Home
|
อาชญากรรม

บุกทลาย โรงงานยากันยุงเถื่อน มีสารเคมีอันตราย

Featured Image
ตํารวจสอบสวนกลาง(CIB)ร่วมอย.ทลายโรงงานผลิตยาจุดกันยุงเถอื่น และจุดกระจายสินค้า 3 จังหวัด ที่มีสารเคมีอันตราย กว่า 227,000 กล่อง มูลค่ากว่า 4,540,000 บาท

 

 

 

วันนี้ ( 22 กันยายน 2566 )ที่กองบัญชาการตํารวจสอบสวนกลาง โดย โดย พ.ต.อ.อนุวัฒน์ รักษ์เจริญ ผกก. และ พ.ต.อ.สุพจน์ พุ่มแหยม ผกก.4 บก.ปคบ. และ ภก. วีระชัย นลวชัย รองเลขาธิการ คณะกรรมการอาหารและยา ร่วมกันแถลงผลการปฏิบัติกรณีบุกทลายโรงงานผลิตยาจุดกันยุงเถื่อน และจุดกระจายสินค้า 3 จังหวัด ที่มีสารเคมีอันตราย กว่า 227,000 กล่อง มูลค่ากว่า 4,540,000 บาท

 

 

 

สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา ตรวจสอบสินค้ายาจุดกันยุงจีน ยี่ห้อ Goldeer และ Laojun (รูปเด็กอ่อน) ไม่มีฉลากภาษาไทย ไม่มีเลขผลิตภัณฑ์ วางจําหน่ายในสื่อโซเชียลและตามร้านค้าขายปลีก พบมีสารเคมีวัตถุอันตรายชนิดที่ 3 (วัตถุอันตรายที่ใช้ในครัวเรือน ชนิดที่ต้องขออนุญาตนําเข้า ผลิต และ จําหน่าย) สารเคมีกลุ่มไพรีทรอยด์ (Pyrethriods) ตามบัญชีแนบท้ายประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม พ.ศ.2556 ที่ 4.2 รายชื่อสารควบคุม เมเพอร์ฟลูทริน (Meperfluthrin) และ ไดมีฟลูทริน (Dimefluthrin)

 

 

 

ซึ่ง อย. ไม่เคย อนุญาตให้นําเข้า ผลิต หรือจําหน่ายในรูปแบบยาจุดกันยุง ที่ใช้ในบ้านเรือนเพื่อประโยชน์แก่การระงับ ป้องกัน ควบคุม ไล่ กําจัดแมลงและสัตว์ เพราะเป็นพิษต่อคนและสัตว์ หากสูดดมควันในปริมาณมาก ในพื้นที่ที่อากาศไม่ ถ่ายเทเป็นเวลานาน อาจทําให้รู้สึกมึนงง ปวดศีรษะ อาเจียน กล้ามเนื้อกระตุก อ่อนเพลีย ชัก หรือหมดสติได้

 

 

 

เจ้าหน้าที่ตํารวจ กก.4 บก.ปคบ. จึงร่วมกับ อย. ลงพื้นที่สืบสวนหาแหล่งกระจายสินค้าในพื้นที่จังหวัด ชัยนาท, อ่างทอง และสุพรรณบุรี พบและยึด อายัด ผลิตภัณฑ์ยาจุดกันยุงจีน ยี่ห้อ Goldeer และ Laojun (รูปเด็กอ่อน) รวมกว่า 14,774 กล่อง ไม่มีฉลากภาษาไทยและไม่มีเลขผลิตภัณฑ์ เบื้องต้นสอบสวนปากคํา เจ้าของร้านค้าส่งทั้ง 3 ร้าน รับว่าได้ซื้อมาจากผู้ขายชาวจีนและคนไทย ไม่ทราบชื่อสกุลจริง ไม่ระบุบริษัทนําเข้า หรือผู้ผลิต ซึ่งเชื่อว่าผลิตในประเทศไทย ในราคากล่องประมาณละ 12 บาท ราคาขายหน้าร้านกล่องละ 18 – 20 บาท จึงได้ตรวจยึดไว้เพื่อดําเนินการตรวจสอบ ตาม พ.ร.บ.วัตถุอันตราย พ.ศ. 2535

