วันที่ 16 กันยายนของทุกปี เป็นวันโอโซนโลก (World Ozone Day)โดยองค์การสหประชาชาติกำหนดขึ้น เพื่อให้ผู้คนทั่วโลกได้ตระหนักและให้ความสำคัญกับชั้นโอโซนของโลก หลังจากที่พบว่าชั้นบรรยากาศโอโซนของโลกลดลง และปัญหาโลกร้อนทวีความรุนแรงมากขึ้น จึงจำเป็นต้องกำหนด “วันโอโซนโลก” เพื่อให้ทุกฝ่ายได้ตระหนักถึงปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมร่วมกัน วันนี้ก็อยากชวนทุกคนมาเห็นความสำคัญ พร้อมเกร็ดความรู้สั้นๆ กัน
โอโซนคืออะไร?
โอโซน (Ozone) คือ การรวมตัวกันของออกซิเจน 3 อะตอม อาจเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ หรือเกิดจากมนุษย์สร้างขึ้น โอโซนเป็นกลุ่มก๊าซที่พบมากในชั้นบรรยากาศของโลก
หน้าที่หลักๆ ของโอโซน
ประโยชน์ของโอโซน ถ้าพูดให้เห็นภาพง่ายที่สุด มันคือเกราะป้องกันของโลกจากรังสีที่เป็นอันตราย โอโซนมีหน้าที่ช่วยกรองรังสีต่างๆจากดวงอาทิตย์ไม่ให้เข้าสู่โลก ทำให้ไม่เกิดอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต เช่น รังสีอัลตราไวโอเลต
เมื่อโอโซนหายไป รังสีที่เป็นอันตรายก็จะส่งผลต่อทั้งสิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิต เช่น มนุษย์เราก็เสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งผิวหนัง ต้อกระจกมากขึ้น โลกเราก็จะร้อนขึ้น ทำให้น้ำแข็งละลายเร็วขึ้น ส่งผลต่อการเกิดน้ำท่วมโลก การพังทลายของระบบได้
อะไรที่ทำลายโอโซน
มีหลายปัจจัยที่ทำลายชั้นโอโซน เช่น สารเคมีที่เราใช้ๆ กัน คลอรีน ฟลูออรีน สารซีเอฟซี (สารทำความเย็นในระบบปรับอากาศ) สารดับเพลิง สารที่ใช้ทำความสะอาดชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ นอกจากนี้ยังมีปัจจัยธรรมชาติ เช่น การเกิดกระแสลมคลอรีน ทำให้เกิดช่องโหว่ในชั้นโอโซนได้
จากที่กล่าวมาจะเห็นว่าโอโซนนั้นสำคัญมากๆต่อโลกใบนี้ แต่เนื่องจากในช่วงที่ผ่านมาอุตสาหกรรมจำนวนมากได้ทำให้ก๊าซโอโซนถูกทำลาย และไม่มีท่าทีว่าจะดีขึ้น หลายประเทศทั่วโลกเลยรวมตัวกันจัดทำ “อนุสัญญาเวียนนาและพิธีสารว่าด้วย การเลิกใช้สารทําลายชั้นโอโซน” ขึ้น ในวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2530 เพื่อป้องกันชั้นบรรยากาศโอโซน และทางองค์การสหประชาชาติ จึงได้ประกาศให้วันที่ 16 กันยายน ของทุกปีเป็นวันโอโซนโลกนั่นเอง
ติดตามเนื้อหาดีๆแบบนี้ได้ที่
Facebook : https://www.facebook.com/innnews.co.th
Twitter : https://twitter.com/innnews
Youtube : https://www.youtube.com/c/INNNEWS_INN
TikTok : https://www.tiktok.com/@inn_news
LINE Official Account : @innnews