Home
|
ไลฟ์สไตล์

รวมเรื่องที่ควรรู้และผลข้างเคียงของการฝังยาคุมกำเนิด

Featured Image

          ในปัจจุบันมีวิธีการคุมกำเนิดอยู่หลายวิธี เช่นกินยาคุมกำเนิด ฉีดยาคุมกำเนิด ใส่ห่วงคุมกำเนิด แปะแผ่นยาคุมกำเนิด ใส่ถุงยางอนามัย การนับวัน การหลั่งภายนอก และการฝังยาคุมกำเนิด การคุมกำเนิดด้วยวิธีนี้เป็นหนึ่งในวิธีการคุมกำเนิดแบบชั่วคราวที่มีประสิทธิภาพสูงที่สุด และยังสามารถป้องกันการตั้งครรภ์ได้เป็นระยะเวลานาน เมื่อเทียบกับการคุมกำเนิดด้วยวิธีอื่น ๆ 

         ส่วนประเภทของการคุมกำเนิดก็มี 2 ประเภทหลักๆ คือ การคุมกำเนิดแบบถาวร และการคุมกำเนิดแบบชั่วคราว โดยการคุมกำเนิดแบบถาวร ก็คือการทำหมัน ส่วนการคุมกำเนิดแบบชั่วคราว แบ่งออกได้เป็นแบบใช้ฮอร์โมน กับแบบไม่ใช้ฮอร์โมน ซึ่งแต่ละวิธีนั้นก็ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมแต่ละบุคคลและความต้องการในการมีบุตร

การฝังยาคุมกำเนิดคืออะไร?

ยาฝังคุมกำเนิด (Contraceptive Implant) คือ วิธีคุมกำเนิดแบบชั่วคราวที่มีประสิทธิภาพสูง

          มีลักษณะเป็นแท่งขนาดเล็กที่ยืดหยุ่นได้ ซึ่งจะใช้สอดเข้าไปใต้ผิวหนังบริเวณต้นแขน โดยจะปล่อยฮอร์โมนสังเคราะห์ที่เรียกว่าโปรเจสติน ซึ่งป้องกันการตั้งครรภ์โดยการยับยั้งการตกไข่ การคุมกำเนิดแบบฝังช่วยให้สามารถคุมกำเนิดได้ยาวนานถึง 3-5 ปี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแต่ละผลิตภัณฑ์ โดยยาฝังคุมกำเนิดมีประสิทธิภาพในการป้องกันการตั้งครรภ์สูงมาก มีโอกาสที่ทำให้เกิดการตั้งครรภ์ไม่เกิน 0.05-0.1%

ข้อควรรู้เกี่ยวกับการฝังยาคุมกำเนิด

          ยาคุมกำเนิดชนิดฝังนั้น โดยทั่วไป จะสามารถใช้ได้กับผู้หญิงทุกคน โดยการฝังยาคุมกำเนิดอาจเหมาะกับ ผู้ที่ต้องการคุมกำเนิดด้วยวิธีที่มีประสิทธิภาพสูง ในระยะเวลา 3 ปีขึ้นไป ผู้ที่ต้องการความสะดวก ไม่ต้องรับประทานยาคุมกำเนิดบ่อยๆ ในการเตรียมตัวก่อนฝังยาคุมกำเนิดนั้น ควรศึกษาข้อมูลโดยละเอียดพร้อมทั้งปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ โดยสามารถเข้ารับบริการที่แผนกสูตินรีเวชตามโรงพยาบาลทั่วไปได้

