สนค.ชี้ราคาวัสดุก่อสร้างครึ่งปีหลังฟื้นตัว
สนค.ชี้ราคาวัสดุก่อสร้างไตรมาส 3 และช่วงที่เหลือของปี 66 มีโอกาสขยายตัวตามการฟื้นตัวของอุปสงค์และการลงทุนในประเทศ
นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า หรือ สนค. กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยถึงสถานการณ์ราคาวัสดุก่อสร้างในช่วงครึ่งแรกของปี 2566 ที่ชะลอตัวอย่างชัดเจนเมื่อเทียบกับปีก่อน สะท้อนจากดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างเดือนมิถุนายน 2566 ที่ลดลงร้อยละ 0.9 ลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 ส่งผลให้ครึ่งปีแรกของปี 2566 สูงขึ้นเพียงร้อยละ 0.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2565 ส่วนดัชนีราคาวัสดุก่อสร้าง ไตรมาสที่ 3 และช่วงที่เหลือของปี 2566 คาดว่าจะขยายตัวตามการฟื้นตัวของอุปสงค์และการลงทุนในภาคการก่อสร้างในประเทศ ประกอบกับต้นทุนยังอยู่ระดับสูง อุปทานพลังงานและเหล็กโลกมีแนวโน้มตึงตัว
สำหรับสาเหตุสำคัญที่ทำให้ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้าง ครึ่งปีแรกของปี 2566 ชะลอตัวอย่างชัดเจน เนื่องจากการลดลงของราคาเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก ซึ่งมีสัดส่วนน้ำหนักค่อนข้างมากถึงร้อยละ 29.66 หรือคิดเป็น 1 ใน 3 ของน้ำหนักในตะกร้าดัชนีราคาวัสดุก่อสร้าง ซึ่งปรับลดลงตามราคาพลังงานและวัตถุดิบโลก อาทิ น้ำมันดิบ ยางมะตอย และแร่เหล็ก
ตามความต้องการก่อสร้างในประเทศต่าง ๆ ที่ปีนี้คาดว่าจะชะลอตัวตามภาวะเศรษฐกิจโลก จากอัตราดอกเบี้ยที่ปรับตัวสูงขึ้นกว่าปี 2565 และความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ที่ยังไม่ยุติ นอกจากนี้ สินค้าในหมวดซีเมนต์ และหมวดผลิตภัณฑ์คอนกรีต ซึ่งมีสัดส่วนน้ำหนักต่อดัชนีรวมกันใกล้เคียงกับสินค้าเหล็ก คือร้อยละ 27.90 ชะลอตัวต่อเนื่องติดต่อกัน 4 เดือน ดังนั้น ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างของไทย ครึ่งปีแรกของปี 2566 จึงชะลอตัวอย่างชัดเจน
เมื่อพิจารณาแนวโน้มภาคการก่อสร้างโลก ปี 2566 พบว่า ภาคการก่อสร้างโลก ปี 2566 มีแนวโน้มชะลอตัว โดยคาดว่า จะขยายตัวเพียงร้อยละ 0.8 จากร้อยละ 2.1 ในปี 2565 โดยภาคการก่อสร้างในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว จะหดตัวร้อยละ 1.5 เนื่องจากความขัดแย้งระหว่างรัสเซีย-ยูเครน ที่ส่งผลต่อระดับราคาและกดดันบรรยากาศการค้าการลงทุน ได้แก่ ยุโรป รัสเซีย อเมริกาเหนือ และออสเตรเลีย ขณะที่ภาคการก่อสร้างในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา จะขยายตัวร้อยละ 2.4 ชะลอลงจากปี 2565 ที่ขยายตัวร้อยละ 4.6 เนื่องจากการลงทุนอสังหาริมทรัพย์ของจีนยังซบเซา
อย่างไรก็ตาม มาตรการส่งเสริมและโครงการก่อสร้างของภาครัฐในหลายประเทศ อาทิ สหรัฐอเมริกา ได้ออกกฎหมาย Inflation Reduction Act ที่ส่งเสริมการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน และพลังงาน รวมทั้งมีมาตรการให้เงินอุดหนุนเพื่อก่อสร้างโรงงานผลิตเซมิคอนดักเตอร์และอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า เยอรมนี อินเดีย มีโครงการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ด้านการคมนาคมขนส่งทางถนนและรถไฟ ญี่ปุ่น มีการก่อสร้างคลังสินค้าและสถานที่ให้บริการด้านการขนส่งและโลจิสติกส์ และโครงการวิศวกรรมโยธา และจีน
มีการก่อสร้างเส้นทางคมนาคม พลังงานหมุนเวียน และนิคมอุตสาหกรรม และการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำที่เมืองฉงชิ่ง ทั้งหมดนี้มีส่วนขับเคลื่อนให้ภาคการก่อสร้างของประเทศมีโอกาสเติบโต ประกอบกับอุปทานพลังงานและเหล็กที่มีแนวโน้มตึงตัว ซึ่งอาจทำให้ราคาวัตถุดิบ และราคาวัสดุก่อสร้างในช่วงที่เหลือของปีนี้มีโอกาสปรับตัวสูงขึ้นได้
ส่วนภาคการก่อสร้างของไทยยังมีโอกาสขยายตัวเพิ่มขึ้น โดยสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ระบุว่า ภาคการก่อสร้างของไทยในไตรมาสแรกของปี 2566 ขยายตัวร้อยละ 3.9 เร่งขึ้นจากร้อยละ 2.6 ในไตรมาสก่อนหน้า และปี 2566 คาดว่าภาคการก่อสร้างของไทยจะเพิ่มขึ้นตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย ที่คาดว่าจะสูงขึ้นระหว่างร้อยละ 2.7-3.7 โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการลงทุนของภาครัฐ และเอกชนที่มีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น
