Home
|
ไลฟ์สไตล์

เช็กปัจจัยเสี่ยงของภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบ พร้อมวิธีรักษาและป้องกัน

Featured Image

สาว ๆ หลายคนอาจเคยมีอาการปวดท้องน้อย มีตกขาวผิดปกติ หรือรู้สึกเจ็บลึก ๆ ขณะมีเพศสัมพันธ์ อาการเหล่านี้อาจเป็นสัญญาณเตือนของภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบ ซึ่งเป็นภาวะที่ไม่ควรละเลย เพราะหากปล่อยไว้นานอาจส่งผลกระทบต่อระบบสืบพันธุ์และความสามารถในการมีบุตรได้ในอนาคต การรู้จักสังเกตอาการและเข้าใจถึงปัจจัยเสี่ยงจะช่วยให้คุณดูแลสุขภาพได้อย่างทันท่วงที

 เช็กลิสต์! อาการอุ้งเชิงกรานอักเสบ

ภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบ (Pelvic Inflammatory Disease : PID) คือการอักเสบของอวัยวะสืบพันธุ์ส่วนบน ได้แก่ มดลูก ท่อนำไข่ รังไข่ และเนื้อเยื่อในอุ้งเชิงกราน สาเหตุหลักมาจากการติดเชื้อแบคทีเรีย โดยเฉพาะเชื้อคลาไมเดียและเชื้อหนองใน ซึ่งสามารถแพร่กระจายจากช่องคลอดผ่านปากมดลูกขึ้นไปยังอวัยวะภายใน

อาการที่ควรสังเกตมีดังนี้

  • ปวดท้องน้อยหรือปวดอุ้งเชิงกราน ซึ่งอาจมีอาการตั้งแต่เล็กน้อยไปจนถึงรุนแรง
  • มีตกขาวผิดปกติ มีกลิ่นเหม็น และอาจมีสีเหลืองคล้ายหนอง
  • มีเลือดออกผิดปกติระหว่างรอบเดือน
  • เจ็บหรือแสบขณะปัสสาวะ
  • มีไข้ หนาวสั่น และอ่อนเพลีย
  • เจ็บปวดขณะมีเพศสัมพันธ์

 ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบ

การทำความเข้าใจถึงปัจจัยเสี่ยงจะช่วยให้คุณระมัดระวังและป้องกันการเกิดภาวะนี้ได้ดียิ่งขึ้น

 1. การมีคู่นอนหลายคน

จากการศึกษาพบว่า ผู้หญิงที่มีคู่นอนตั้งแต่ 4 คนขึ้นไปในช่วง 6 เดือน มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบสูงกว่าคนทั่วไปถึง 3.4 เท่า นอกจากนี้ การมีเพศสัมพันธ์บ่อยกว่า 6 ครั้งต่อสัปดาห์ก็เพิ่มความเสี่ยงได้ถึง 3.2 เท่า สิ่งสำคัญคือ แม้คุณจะมีคู่นอนเพียงคนเดียว แต่หากคู่นอนของคุณมีพฤติกรรมเสี่ยง ก็อาจนำเชื้อมาสู่คุณได้

 2. มีอายุ 15 – 25 ปี

ช่วงอายุนี้เป็นกลุ่มที่พบภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบได้บ่อยที่สุด โดยเฉพาะผู้ที่เริ่มมีอาการตั้งแต่อายุน้อยกว่า 15 ปี มีโอกาสเกิดการติดเชื้อซ้ำได้สูงถึง 54% และในกลุ่มอายุ 15-19 ปี มีโอกาสติดเชื้อซ้ำ 30% สาเหตุอาจเนื่องมาจากพฤติกรรมทางเพศที่เสี่ยง และภูมิคุ้มกันที่ยังไม่แข็งแรงเท่าผู้ใหญ่

3. เคยเป็นอุ้งเชิงกรานอักเสบมาก่อน

ผู้ที่เคยมีประวัติเป็นอุ้งเชิงกรานอักเสบมาก่อน มีโอกาสกลับมาเป็นซ้ำได้สูงถึง 1 ใน 4 ของผู้ป่วยทั้งหมด การดูแลตัวเองอย่างเคร่งครัดและการรักษาอย่างต่อเนื่องจึงมีความสำคัญอย่างมาก เพื่อป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำ

 4. ใส่ห่วงคุมกำเนิด

การใส่ห่วงคุมกำเนิดอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบได้ โดยเฉพาะในช่วง 3 สัปดาห์แรกหลังการใส่ อย่างไรก็ตาม หากเกิดการติดเชื้อ แพทย์สามารถให้การรักษาด้วยยาปฏิชีวนะได้โดยไม่จำเป็นต้องถอดห่วงออก

 จะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบ

การตรวจวินิจฉัยภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบนั้น จะต้องใช้หลายวิธีร่วมกัน โดยเริ่มจากการตรวจภายใน (Pelvic Exam) ร่วมกับตรวจอัลตราซาวด์ช่องคลอด (Transvaginal Ultrasound) เพื่อหาความผิดปกติของอวัยวะภายในอุ้งเชิงกรานเพศหญิง รวมถึงช่องคลอด ปากมดลูก ท่อนำไข่ รังไข่ กระเพาะปัสสาวะ และทวารหนักก่อน

หลังจากนั้น คุณหมออาจแนะนำให้ตรวจคัดกรองโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (STD) เพิ่มเติม เนื่องจากหนึ่งในสาเหตุหลักของอุ้งเชิงกรานอักเสบ คือการติดเชื้อ Gonococcal หรือ Chlamydial urethritis ผ่านคู่นอน รวมถึงตรวจเลือดหาค่าการอักเสบ ตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (Complete Blood Count : CBC) และตรวจปริมาณแอนติบอดีในเลือด (Serology Test) ด้วย