ข้อควรระวังของการฝังยาคุมกำเนิด

การฝังยาคุมกำเนิด สิ่งสำคัญคือต้องพิจารณาข้อควรระวังต่อไปนี้

  • ปรึกษากับบุคลากรทางการแพทย์ที่เชี่ยวชาญ ก่อนเข้ารับการฝังยาคุมกำเนิด สิ่งสำคัญคือต้องปรึกษากับบุคลากรทางการแพทย์ที่สามารถประเมินประวัติทางการแพทย์ของคุณ ให้ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง และจัดการกับข้อกังวลใดๆ ที่คุณอาจมี
  • ทำความเข้าใจข้อดีและข้อเสีย ทำความคุ้นเคยกับประโยชน์และผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นจากการฝังยาคุมกำเนิด ข้อมูลนี้จะช่วยคุณในการตัดสินใจโดยอิงตามสถานการณ์และความชอบส่วนตัวของคุณ
  • ศึกษาความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น พูดคุยกับผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพของคุณเกี่ยวกับเงื่อนไขทางการแพทย์หรือยาที่คุณกำลังใช้อยู่ ยาหรือสภาวะสุขภาพบางอย่างอาจขัดขวางประสิทธิภาพของยาฝังคุมกำเนิด
  • คำนึงถึงระยะยาว โดยทั่วไป ยาฝังคุมกำเนิดจะได้ผลเป็นเวลาสามถึงห้าปี ตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณพร้อมสำหรับความมุ่งมั่นระยะยาวในการใช้รูปแบบการคุมกำเนิดนี้
  • ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น แม้ว่าโดยทั่วไปแล้วยาฝังคุมกำเนิดจะปลอดภัย แต่อาจทำให้เกิดผลข้างเคียงบางอย่าง เช่น เลือดออกผิดปกติ ประจำเดือนเปลี่ยน ปวดศีรษะ หรืออารมณ์แปรปรวน หารือเกี่ยวกับผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นเหล่านี้กับผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพของคุณ
  • ตรวจสุขภาพเป็นประจำ สิ่งสำคัญคือต้องนัดตรวจสุขภาพเป็นประจำกับผู้ให้บริการด้านสุขภาพเพื่อให้แน่ใจว่ายาฝังคุมกำเนิดอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมและทำงานได้ตามที่ตั้งใจไว้
  • ระวังภาวะแทรกซ้อน แม้ว่าจะพบได้ยาก แต่อาจเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น การติดเชื้อ การขับออก หรือการเคลื่อนตัวของรากฟันเทียมได้ หากคุณรู้สึกเจ็บปวดอย่างรุนแรง บวม หรืออาการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ให้ไปพบแพทย์ทันที

ผลข้างเคียงของการฝังยาคุมกำเนิด

          ผลข้างเคียงที่พบบ่อยที่สุดของการฝังยาคุมกำเนิดคือเลือดออกผิดปกติ ซึ่งอาจรวมถึงการเป็นประจำเดือนที่นานขึ้น ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอหรือไม่มีประจำเดือนเลย แม้ว่าโดยทั่วไปแล้วการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้จะไม่เป็นอันตราย แต่ก็สามารถสร้างความรำคาญให้กับบางคนได้ นอกจากนี้บางคนอาจปวดศีรษะ อารมณ์เปลี่ยนแปลง เป็นสิว หรือน้ำหนักขึ้น มีอาการปวดหรือเจ็บบริเวณเต้านม บางรายอาจทำให้เกิดภาวะลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำ สำหรับคนที่ฝังยาคุมกำเนิดแล้วหากเกิดการตั้งครรภ์ขึ้น จะมีโอกาสการตั้งครรภ์นอกมดลูกได้มากกว่าปกติ

ข้อดีของการฝังยาคุมกำเนิด

  • ประสิทธิภาพสูง ป้องกันการตั้งครรภ์ได้ 3-5 ปี ขึ้นอยู่กับชนิดของตัวยา
  • อัตราความล้มเหลวในการป้องกันการตั้งครรภ์ต่ำ ไม่เกิน 0.1%
  • สะดวกกว่าการนับวันตกไข่ กินยาคุมกำเนิด หรือฉีดยาคุมกำเนิด
  • ประหยัดค่าใช้จ่ายระยะยาว เมื่อเทียบกับระยะเวลาคุมกำเนิด
  • ไม่มีฮอร์โมนในกลุ่มเอสโตเจน จึงปลอดจากภาวะไม่พึงประสงค์ของเอสโตรเจน ความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดหัวใจและสมอง
  • ภาวะลิ่มเลือดอุดตันหลอดเลือดดำ และใช้ได้ในผู้ที่ไม่สามารถใช้ยาที่มีเอสโตรเจน
  • ประหยัดค่าใช้จ่ายระยะยาว เมื่อเทียบกับระยะเวลาคุมกำเนิด

