Home
|
ทั่วไป

ศบค.ลุยเพิ่มเตียงเน้นรักษาที่บ้าน

Featured Image
ศบค. หารือมาตรการขยายเตียงรองรับผู้ป่วยโควิด เน้นย้ำจังหวัดเฝ้าระวังผู้ติดเชื้อจากพื้นที่สีแดงเข้ม ขณะตรวจ ATK หากพบโควิด ต้อง RTPCR ซ้ำ

แพทย์หญิงอภิสมัย ศรีรังสรรค์ ผู้ช่วยโฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 หรือ ศบค. เผยว่า หากแยกการติดเชื้อตามเขตสุขภาพ พบว่าการรายงานเชื้อนำเข้าในจังหวัดนั้นๆ มีจำนวนสูงขึ้น โดยในเขต 1 จะอยู่ในพื้นที่จังหวัดน่าน, พะเยา และแพร่ เขต 2 จังหวัดอุตรดิตถ์ เขต 3 ทุกจังหวัด ทางนครสวรรค์, กำแพงเพชร, พิจิตร, อุทัยธานี และชัยนาท เขต 7 ที่จังหวัดขอนแก่น เขต 9 ที่จังหวัดนครราชสีมา เขต 10 ทั้งเขตทั้งมุกดาหาร, ศรีสะเกษ, อำนาจเจริญ, ยโสธร และอุบลราชธานี ซึ่งการจัดการในพื้นที่หลายจังหวัดพบประชาชนติดเชื้อเป็นผู้ที่เดินกลับจากพื้นที่สีแดงเข้ม จึงต้องเน้นย้ำให้จังหวัดนั้นๆต้องเฝ้าระวัง เนื่องจากศักยภาพของแต่ละจังหวัด ด้านสาธารณสุขที่มีอยู่เริ่มจะตึง มีอัตราครองเตียงบางพื้นที่สูงถึง70% รวมไปถึงมีจำนวนรายงานผู้ติดเชื้อและเสียชีวิตมากขึ้น เช่นเดียวกับบางจังหวัดที่มีนโยบายรับผู้ป่วยเดินทางกลับไปรักษาตัวที่ภูมิลำเนา ซึ่งระบบสาธารณสุขต้องคัดกรองประชาชนที่เดินทางเข้าพื้นที่อย่างเคร่งครัด

ขณะที่พบปัญหาพบผู้ติดเชื้อจากการตรวจ antigen rapid Test Kit หรือ ATK แล้วยังไม่เข้าสู่ระบบการรักษา ที่ประชุมศูนย์ปฏิบัติการศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด 19 หรือ ศปก.ศบค. หารือกันว่า เมื่อตรวจ ATK แล้วผลเป็นบวก เจ้าหน้าที่จะให้ ผู้ที่มีผลไปบวกไปตรวจเชื้อผ่านระบบ RT-PCR ก่อน เพื่อเข้าสู่ระบบ Community isolation แต่อย่างไรก็ตามพบว่า การตรวจ RT-PCR เป็นข้อจำกัดเนื่องจากไม่สามารถหาที่ตรวจได้ หรือตรวจแล้วเป็นกระบวนการที่ต้องใช้เวลา 1-2 วัน ที่ประชุม ศปก.ศบค.จึงหารือ โดยในเบื้องต้นขอให้ Community isolation รับผู้ที่มีผล ATK เป็นบวกเข้าไปก่อน เนื่องจากประชาชนกลุ่มนี้ไม่สามารถแยกกัก Home isolation ได้ด้วยความไม่พร้อมหลายอย่าง แต่จะต้องแยกออกจากผู้ป่วยที่อยู่ภายใน Community isolation ซึ่งหากยกเลิก RT-PCR ไปเลย ทาง กระทรวงสาธารณสุขยังมีความเป็นห่วง เนื่องจาก ATK มีความแม่นยำที่จำกัด จึงขอให้ติดตามหารือผลการประชุม

โดยในวันนี้ที่ประชุมศปก.ศบค. ยังได้หารือ ถึงมาตรการการขยายเตียง ซึ่งก่อนหน้านี้เตียงรองรับทั้งโรงพยาบาลหลัก 32 แห่งทั้งภาครัฐและเอกชน ICU สนาม 4 แห่ง โรงพยาบาลสนาม 7 แห่ง ซึ่งทั้งส่วนของโรงพยาบาลสนามและโรงพยาบาลหลักก็มีการปรับแผน อย่างต่อเนื่อง โดยมี ผอ. โรงพยาบาลบางปะกอก 1 ได้เสนอแผนโรงพยาบาลบางปะกอก 1 เข้ามาช่วยดูแลประชาชนที่ติดเชื้อ ในส่วนของ Community isolation จะสามารถเพิ่มได้อีก 200 เตียงในช่วงต้นเดือนสิงหาคม ในเขตทุ่งครุ Hospital จะร่วมกับโรงแรมคิน อยู่ที่เจริญนครเขตธนบุรี โดยจะสามารถเพิ่มเตียงได้อีก 500 เตียง ซึ่งเป็นการตรวจมาตรฐานโดย ศบศ.ผ่านแล้ว โรงแรมบางกอกซิตี้สวีท เขตราชเทวี 300 เตียง โรงพยาบาลสนาม อีก 140 เตียงในเขตราษฎร์บูรณะ แบ่งเป็นเตียงเหลือง 60 เตียง เปิดได้ 2 สิงหาคมนี้ และเตียงแดงอีก 30 เตียง เขียวอีก 50 เตียง ซึ่งจะเปิดในสิงหาคมนี้เช่นกัน นอกจากนี้โรงพยาบาลบางปะกอก 1 ยังได้ร่วมกับบริษัท บิ๊กซีเบอร์ลี่ยุคเกอร์ โรงพยาบาลบางปะกอก 1 ปรับ ward ที่มีอยู่อีก 100 เตียง ให้เป็นการรองรับผู้ป่วย covid สีเหลือง ในช่วงเดือนกันยายน