 วิธีรักษาอุ้งเชิงกรานอักเสบ

การรักษาภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบจะต้องทำภายใต้การดูแลโดยสูตินรีแพทย์เท่านั้น ไม่ควรซื้อยามารับประทานด้วยตนเอง โดยจะมีหลายวิธี ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการ เช่น

  • การใช้ยาปฏิชีวนะ : เป็นการรักษาหลักที่สำคัญ โดยแพทย์จะเลือกยาให้เหมาะสมกับเชื้อที่เป็นสาเหตุ ต้องรับประทานยาให้ครบตามที่แพทย์สั่ง แม้อาการจะดีขึ้นแล้วก็ตาม
  • การรักษาในโรงพยาบาล : จำเป็นสำหรับผู้ที่มีอาการรุนแรง มีไข้สูง หรือมีภาวะแทรกซ้อน โดยจะได้รับยาปฏิชีวนะทางหลอดเลือดดำ
  • การผ่าตัด : ในกรณีที่มีฝีหนองขนาดใหญ่ หรือการรักษาด้วยยาไม่ได้ผล อาจจำเป็นต้องรับการผ่าตัดเพื่อระบายหนอง หรือกำจัดเนื้อเยื่อที่ติดเชื้อ
  • การรักษาคู่นอน : คู่นอนควรได้รับการตรวจและรักษาด้วย เพื่อป้องกันการติดเชื้อซ้ำ

 วิธีป้องกันไม่ให้เกิดอุ้งเชิงกรานอักเสบ

การป้องกันภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบสามารถทำได้ง่าย ๆ ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและดูแลสุขภาพอย่างถูกวิธี ดังนี้

  • ใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้ง : แค่คุมกำเนิดด้วยวิธีต่าง ๆ ของฝั่งผู้หญิง เช่น กินยาคุม ฉีดยาคุมกำเนิด หรือใส่ห่วงอนามัย ไม่เพียงพอ สาว ๆ จะต้องใช้ถุงยางอนามัยด้วย ถึงจะทำให้มีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย และช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อได้
  • หลีกเลี่ยงการมีคู่นอนหลายคน : ยิ่งมีคู่นอนมาก ยิ่งเพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อ
  • ไม่สวนล้างช่องคลอด : การสวนล้างช่องคลอดทำให้เสียสมดุลของแบคทีเรียที่มีประโยชน์ในช่องคลอด และทำให้เสี่ยงติดเชื้อได้ง่ายขึ้น
  • ตรวจภายในเป็นประจำ : การตรวจสุขภาพและตรวจภายในประจำปีช่วยให้ตรวจพบความผิดปกติได้เร็ว

 ดูแลสุขภาพภายในผู้หญิงให้ดี ต้องตรวจภายในทุกปี

ภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบเป็นปัญหาสุขภาพที่สามารถป้องกันและรักษาได้ หากได้รับการดูแลอย่างถูกต้องและทันท่วงที การตรวจภายในประจำปีเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญในการดูแลสุขภาพของผู้หญิง ช่วยให้แพทย์สามารถตรวจพบความผิดปกติได้ตั้งแต่ระยะเริ่มต้น ซึ่งจะช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพและความสามารถในการมีบุตรในอนาคต นอกจากนี้ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและการมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพอนามัยเจริญพันธุ์ก็เป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยป้องกันการเกิดโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วย

สำหรับสาว ๆ คนไหนที่ยังไม่เคยตรวจภายในมาก่อน รู้สึกเขินอาย ไม่รู้จะไปตรวจภายในที่ไหนดี สามารถนัดหมายเข้ามาปรึกษาคุณหมอที่แฮปปี้เบิร์ธคลินิก (happybirth clinic) ได้เลย เพราะเป็นคลินิกสูตินรีเวชที่ดูแลโดยคุณหมอผู้หญิงและเจ้าหน้าที่ผู้หญิงทุกคน มีความเป็นส่วนตัวมาก ๆ รับรองว่าคุณจะได้รับการดูแลที่สบายใจมากที่สุดอย่างแน่นอน!

เปิดให้บริการทุกวันเวลา 12.00-20.00 น. สามารถติดต่อนัดหมายได้เลยที่ 081-442-9355 หรือ Facebook Page: คลินิกสูตินรีเวชแฮปปี้เบิร์ธ – happybirth กับหมอชะเอม (แฮปปี้เบิร์ธคลินิก) ได้เลย โดยจะมีอยู่ 3 สาขาด้วยกัน ได้แก่ 

แฮปปี้เบิร์ธคลินิก สาขารามคำแหง 26/1
  • ที่ตั้ง :เลขที่ 72 ซอยรามคำแหง 26/1 หัวหมาก เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร 10240

แฮปปี้เบิร์ธคลินิก สาขาลาดกระบัง 54
  • ที่ตั้ง : เลขที่ 2500 ถนนลาดกระบัง 54 แขวงลาดกระบัง เขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร 10520
แฮปปี้เบิร์ธคลินิก สาขาบ้านก้ามปู อโศก
  • ที่ตั้ง : เลขที่ 68 ถนนสุขุมวิท 21 แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร 10110

สาว ๆ สามารถเลือกเข้าไปใช้บริการสาขาที่ใกล้บ้านและเดินทางสะดวกได้เลย คุณหมอของแฮปปี้เบิร์ธคลินิกพร้อมให้การดูแลด้วยความใส่ใจ รับรองว่าไม่ผิดหวังอย่างแน่นอน!

  • Tiktok
  • Youtube
  • Youtube