5จังหวัดกลุ่มเสี่ยงเยี่ยมผู้ต้องขังต้องจองคิว
ราชทัณฑ์ ยัน ญาติ เยี่ยมผู้ต้องขัง ได้ทั่วประเทศ ยกเว้น 5จังหวัดกลุ่มเสี่ยงต้องจองคิว แจงจดหมาย”อานนท์”พบเป็นด้านหลังของใบคำฟ้อง คาดเกิดขึ้นระหว่างเจ้าตัวอยู่ที่ศาล
นายวัลลภ นาคบัว รองปลัดกระทรวงยุติธรรม และโฆษกกระทรวงยุติธรรม พร้อมด้วย นายธวัชชัย ชัยวัฒน์ รองอธิบดีกรม ราชทัณฑ์ และโฆษกกรมราชทัณฑ์ ส่วนการเยี่ยมญาติ เปิดเผยถึงกรณีญาติเข้าเยี่ยมผู้ต้องจังในเรือนจำ โดยยืนยันว่า สามารถเยี่ยมได้ทั่วประเทศ
ยกเว้น 5 จังหวัดกลุ่มเสี่ยง คือ กรุงเทพมหานคร , นนทบุรี , สมุทรปราการ , สมุทรสาคร และ ปทุมธานี ต้องจองคิวล่วงหน้าและเยี่ยมผ่านทางแอปพลิเคชั่นไลน์ ทั้งผู้ต้องขังคดีการเมืองหรือคดีอื่น ๆเพื่อลดปัญหาเรื่องการทำร้ายร่างกายและอาการเครียดของผู้ต้องขังเอง โดยจะสามารถเข้าพบได้เดือนละ 1 ครั้ง
ส่วน กรณีที่ เพจศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน โพสต์ข้อความว่า นางสาวปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล หรือ “รุ้ง” เตรียมอดอาหารเป็นเพื่อน นายพริษฐ์ ชิวารักษ์ หรือ “เพนกวิน”จากการตรวจสอบพบว่า น.ส.ปนัสยา ยังทานอาหารปกติ ไม่ได้มีการอดอาหารแต่อย่างใด และทุกวันเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์จะคอยติดตามและดูแลสุขภาพผู้ต้องขังทุกรายอยู่แล้ว
ทั้งนี้ การอดอาหารของนายพรหมศร วีระธรรมจารี หรือ ฟ้า แกนนำคณะราษฎรมูเตลู ซึ่งปัจจุบันถูกคุมขังอยู่ที่เรือนจำอำเภอธัญบุรี ทราบว่า เจ้าหน้าที่ยังไม่ได้รับแจ้งว่าต้องการอดอาหารแต่อย่างใด เป็นเพียงการงดอาหารมื้อเย็น ซึ่งเจ้าตัวทำเป็นปกติอยู่แล้ว ส่วนมื้ออื่น ยังคงทานเป็นปกติ พร้อมทานขนมและเครื่องดื่มที่เรือนจำจัดเพิ่มและญาติสั่งซื้อไว้
ขณะที่ บาดแผลจากอุบัติเหตุก่อนเข้าเรือนจำ ได้รักษาจนหายดีแล้ว แต่ในอนาคตหากผู้ต้องขังรายดังกล่าว มีความสงค์จะอดหรือปฏิเสธที่จะรับประทานอาหาร ทางเจ้าหน้าที่ก็พร้อมให้การดูแลตามขั้นตอน อยู่ตลอดเวลา เพราะถือเป็นสิทธิของผู้ต้องขัง ที่สามารถกระทำได้ ภายใต้กรอบของกฎหมาย โดยต้องไม่เป็นอันตรายต่อตัวเองและผู้อื่น
ข้อปฏิบัติในการเยี่ยมผู้ต้องขัง
ให้ดำเนินการดังนี้