 

 

 

จากการสืบสวนขยายผลหาแหล่งผลิตพบว่า เมื่อเดือน เม.ย.66 มีโรงงานผลิตยาจุดกันยุงในพื้นที่ จังหวัดสมุทรสาครที่เคยผลิตยาจุดกันยุงยี่ห้อหนึ่ง ที่ได้รับเลขผลิตภัณฑ์ถูกต้อง แต่ผลการตรวจสอบ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์พบสารเคมีที่เป็นวัตถุอันตรายประเภท เมเพอร์ฟลูทริน (Meperfluthrin) และไดมีฟลูทริน (Dimefluthrin) ผสมอยู่ และอาจเข้าข่ายผลิตยาจุดกันยุงยี่ห้อจีนที่ตรวจยึดได้จากการลงพื้นที่ 3 จังหวัดข้างต้น

 

 

 

เจ้าหน้าที่ตํารวจ กก.4 บก.ปคบ. จึงร่วมกับ อย. กองควบคุมวัตถุอันตราย บูรณาการเข้าค้นตรวจสอบ และยึดอายัดของกลาง พบว่าขณะเข้าตรวจสอบโรงงานดังกล่าวกําลังผลิตยาจุดกันยุง ยี่ห้อ Goldeer กล่องสีฟ้า ไม่มีฉลากภาษาไทยและไม่มีเลขผลิตภัณฑ์ โดยการอบสารเคมีและบรรจุผลิตภัณฑ์ลงกล่องพร้อมจําหน่าย และมี ยาจุดกันยุงบรรจุลังกระดาษตราเสือ กล่องสีแดง ไม่มีฉลากภาษาไทยและไม่มีเลขผลิตภัณฑ์ บรรทุกใส่รถกระบะ เตรียมนําไปส่งลูกค้าอยู่ในขณะเข้าทําการตรวจค้น สอบสวนปากคํานางณัธวรรณ

 

 

 

สงวนนามสกุล ให้การว่า ได้ทําการสั่งซื้อยาจุดกันยุงชนิดขดสีดําจากประเทศจีน นําเข้ามาเพื่ออบสารเคมีที่ใช้ไล่ยุงจริง โดยสารเคมีที่ใช้ อบยาจุดกันยุงไม่ได้ขออนุญาตนําเข้าเอง และไม่ได้ขออนุญาตผลิตเพื่อจําหน่ายแต่อย่างใด จากนั้นได้นํามาบรรจุ ในกล่องผลิตภัณฑ์พร้อมจําหน่ายหลายยี่ห้อ (ใช้ขดยาจุดกันยุงสีดําชนิดเดียวกันที่ผลิตออกมาบรรจุ)

 

 

 

 

ซึ่ง พ.ต.อ.สุพจน์ พุ่มแหยม ผกก.4 กล่าวว่าฝากความห่วงใยมายังพี่น้องประชาชนว่าอย่าซื้อผลิตภณั ฑ์ยา จุดกันยุง หรือยาฆ่าแมลงชนิดฉีดพ้นเพื่อใช้ในบ้านที่ไม่มีเลขผลิตภัณฑ์วัตถุอันตราย ก่อนซื้อจะต้องตรวจสอบ ฉลากผลิตภัณฑ์มีภาษาไทยกํากับ มีข้อบ่งใช้ และมีเลขผลิตภัณฑ์วัตถุอันตราย ที่ได้รับอนุญาตให้นําเข้า และ จําหน่ายในประเทศอย่างถูกต้อง เพราะสารเคมีที่เป็นส่วนผสมของยาฆ่าแมลง

 

 

 

