การพัฒนาอุตสาหกรรมเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม จะส่งผลต่อการพัฒนาขีดความสามารถในการเพาะเลี้ยง และการผลิตสัตว์น้ำให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพสูง ปลอดภัย ได้มาตรฐาน และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ควบคู่กับการเพิ่มมูลค่าและศักยภาพการแข่งขันของประเทศ
ในการประชุมวิชาการของสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) นายเปรมศักดิ์ วนัชสุนทร ผู้บริหารสูงสุด สายงานวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) ร่วมบรรยายเรื่อง การพัฒนาอุตสาหกรรมสัตว์น้ำของประเทศไทยให้สอดคล้องกับแนวทาง BCG และ Thailand4.0
ในงานสัมมนานวัตกรรมสู่อนาคตการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ยั่งยืน ณ ห้องประชุมออดิทอเรียม บ้านวิทยาศาสตร์สิรินธร อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จังหวัดปทุมธานี ระบุว่า การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำของประเทศไทยมีการปรับตัวมาอย่างต่อเนื่อง แนวทาง BCG (Bio-Circular-Green) และ Thailand 4.0 ไม่ใช่เรื่องใหม่สำหรับอุตสาหกรรมสัตว์น้ำ
ในส่วนของ BIO Economy หรือเศรษฐกิจชีวภาพ มีการต่อยอดผลิตภัณฑ์ทรัพยากรทางชีวภาพที่มีในประเทศ มาใช้อย่างคุ้มค่า เน้นการเพิ่มผลผลิต สร้างมูลค่าเพิ่ม มีการนำโปรตีนจากสาหร่ายมาใช้ทดแทนการใช้ปลาป่น และกากถั่วเหลือง รวมถึงลดคาร์บอนไดออกไซด์และของเสีย มีการนำโปรไบโอติก จุลินทรีย์มาช่วยขับเคลื่อนการเลี้ยง ทั้งเพื่อแก้ปัญหาสุขภาพกุ้ง และช่วยปรับปรุงคุณภาพน้ำให้ดีขึ้น
ประเทศไทยมีศักยภาพทั้งด้านบุคลากร และทรัพยากรไม่แพ้ชาติใดๆในโลก ด้านCircular Economy หรือเศรษฐกิจหมุนเวียนในวงการสัตว์น้ำ ได้นำทรัพยากรมาใช้อย่างคุ้มค่าที่สุด เน้นการหมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่ และลดของเสียที่เกิดจากกระบวนการผลิตให้เหลือน้อยที่สุด ด้วยการเพิ่มมูลค่าของเสียที่เกิดจากการเลี้ยงกุ้ง สำหรับGreen Economy หรือเศรษฐกิจสีเขียว เป็นการนำเทคโนโลยีการผลิตที่เป็นมิตรสิ่งแวดล้อม ทำให้เกิดสมดุลระหว่างเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมตั้งแต่การผลิต จนถึงมือผู้บริโภค
ในฟาร์มเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำได้มีการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยี ออโตเมชั่น มาปรับใช้ในกระบวนการผลิต ส่งเสริมการใช้พลังงานหมุนเวียน และบูรณาการหลักเศรษฐกิจหมุนเวียนมาใช้ ช่วยให้การจัดการดีขึ้น มีประสิทธิภาพดีขึ้น และมีความเสี่ยงลดลง นอกจากนำระบบการให้อาหารอัตโนมัติมาใช้ ยังมีการต่อยอดอุปกรณ์กล้องใต้น้ำที่ทำให้สามารถติดตามน้ำหนักเฉลี่ยของกุ้งที่เลี้ยงผ่านระบบในมือถือ
ไม่เพียงกระบวนการเลี้ยงที่มีการคิดค้นให้เกิดของเสียน้อยที่สุด แต่ยังรวมถึงบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรสิ่งแวดล้อมสามารถย่อยสลายได้ 100% ซึ่งซีพีเอฟได้รับการยืนยันจาก GSSI (Global sustainable seafood initiative) ว่าเป็นสมาชิกระดับโลกที่มุ่งมั่นทำธุรกิจสัตว์น้ำอย่างยั่งยืน ให้ความสำคัญในการลดพลาสติก และการจัดการขยะพลาสติก
ในฟาร์มเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำได้มีการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยี ออโตเมชั่น มาปรับใช้ในกระบวนการผลิต ส่งเสริมการใช้พลังงานหมุนเวียน และบูรณาการหลักเศรษฐกิจหมุนเวียนมาใช้ ช่วยให้การจัดการดีขึ้น มีประสิทธิภาพดีขึ้น และมีความเสี่ยงลดลง นอกจากนำระบบการให้อาหารอัตโนมัติมาใช้ ยังมีการต่อยอดอุปกรณ์กล้องใต้น้ำที่ทำให้สามารถติดตามน้ำหนักเฉลี่ยของกุ้งที่เลี้ยงผ่านระบบในมือถือ
ไม่เพียงกระบวนการเลี้ยงที่มีการคิดค้นให้เกิดของเสียน้อยที่สุด แต่ยังรวมถึงบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรสิ่งแวดล้อมสามารถย่อยสลายได้ 100% ซึ่งซีพีเอฟได้รับการยืนยันจาก GSSI (Global sustainable seafood initiative) ว่าเป็นสมาชิกระดับโลกที่มุ่งมั่นทำธุรกิจสัตว์น้ำอย่างยั่งยืน ให้ความสำคัญในการลดพลาสติก และการจัดการขยะพลาสติก.
ติดตามเนื้อหาดีๆแบบนี้ได้ที่
Facebook : https://www.facebook.com/innnews.co.th
Twitter : https://twitter.com/innnews
Youtube : https://www.youtube.com/c/INNNEWS_INN
TikTok : https://www.tiktok.com/@inn_news
LINE Official Account : @innnews