ข้อเสียของการฝังยาคุมกำเนิด

  • ไม่สามารถเริ่มใช้หรือหยุดใช้ด้วยตนเอง การฝังแท่งยาและการนำแท่งยาออก ต้องทำโดยบุคลากรทางการแพทย์
  • อาจเกิดผลไม่พึงประสงค์ เช่น ประจำเดือนมาไม่ปกติ, ปวดศีรษะ, เวียนศีรษะ, เจ็บคัดเต้านม, คลื่นไส้, ปวดท้อง, อารมณ์แปรปรวน, ซึมเศร้า, รบกวนความรู้สึกทางเพศ, ช่องคลอดอักเสบและแห้ง, เกิดสิว ฝ้า, บวมน้ำ, น้ำหนักตัวเพิ่ม
  • หากฝังไม่ถูกวิธี อาจเกิดอันตรายต่อหลอดเลือดและเส้นประสาท
  • หากฝังยาลึกเกินไป อาจเกิดการเคลื่อนที่ผิดตำแหน่ง กระทบการออกฤทธิ์ของยา และเกิดอันตรายจากแท่งยาได้
  • อาจเกิดอาการข้างเคียง เช่น เจ็บ, บวม, ช้ำ, ระคายเคือง, ติดเชื้อ, ผิวหนังฝ่อ และเกิดพังผืดรอบแท่งยา
  • ไม่สามารถป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ต่างจากการใช้ถุงยางอนามัย

          ส่วนใครที่ต้องการฝังยาคุมสามารถไปรับบริการได้ที่โรงพยาบาลรัฐบาลทุกแห่ง เลือกได้ทั้งแบบ 3 ปี หรือ 5 ปี สามารถฝังยาคุมฟรีถึงก่อนอายุ 20 ปีบริบูรณ์ ส่วนใครที่อายุเกินแล้ว ก็ยังสามารถไปฝังในราคาที่ถูกได้ โดยไปที่สถานพยาบาลตามสิทธิการรักษาของตัวเอง สิทธิประกันสุขภาพ สิทธิประกันสังคมได้เลย

         สรุปแล้ว การฝังยาคุมกำเนิดอีกหนึ่งสิ่งสำคัญคือต้องตระหนักถึงผลข้างเคียงและความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น ควรหาข้อมูล ในการเตรียมตัวก่อนฝังยาคุมกำเนิด ควรศึกษาข้อมูลโดยละเอียดพร้อมทั้งปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ โดยสามารถเข้ารับบริการที่แผนกสูตินรีเวชตามโรงพยาบาลทั่วไปได้ ทั้งนี้ทั้งนั้นการฝังยาคุมกำเนิดเป็นวิธีการคุมที่มีประสิทธิภาพสูงที่สุดก็จริง แต่การฝังยาคุมกำเนิดไม่ได้ป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ฉะนั้นการมีเพศสัมพันธ์กันไม่ใช่เรื่องที่ผิด แต่ต้องรู้จักป้องกัน เพราะมีความเสี่ยงมากๆทั้งทางโรคติดต่อ และท้องไม่พร้อม

ขอขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจาก

รศ.ดร. เภสัชกรหญิง นงลักษณ์ สุขวาณิชย์ศิลป์ หน่วยคลังข้อมูลยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, ยาคุมกำเนิดชนิดฝัง

โรงพยบาลพีเอ็มจี

กรมอนามัย

 

ติดตามเนื้อหาดีๆแบบนี้ได้ที่

 

Facebook : https://www.facebook.com/innnews.co.th

Twitter : https://twitter.com/innnews

Youtube : https://www.youtube.com/c/INNNEWS_INN

TikTok : https://www.tiktok.com/@inn_news

LINE Official Account : @innnews

  • Tiktok
  • Youtube
  • Youtube