สนค.จึงคาดว่าภาคการก่อสร้างของไทยมีโอกาสที่จะขยายตัว และจะส่งผลให้ราคาวัสดุก่อสร้าง ไตรมาสที่ 3 และช่วงที่เหลือของปี 2566 จะขยายตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับครึ่งปีแรก อย่างไรก็ตาม ยังมีปัจจัยท้าทายที่อาจส่งผลต่อการเติบโตของภาคการก่อสร้างและกดดันให้ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างขยายตัวน้อยกว่าที่คาดหรืออาจปรับลดลงได้ อาทิ การชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกที่กดดันความต้องการพลังงานและวัสดุก่อสร้าง
ส่งผลให้ราคาพลังงาน วัตถุดิบ และราคาจำหน่ายวัสดุก่อสร้างลดต่ำกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน นอกจากนี้ การปล่อยสินเชื่อของธนาคารมีความเข้มงวดขึ้น และอัตราดอกเบี้ยที่ยังอยู่ในช่วงขาขึ้น จะส่งผลให้กำลังซื้อและการลงทุนของภาคประชาชนและธุรกิจลดลง ซึ่งจะต้องติดตามอย่างใกล้ชิดต่อไป
อย่างไรก็ตาม มาตรการส่งเสริมและโครงการก่อสร้างของภาครัฐในหลายประเทศ อาทิ สหรัฐอเมริกา ได้ออกกฎหมาย Inflation Reduction Act ที่ส่งเสริมการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน และพลังงาน รวมทั้งมีมาตรการให้เงินอุดหนุนเพื่อก่อสร้างโรงงานผลิตเซมิคอนดักเตอร์และอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า เยอรมนี อินเดีย มีโครงการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ด้านการคมนาคมขนส่งทางถนนและรถไฟ ญี่ปุ่น มีการก่อสร้างคลังสินค้าและสถานที่ให้บริการด้านการขนส่งและโลจิสติกส์ และโครงการวิศวกรรมโยธา และจีน มีการก่อสร้างเส้นทางคมนาคม พลังงานหมุนเวียน และนิคมอุตสาหกรรม และการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำที่เมืองฉงชิ่ง ทั้งหมดนี้มีส่วนขับเคลื่อนให้ภาคการก่อสร้างของประเทศมีโอกาสเติบโต ประกอบกับอุปทานพลังงานและเหล็กที่มีแนวโน้มตึงตัว ซึ่งอาจทำให้ราคาวัตถุดิบ และราคาวัสดุก่อสร้างในช่วงที่เหลือของปีนี้มีโอกาสปรับตัวสูงขึ้นได้
ส่วนภาคการก่อสร้างของไทยยังมีโอกาสขยายตัวเพิ่มขึ้น โดยสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ระบุว่า ภาคการก่อสร้างของไทยในไตรมาสแรกของปี 2566 ขยายตัวร้อยละ 3.9 เร่งขึ้นจากร้อยละ 2.6 ในไตรมาสก่อนหน้า และปี 2566 คาดว่าภาคการก่อสร้างของไทยจะเพิ่มขึ้นตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย ที่คาดว่าจะสูงขึ้นระหว่างร้อยละ 2.7-3.7 โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการลงทุนของภาครัฐ และเอกชนที่มีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น
สนค.จึงคาดว่าภาคการก่อสร้างของไทยมีโอกาสที่จะขยายตัว และจะส่งผลให้ราคาวัสดุก่อสร้าง ไตรมาสที่ 3 และช่วงที่เหลือของปี 2566 จะขยายตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับครึ่งปีแรก อย่างไรก็ตาม ยังมีปัจจัยท้าทายที่อาจส่งผลต่อการเติบโตของภาคการก่อสร้างและกดดันให้ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างขยายตัวน้อยกว่าที่คาดหรืออาจปรับลดลงได้ อาทิ การชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกที่กดดันความต้องการพลังงานและวัสดุก่อสร้าง ส่งผลให้ราคาพลังงาน วัตถุดิบ และราคาจำหน่ายวัสดุก่อสร้างลดต่ำกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน นอกจากนี้ การปล่อยสินเชื่อของธนาคารมีความเข้มงวดขึ้น และอัตราดอกเบี้ยที่ยังอยู่ในช่วงขาขึ้น จะส่งผลให้กำลังซื้อและการลงทุนของภาคประชาชนและธุรกิจลดลง ซึ่งจะต้องติดตามอย่างใกล้ชิดต่อไป
ติดตามเนื้อหาดีๆแบบนี้ได้ที่
Facebook : https://www.facebook.com/innnews.co.th
Twitter : https://twitter.com/innnews
Youtube : https://www.youtube.com/c/INNNEWS_INN
TikTok : https://www.tiktok.com/@inn_news
LINE Official Account : @innnews