1. เขียนรายละเอียดต่างๆให้ครบถ้วนลงในแบบฟอร์มใบเยี่ยมญาติที่ทางเรือนจำจัดให้ เสร็จแล้วส่งมอบให้เจ้าหน้าที่พร้อมบัตรประชาชนหรือใบขับขี่หรือใบที่ทางราชการออกให้ที่มีรูปถ่าย
2. รอฟังรายชื่อและเข้าเยี่ยมในห้องเยี่ยมที่เรือนจำกำหนด เมื่อทางเจ้าหน้าที่เรือนจำประกาศให้ทราบ
3. เมื่อเยี่ยมเสร็จแล้ว ถ้ามีความประสงค์ที่จะฝากเงินและฝากสิ่งของกับเจ้าหน้าที่ เพื่อนำไปซื้อสิ่งของจากร้านค้าสงเคราะห์(สินค้าที่ซื้อจากทางร้านค้าสงเคราะห์ห้ามเปิดหรือฉีกถุง ที่บรรจุแล้วโดยเด็ดขาด) และฝากเงินที่ช่องฝากเงิน
กำหนดวันและเวลาเยี่ยม
1.วันจันทร์-วันศุกร์
2. ผู้ต้องขังออกรับการเยี่ยมญาติได้คนละ 1 ครั้ง/ วัน ครั้งละประมาณ 10-15 นาที
3. เวลาเยี่ยม ภาคเช้า ผู้ต้องชาย เวลา 08.30-11.00 น.
ผู้ต้องขังหญิงเวลา 11.00-12.00 น.
ภาคบ่าย ผู้ต้องขังชายเวลา 12.00-14.00 น.
ผู้ต้องขังหญิงเวลา 14.00-15.00 น.
การฝากสิ่งของ
ทางเรือนจำได้จัดร้านค้าสงเคราะห์ไว้หน้าบริเวณเรือนจำ(หน้าห้องเยี่ยมญาติ)เพื่อจำหน่ายสิ่งของต่างๆ ในราคาปกติกับท้องตลาดและสิ่งของที่ซื้อจากร้านค้าสงเคราะห์ของเรือนจำ จะใส่ถุงพลาสติปิด อย่างดี ทำให้ฝากส่งให้แก่ผู้ต้องขังได้อย่างรวดเร็ว หากท่านนำสิ่งของต่างๆมาจากที่อื่นๆทางเรือนจำจะทำการตรวจค้นสิ่งของนั้นๆอย่างละเอียดถี่ถ้วน เพื่อป้องกันการซุกซ่อนลักลอบนำสิ่งของต้องห้ามนำขเ้าเรือนจำ
ข้อห้ามต่างๆ
1. สิ่งของต้องห้ามที่ไม่อนุญาตฝากให้แก่ผู้ต้องขัง
1.1 ฝิ่น กัญชา ยาเสพติดหรือสิ่งของมึนเมาอย่างอื่น
1.2 สุราหรือน้ำเมาซึ่งดื่มได้เมาเหมือนสุรา
1.3 เครื่องอุปกรณ์สำหรับเล่นการพนัน
1.4 เครื่องอุปกรณ์ในการหลบหนี
1.5 ศราตราวุธ
1.6 ของเน่าเสียหรือของมีพิษต่อร่างกาย
1.7 วัตถุระเบิดหรือน้ำมันเชื้อเพลิง
1.8 สัตว์มีชีวิตหรือวัตถุเน่าเสีย
1.9 เครื่อง คอมพิวเตอร์ , เครื่องโทรศัพท์หรือเครื่องมือสื่อสารอื่นๆรวมทั้งอุปกรณ์สำหรับสิ่งของดังกล่าว
1.10 วัตถุเอกสารหรือสิ่งพิมพ์ซึ่งอาจก่อให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อยต่อศีลธรรมอันดีของประชาชน
2. ห้ามถ่ายภาพ , วีดีโอ ,วีดีทัศน์ ,ภาพยนต์
3.ห้าม ใช้เครื่องบันทึกเสียงและสัมภาษณ์ผู้ต้องขัง
4.ห้ามพกพาอาวุธทุกชนิด
