Home
|
อาชญากรรม

พ.ร.ก.ไซเบอร์เริ่มใช้ เม.ย. สถาบันการเงิน-ค่ายมือถือ มีหนาว!

ปัญหาอาชญากรรมทางไซเบอร์ โดยเฉพาะแก๊งคอลเซ็นเตอร์และธุรกรรมทางการเงินที่ผิดกฎหมาย กำลังเป็นปัญหาที่ทวีความรุนแรงในสังคมไทย เพื่อรับมือกับปัญหาดังกล่าว

 

 

 

 

รัฐบาลจึงมีมติปรับปรุง พระราชกำหนดมาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี เพื่อให้สอดคล้องกับวิวัฒนาการของอาชญากรรมทางเทคโนโลยีที่ซับซ้อนมากขึ้น กฎหมายฉบับปรับปรุงนี้ โดยมีเป้าหมายหลักในการควบคุมธุรกรรมทางการเงินที่เกี่ยวข้องกับอาชญากรรมทางไซเบอร์ มาตรการสำคัญประกอบด้วย

 

 

 

การเร่งคืนเงินให้แก่ผู้เสียหาย การอายัดบัญชีม้า การกำหนดหน้าที่และความรับผิดชอบของสถาบันการเงินและผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์ ตลอดจนการควบคุมการโอนเงินผิดกฎหมายผ่านสินทรัพย์ดิจิทัล กฎหมายฉบับนี้จึงเป็นกลไกสำคัญในการเสริมสร้างความมั่นคงทางไซเบอร์และป้องกันภัยจากอาชญากรรมทางเทคโนโลยีในยุคดิจิทัล

 

 

 

นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวง ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กล่าวถึง ความคืบหน้าการจัดทำพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) ป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมไซเบอร์ ว่า พ.ร.ก. จะเสร็จสิ้นภายในสิ้นเดือน มี.ค. นี้ เป็น พ.ร.ก. ที่จะออกมาเพิ่มเติมในการกำหนดความรับผิดชอบของสถาบันการเงิน บริษัทโทรคมนาคม และแพลตฟอร์มต่างๆ โดยจะเริ่มใช้ได้หลังประกาศพระราชราชกิจจานุเบกษาต้นเดือน เม.ย. 2568 ทั้งนี้ไม่ต้องนำเข้า คณะรัฐมนตรีอีก เพราะผ่านไปแล้ว แค่ต้องแจ้งต่อสภาผู้แทนราษฎรเท่านั้น แต่กฎหมายมีผลทันทีที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา

 

 

 

นายประเสริฐยังยกตัวอย่าง ว่า เรามีข้อกำหนดให้ธนาคารดำเนินการ เช่น การเปิดบัญชีต้องเปิดได้ยากขึ้น ไม่ใช่ว่าใครก็เปิดได้หมด โดยไม่สอบถามอะไรเลย อย่างนี้ไม่ได้ ต้องสอบถามลักษณะธุรกิจ และตรวจสอบว่า บุคคลที่มาเปิดอยู่ในข่ายบุคคลต้องสงสัยหรือไม่ ถ้าอยู่ในรายชื่อบุคคลต้องสงสัยก็ต้องห้ามเปิด แต่ถ้ายังดันทุรังเปิดบัญชีให้ แล้วบัญชีนั้นก่อให้เกิดความเสียหาย ไปหลอกลวงพี่น้องประชาชน ธนาคารจะต้องรับผิดชอบ ส่วนสถาบันการเงิน หรือค่ายมือถือจะต้องร่วมรับผิดชอบต่อความเสียหายของพี่น้องประชาชนที่ถูกหลอกลวง เป็นสัดส่วนเท่าไหร่นั้น ขึ้นอยู่กับศาลเป็นผู้วินิจฉัยว่าผลของความเสียหายน้ำหนักอยู่ที่ฝั่งใด

 

 

 

เมื่อตรวจสอบถึงสาระสำคัญของ พรก.ไซเบอร์ ที่เตรียมประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษา มี 5 สาระสำคัญ ที่น่าสนใจ ดังนี้

 

 

1. การเพิ่มหน้าที่ให้สำนักงาน กสทช. หรือผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือ มีหน้าที่สั่งระงับการให้บริการเลขหมายโทรศัพท์สำหรับบริการโทรศัพท์มือถือเป็นการชั่วคราว เมื่อพบเหตุอันควรสงสัยเอง หรือได้รับข้อมูลว่ามีเลขหมายโทรศัพท์มือถือต้องสงสัยที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิด

2.เพิ่มอำนาจการดำเนินการกับแพลตฟอร์มทรัพย์สินที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิด โดยกำหนดแพลตฟอร์มให้ต้องร่วมรับผิดชอบการทำธุรกรรมและการกระทำความผิดที่เกิดขึ้น เพื่อลดปัญหาการฟอกเงินโดยนำมาเปลี่ยนเป็นเงินสกุลดิจิทัล

3.เร่งรัดกระบวนการคืนเงินให้กับผู้เสียหาย ให้อำนาจแก่คณะกรรมการธุรกรรมตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินเป็นผู้พิจารณาคืนเงินให้แก่ผู้เสียหาย โดยไม่ต้องรอให้มีการยื่นฟ้องคดีต่อศาลเพื่อพิจารณามีคำสั่งถึงที่สุดก่อน อันเป็นการทำให้ขั้นตอนกระบวนพิจารณาการคืนเงินแก่ผู้เสียหายเป็นไปอย่างรวดเร็วขึ้น

4ใเพิ่มบทกำหนดโทษสำหรับการฟอกเงินเป็นสกุลเงินดิจิทัล และการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล โดยไม่ได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูล

 

 

 

และประเด็นสุดท้ายเป็นที่น่าสนใจของสังคม คือ ให้สถาบันการเงินหรือผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์ ผู้ให้บริการอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือสื่อสังคมออนไลน์ มีส่วนรับผิดชอบในความเสียหายที่เกิดขึ้นกับผู้เสียหายทั้งนี้ ต้องติดตามและจับตาว่า เมื่อ พรก.ไซเบอร์ประกาศใช้อย่างเป็นทางการแล้ว จำนวนตัวเลขของผู้เสียหายที่ถูกแก๊งคอลเซ็นเตอร์หลอกลวง จะลดน้อยลงไปหรือไม่ รวมถึงผู้เสียหาย จะได้รับการเยียวยาจากธนาคารหรือเครือข่ายมือถือ ได้รวดเร็วเพียงใดด้วย

 

 

 

 

ติดตามเนื้อหาดีๆแบบนี้ได้ที่

Facebook : https://www.facebook.com/innnews.co.th

Twitter : https://twitter.com/innnews

Youtube : https://www.youtube.com/c/INNNEWS_INN

TikTok : https://www.tiktok.com/@inn_news

LINE Official Account : @innnews

  • Tiktok
  • Youtube
  • Youtube