Home
|
ไลฟ์สไตล์

เขาว่าสายตามันหลอกกันไม่ได้ จริงหรือแค่ความเชื่อ?

Featured Image

“เขาว่าสายตามันหลอกกันไม่ได้ เขาพูดกันว่าสายตามันเป็นสิ่งเดียวที่พูดแทนหัวใจ”

          ท่อนน่ารักจากเพลง สายตาหลอกกันไม่ได้ ของนักร้องสุดคิ้วท์ อิ้งค์ วรันธร ชวนเราตั้งคำถามว่าสายตาโกหกกันไม่ได้จริงหรือเปล่า? วันนี้เรามาหาคำตอบไปพร้อมกัน!

เหลือบซ้ายนึก เหลือบขวากำลังโกหก จริงไหม?

          หนึ่งในทฤษฎีที่เคยได้รับความนิยมคือการบอกว่า หากใครเหลือบตามองไปทางซ้าย แปลว่าเขากำลังนึกถึงความจริง แต่ถ้าเหลือบตามองขวา อาจหมายถึงเขากำลังแต่งเรื่องหรือโกหก! ทฤษฎีนี้ถึงขั้นมีข่าวลือว่า FBI ใช้กันเลยทีเดียว

          แต่…ผลการศึกษาในปัจจุบันกลับหักล้างทฤษฎีนี้ นักวิจัยด้าน Neuro-Linguistic Programming (NLP) และนักจิตวิทยาหลายคนได้ทดลองซ้ำๆ และพบว่า การเคลื่อนไหวของดวงตาไม่ได้สัมพันธ์กับความจริงหรือการโกหกแต่อย่างใด

แม้ทฤษฎีจะผิด แต่สายตายังคงสื่อความรักได้เสมอ

         แม้ดวงตาอาจไม่ได้บอกว่าใครโกหกหรือพูดจริง แต่ในเรื่องของความรักและความรู้สึก ดวงตายังคงเป็นหน้าต่างของหัวใจ เช่น อาการหลบสายตาเวลามองคนที่ชอบ บ่งบอกถึงความเขินและความจริงใจ…นี่แหละที่สายตาหลอกกันไม่ได้จริงๆ

นอกจากนี้ยังมีการศึกษาที่น่าสนใจเกี่ยวกับสายตา เช่น

  • การจ้องตา ช่วยให้จดจำบทสนทนาได้ดีขึ้น
  • การสบตา กระตุ้นการหลั่งฮอร์โมน Oxytocin ที่ช่วยสร้างความรู้สึกผูกพันและรักมากขึ้น

4 พลังของการจ้องตา

  1. การสบตาทำให้เกิดความตื่นตัว
    การจ้องตากระตุ้นอารมณ์ได้ หากมองด้วยสายตาที่แปลก อาจรู้สึกถูกคุกคาม แต่ถ้ามองจากคนใกล้ชิดหรือแฟน จะช่วยเพิ่มความตื่นตัวในทางที่ดี
  2. ดวงตาช่วยบอกว่ามีความสุขจริงไหม
    รอยยิ้มที่มาจากความสุขจริงมักมาพร้อมกับ “ตายิ้ม” หรือตีนกาเล็กๆ ที่บ่งบอกความจริงใจ
  3. ดวงตาบอกถึงความสนใจ
    เมื่อสนใจอะไรจริงๆ หรือสนใจคนตรงหน้า รูม่านตาจะขยายออกโดยอัตโนมัติ
  4. การจ้องตากันสื่อถึงความรัก
    การจ้องตาช่วยกระตุ้นสาร Oxytocin และสื่อถึงความรู้สึกรักได้อย่างชัดเจน

สายตา…โกหกความรู้สึกไม่ได้

           แม้ทฤษฎีเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของสายตาจะไม่จริง แต่ในความสัมพันธ์ ความรู้สึกที่แฝงอยู่ในสายตานั้นโกหกกันไม่ได้จริงๆ ถ้าอยากหลอกใครก็แล้วแต่ แต่ขอร้อง…อย่าหลอกฉันเลยนะ! แฮร่!

ติดตาม iNN • ไม่พลาดทุกกระแสอินเทรนด์

อย่าลืมกดถูกใจและติดตาม iNN ได้ในทุกช่องทาง เพื่อไม่พลาดทุกเรื่องน่าสนใจและบทความดีๆ แบบนี้!

ขอขอบคุณข้อมูล 

wellbeing
psychologytoday
ncbi

  • Tiktok
  • Youtube
  • Youtube