุณข้อมูลอ้างอิง