นอกจากนี้โรงพยาบาลปิยะเวท กำลังสำรวจพื้นที่รองรับทั้งพื้นที่สีเหลือง และผู้ป่วยสีแดง สี่มุมเมือง สุขสวัสดิ์ บางบอน รามอินทรารังสิต และโรงพยาบาลปิยะเวทร่วมกับหน่วยเอกชนในพื้นที่ สำนักงานเขตในพื้นที่ แต่มีความพยายามที่จะเพิ่มเตียงในระดับเหลืองและระดับแดง ขณะที่นายแพทย์เหรียญทอง แน่นหนา ผู้อำนวยการโรงพยาบาลมงกุฎวัฒนะ มีแผนเพิ่มเตียงทั้งหมด 3,320 เตียงภายในเดือนสิงหาคม โดย เปลี่ยนกลุ่มนี้นอกจากจะบวกไป 198 เตียงที่โรงพยาบาลสนามพลังแผ่นดินแล้ว จะเป็นเตียงในระดับที่จะดูแลผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจออกซิเจน High Flow ผู้ป่วยกลุ่มโรคไตที่ต้องฟอกเลือด หรือต้องผ่าตัดทำคลอด ส่วนโรงพยาบาลพลังแผ่นดิน 2 หรือพิทักษ์ราชัน จะเปิดเพิ่มอีก 720 เตียง และโรงพยาบาล พลังแผ่นดิน 3 หรือ โรงพยาบาลใต้ร่มพระบารมี ที่กำลังจะเกิดขึ้นอีก 1,800 เตียง โรงพยาบาลทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานจะเพิ่มศักยภาพจาก 320 เป็น 400 เตียง

โดยในสัปดาห์นี้จะพยายามเสนอตัวเลขให้เห็นภาพรวมการกระจายเตียงไปอยู่ในเขตพื้นที่ใดลงไปถึงประชาชนสามารถเข้าถึงบริการได้อย่างไรบ้าง ซึ่งต้องขอขอบคุณทุกภาคส่วน นายกรัฐมนตรีได้เน้นย้ำมาตลอดขอให้เป็นความร่วมมือของภาครัฐ เอกชน ประชาชน

ทั้งนี้แพทย์หญิงอภิสมัย ระบุถึง การฉีดวัคซีนซึ่งเป็นนโยบายที่จะต้องเร่งระดมการฉีดจะต้องฝากไปยังสถานีกลางบางซื่อให้ทบทวนการชะลอประชาชนเข้าไปรับบริการ เนื่องจากมีประชาชนจำนวนมากเข้ามารับบริการ ซึ่งในที่ประชุมมีการหารืออย่างเร่งด่วน เนื่องจากขณะนี้ยังอนุญาตให้สามารถ Walk in เข้ามาฉีดได้ จึงทำให้เกิดความหนาแน่นพอสมควร ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขเน้นย้ำว่าในทุกพื้นที่จังหวัดทั่วประเทศ ฉีดวัคซีนให้ได้ ร้อยละ 50 สำหรับเข็ม 1 โดยในปัจจุบันมีตัวเลขค่อนข้างช้าพอสมควร กรมควบคุมโรครายงานว่าในส่วนของจังหวัดอื่นๆมีการจัดส่งวัคซีนไปแล้ว ยังรอค้างอยู่อีก 2 ล้านโดส จึงขอให้เร่งระดมฉีดด้วย โดยขอให้เน้นย้ำเรื่องการจัดการเว้นระยะรวมไปถึงนัดหมายที่เหมาะสม เนื่องจากเปิดให้ walk in แล้วประชาชนเข้าไปแออัด ไม่สามารถจัดระบบได้อย่างปลอดภัยบางครั้งอาจเป็นจุดที่ก่อให้เกิดการแพร่เชื้อ โดยขอให้ประชาชนที่ต้องการ walk in เข้าไปฉีดวัคซีนติดตามสถานการณ์พื้นที่นั้นๆ

 

ติดตามเนื้อหาดีๆแบบนี้ได้ที่

Facebook : https://www.facebook.com/innnews.co.th

Twitter : https://twitter.com/innnews

Youtube : https://www.youtube.com/c/INNNEWS_INN

TikTok : https://www.tiktok.com/@inn_news

  • Tiktok
  • Youtube
  • Youtube