หรือไล่แมลง ออกฤทธิ์โดยตรงต่อ คนและสัตว์เลี้ยงภายในบ้าน การซื้อสินค้าต้องซื้อจากแหล่งที่น่าเชื่อถือ ราคาเป็นธรรม และไม่ถูกกว่าราคา จําหน่ายท้องตลาดจนเกินไป และขอเตือนไปยังผู้ที่ลักลอบผลิต นําเข้า หรือจําหน่ายยาจุดกันยุง หรือยาฆ่าแมลง ชนิดฉีดพ้น ที่ไม่ได้รับอนุญาตหรือไม่ได้คุณภาพมาตรฐาน ไม่ว่าจะเป็นโรงงานผลิตหรือตัวแทนจําหน่าย ให้หยุด พฤติการณ์ดังกล่าวทันที หากตรวจพบจะดําเนินคดีโดยเด็ดขาด

 

 

 

และหากพี่น้องประชาชนพบผลิตภัณฑ์ที่ต้อง สงสัย สามารถแจ้งร้องเรียนได้ที่สายด่วน บก.ปคบ. 1135 หรือเพจ ปคบ. เตือนภัยผู้บริโภคได้ตลอดเวลา ภก. วีระชัย นลวชัย รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา กล่าวต่อว่า ปฏิบัติการในครั้งนี้ สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ขอขอบคุณตํารวจกองบังคับการปราบปรามการกระทําความผิด เกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค (บก.ปคบ.)

 

 

ที่สืบสวน ขยายผล จากการตรวจสอบแหล่งค้าส่งยาจุดกันยุงเถื่อน ฉลากเป็นภาษาต่างประเทศ ยี่ห้อ Goldeer และ Laojun (รูปเด็กอ่อน) ไม่ได้มีการขึ้นทะเบียนกับ อย. ที่จังหวัด ชัยนาท อ่างทอง และสุพรรณบุรี จนนําไปสู่การขยายผลหาแหล่งผลิตรายใหญ่ในจังหวัดสมุทรสาคร โดยพบว่า กําลังผลิตยาจุดกันยุงยี่ห้อ Goldeer และกําลังส่งยาจุดกันยุง ตราเสือ อีกทั้งพบยาจุดกันยุงตราเด็ก เป็นจํานวน มากด้วย

 

 

 

ทั้งนี้ยาจุดกันยุงยี่ห้อดังกล่าว ยังไม่ได้ขึ้นทะเบียนและไม่ได้ขออนุญาตกับทาง อย. จึงไม่ได้ผ่านการ ประเมินความปลอดภัยและประสิทธิภาพ ก่อให้เกิดความเสี่ยงเป็นอันตรายต่อตัวผู้ใช้ได้ จากที่เคยส่งตรวจสอบ ยาจุดกันยุงดังกล่าวพบสาร Dimefluthrin และ Meperfluthrin จัดเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 3 ซึ่งเป็นสารที่ อย. ยังไม่เคยรับขึ้นทะเบียน

 

 

 

โดยสารกลุ่ม Pyrethroids มักมีการโฆษณาว่าเป็นสารจากดอกไพรีทรัมอ้างว่ามีความ ปลอดภัยสูงซึ่งไม่เป็นความจริง ซึ่งสารดังกล่าวมีผลกระทบต่อระบบประสาทและความรุนแรงขึ้นอยู่กับปริมาณ ที่ร่างกายรับเข้าไป ซึ่งร่างกายรับสารนี้ได้ทางการกินกับการหายใจ หากได้รับปริมาณมากจะมีอาการมึนงง ปวด ศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน กล้ามเนื้อกระตุก ชัก หมดสติ หรือพบอาการอื่น ๆ เช่น การระคายเคืองผิวหนังหรือ ทางเดินหายใจ

 

 

 

 

ติดตามเนื้อหาดีๆแบบนี้ได้ที่
Facebook : https://www.facebook.com/innnews.co.th

Twitter : https://twitter.com/innnews

Youtube : https://www.youtube.com/c/INNNEWS_INN

TikTok : https://www.tiktok.com/@inn_news

LINE Official Account : @innnews

  • Tiktok
  • Youtube
  • Youtube