ชัชชาติ นํา ผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมโยธา แถลงเหตุแผ่นดินไหว ยันไม่กระทบต่อ กทม. หากก่อสร้างถูกต้องตามหลักวิศวะกรรม
วันนี้ (19 มิ.ย. 66) นายชัชชาติ สิทธิพันธ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พร้อมด้วยนายวิศณุ ทรัพย์สมพล น.ส.ทวิดา กมลเวชช รองผู้ว่าฯ และ นายฉัตรพันธ์ จินตนาภักดี ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นายอมรเทพ จิรศักดิ์จํารูญศรี ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ร่วมกันแถลงข่าวสถานการณ์แผ่นดินไหวเมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมา โดยจุดศูนย์กลางเกิดขึ้นที่บริเวณนอกชายฝั่งทางตอนใต้ของประเทศเมียนมา ห่างจากทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของ อ.พบพระ จ.ตาก ประมาณ 289 กม. ส่งผลให้ผู้อยู่อาศัยบนตึกสูงในพื้นที่กรุงเทพและปริมณฑล รับรู้ได้ถึงแรงสั่นสะเทือนในหลายพื้นที่
นายชัชชาติ กล่าวว้า จุดศูนย์กลางแผ่นดินไหวนั้นอยู่ห่างพื้นที่กรุงเทพมหานครอยู่ประมาน 500 กิโลเมตร เบื้องต้นทราบว่าส่งผลกระทบ 11 เขต ทั่วกรุงเทพฯ ส่วนใหญ่เป็นเขตที่มีอาคารสูง อย่างไรก็ตาามไม่มีรายงานความเสียหายหรืออาฟเตอร์ช็อกตามมา
ด้านนายวิศนุ กล่าวว่า อาคารแต่ละอาคารมีความสูงที่แตกต่างกัน ซึ่งทาง กทม. มีการติดเครื่องมืดวัดแรงสั่นสะเทือนไว้ที่อาคารธานีนพรัตน์ ชั้น 36 และอาคารภาควิชาวิศวกรรมโยธา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชั้น 6 โดยเครื่องมือที่ติดนั้นวัดเป็นหน่วย milli-g ซึ่งปกติคนสามารถรับได้อยู่ที่ 1 milli-g และขึ้นอยู่กับประเภทและความสูงของอาคารนั้นๆด้วย
ซึ่งขณะเกิดแผ่นดินไหววันนี้ ที่อาคารธานีนพรัตน์ วัดได้อยู่ที่ 3.5 milli-g ส่วนอาคารภาควิชาวิศวกรรมโยธาฯ วัดได้อยู่ที่ 1.5 milli-g ซึ่งทั้ง 2 อาคารอยู่ในระดับที่คนเราสามารถรับรู้แรงสั่นสะเทือนได้ แต่ค่าความสั่นสะเทือนที่ออกแบบไว้ตามมาตรฐานก่อนหน้านี้ส่วนฐานรับได้อยู่ที่ 50 milli-g ส่วนยอดรับได้อยู่ที่ 150 milli-g ซึ่งจะเห็นได้ว่าตามมาตรฐานแล้วสามารถรับได้สําหรับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นวันนี้
นายฉัตรพันธ์ ระบุว่า แผ่นดินไหววันนี้อยู่ที่ 6.0 ริกเตอร์ ซึ่งไม่พบความเสียหายเพราะอยู่ไกล และระดับความรุนแรงที่เกิดขึ้นนั้นอาคารสูงในพื้นที่ กทม. สามารถต้านทานได้ไม่มีปัญหา และไม่น่าห่วง แต่ประชาชนบางรายอาจเห็นโคมไฟ แกว่งจึงตกใจ ซึ่งตนขอให้มั่นใจว่าไม่เป็นผลกระทบ เพราะการที่ตึกหรืออาคารจะถล่มได้นั้นแค่กําแพงราวก็ไม่ได้หมายความว่าจะถล่ม มันต้องราวลึกเข้าไปชั้นในเช่นนั้นจึงจะเสี่ยงต่อการถล่มได้
โดยทั่วไปอาคารมีหลายประเภท หากก่อสร้างถูกต้องคามโครงสร้างหรือหลักของวิศวกรรมก็ไม่มีปัญหา ส่วนรอยราวที่อาจกระทบต่อ กทม. คือใน จ.กาญจนบุรี ซึ่งรับได้ 7.5 ริกเตอร์ สําหรับรถไฟฟ้าหรือทางด่วนต่างๆ แน่นอนว่ามีการออกแบบเพื่อรองรับเหตุแผ่นดินไหวอยู่แล้วจึงไม่น่าห่วง
นายอมรเทพ ยืนยันด้วยว่าเหตุการณ์วันนี้ไม่น่าเป็นห่วง อนาคตจะมีการติดตั้งเครื่องวัดแผ่นดินไหวเพิ่มตามอาคารสูง เพื่อดูว่าแต่ละอาคารมีระดับความรุนแรงขนาดไหนและส่งผลกระทบอย่างไรบ้าง ซึ่งจะได้แจ้งไปยังผู้ที่ใช้อาคารนั้นๆได้น.ส.ทวิดา กล่าวเพิ่มว่า อนาคต กทม. จะเชื่อมระบบไลน์อเลิทเข้ากับกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยอีกส่วนคือการให้ความรู้และฝึกซ้อมอพยพ ว่าหากเกิดแผ่นดินไหวควนปฏิบัติตนอย่างไร
ทั้งนายชัชชาติ ระบุว่า จุดที่ควรปรับปรุงคือความดีเลย์ของ กทม. ต้องอาศัยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องช่วย ซึ่งจะมอบให้รองทวิดา ดูแลเรื่องนี้รวมถึงการฝึกซ้อมอพยบเหตุแผ่นดินไหว ส่วนประเด็นการตั้งของอาคารอยู่บนดินเหนียวหรืออ่อนนั้นไม่น่ามีปัญหา เว้นแต่อาคารที่ลักลอบก่อสร้างผิดมาตฐาน ทั้งนี้อาคารทั่วไปสามารถรับแรงดินไหวได้หากทําตามมาตรฐาน
ติดตามเนื้อหาดีๆแบบนี้ได้ที่
Facebook : https://www.facebook.com/innnews.co.th
Twitter : https://twitter.com/innnews
Youtube : https://www.youtube.com/c/INNNEWS_INN
TikTok : https://www.tiktok.com/@inn_news
LINE Official Account : @innnews