5.ห้ามใช้โทรศัพย์ขณะเข้าเยี่ยมผู้ต้องขัง
ยธ. แจงผลสอบปมจดหมาย “อานนท์” พบเป็นด้านหลังของใบคำฟ้อง คาดเกิดขึ้นระหว่างเจ้าตัวอยู่ที่ศาล ล่าสุด ส่งตัวแทนแจ้งความ ปอท. เพื่อดำเนินคดีกับผู้กระทำผิดแล้ว
นายวัลลภ นาคบัว รองปลัดกระทรวงยุติธรรม และโฆษกกระทรวงยุติธรรม พร้อมด้วย นายธวัชชัย ชัยวัฒน์ รองอธิบดีกรมราชทัณฑ์ และโฆษกกรมราชทัณฑ์ แถลงความคืบหน้าการดำเนินงานของคณะกรรมการประมวลข้อเท็จจริงในการดำเนินงานของกรมราชทัณฑ์
โดย นายวัลลภ เปิดเผยว่า การตรวจสอบประเด็นเรื่อง จดหมาย ของนายอานนท์ นำภา เมื่อวันที่ 16 มี.ค.ที่ผ่านมา ที่โพสต์ผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว เกี่ยวกับการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่กรมราชทัณฑ์ พบว่าช่วงเวลาไทม์ไลน์มีความสอดคล้องกัน แต่มีการอธิบายความที่แตกต่างกัน
โดยเจ้าหน้าที่ปฎิบัติตามขั้นตอน การตรวจเชื้อโควิด-19 ภายในเรือนจำแต่ผู้ต้องขังปฏิเสธการตรวจ ทำให้ต้องแยกขังตามมาตรการ และพบว่าเข้าไปตรวจสอบรวม 4 ครั้ง มีการเพิ่มกำลังเจ้าหน้าที่ตั้งแต่เข้าไปขอตรวจในครั้งที่ 2 และพกกระบองหรือนกหวีดตามขั้นตอน ของกรมราชทัณฑ์ในการควบคุมดูแล และย้ายผู้ต้องขัง
ทั้งนี้ จากการสืบสวนของคณะกรรมการพบ ว่า จดหมายของนายอานนท์ คือด้านหลังของเอกสารคำร้องขอไต่สวน ซึ่งผู้ต้องขังจะมีติดตัวอยู่หรืออาจได้รับจากทนายที่ศาล ไม่ได้เป็นหนังสือหรือกระดาษของเรือนจำ คาดว่าจะขอมาตอนขึ้นศาลก่อนเขียนส่งให้บุคคลอื่นไปโพสต์ ยืนยันว่า ภายในเรือนจำไม่มีกระดาษลักษณะนี้
ขณะนี้อยู่ระหว่างการตรวจสอบ บุคคลใดที่นำข้อมูลดังกล่าวไปโพสต์ เนื่องจากเรื่องทำให้เกิดความเสียหาย กองกฎหมาย กรมราชทัณฑ์ จึงแจ้งความกับบก.ปอท. พบว่ามีผู้ที่เข้าข่ายดังกล่าว 2 คน แต่ยังไม่สามารถเปิดเผยรายละเอียดได้
โดยในวันที่ 29 มี.ค.นี้ ศาลได้นัดไต่สวนในคดีดังกล่าว ซึ่งทราบว่าการไต่สวนเสร็จสิ้นแล้ว และจะมีคำสั่งในช่วงบ่ายของวันเดียวกัน
ติดตามเนื้อหาดีๆแบบนี้ได้ที่
Facebook : https://www.facebook.com/innnews.co.th
Twitter : https://twitter.com/innnews
Youtube : https://www.youtube.com/c/INNNEWS_INN
TikTok : https://www.tiktok.com/@inn_news