ศบค. ล็อกดาวน์ต่อ 14 วัน หากดีขึ้นอาจคลายล็อก
ศบค. เผย ขยายล็อกดาวน์ เริ่มเที่ยงคืนวันนี้ พร้อมติดตามผล 2 สัปดาห์ หากดีขึ้นจะมีการผ่อนคลาย
แพทย์หญิงอภิสมัย ศรีรังสรรค์ ผู้ช่วยโฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 หรือ ศบค. กล่าวถึงระยะเวลาการขยายล็อกดาวน์ที่มีการระบุว่าถึงวันที่ 31 ส.ค. 64 แต่ที่ประชุมมีข้อบังคับใช้ก่อน 14 วัน ว่า ข้อกำหนดที่ประกาศใหม่มีผลบังคับใช้ในวันจันทร์ตั้งแต่เวลา 00.00 น. เป็นต้นไป ซึ่งข้อบังคับให้ยึดตามประกาศวันที่ 31 ส.ค.64 แต่เมื่อมีการออกข้อกำหนดที่ประชุม ศบค.จะมีการประชุมเพื่อกำกับและติดตามผล ในระยะเวลา 2 สัปดาห์ หรือวันที่ 18 ส.ค.นี้ โดยจะมีการพิจารณาหากมีทิศทางที่ดีขึ้นอาจมีการผ่อนคลายได้ แต่กรณีที่ไม่ดีขึ้นหรือสถานการณ์ยังน่าเป็นห่วงจะสามารถยืดไปถึงวันที่ 31 ส.ค.64 ได้ จึงขอความร่วมมือประชาชน รวมถึงหน่วยงาน สปม. ทหาร และตำรวจ ที่มีการตั้งด่าน หากประชาชนมีความจำเป็นต้องเดินทางเจ้าหน้าที่ก็จะเรียกดูหลักฐานและอำนวยความสะดวกให้ดีที่สุด แต่หากประชาชนยังไม่มีความจำเป็นต้องเดินทางใน 14 วันนี้ ต้องร่วมมือกันลดการเดินทาง ซึ่งย้ำว่าหาก 14 วันนี้สถานการณ์ดีขึ้นจะมีการผ่อนคลายได้
ส่วนวัคซีนไฟเซอร์ที่สหรัฐอเมริกาส่งมอบให้ประเทศไทยเมื่อวันที่ 30 ก.ค.ที่ผ่านมา แพทย์หญิงอภิสมัย ระบุว่า การรายงานจากที่เป็นข่าวมีการส่งมอบ 1.54 ล้านโดส แต่ว่าในแง่ของการจัดการรัฐบาลไทยรับจริงในวันที่ 30 ก.ค. จำนวน 1,503,450 โดส ซึ่งยืนยันกลับไปที่สถานทูตอเมริกาเป็นตัวเลขที่ตรงกัน โดยในขั้นตอนการเจรจากับการรับจริงตัวเลขอาจจะต่างกันบ้าง แต่ยืนยันว่าตัวเลขที่รับจริงถูกต้อง ขอเน้นย้ำเรื่องการจัดสรรนอกจากทางไฟเซอร์ระบุว่าเป็นการกระตุ้นภูมิเข็มสามให้กับบุคลากรทางการแพทย์ ในแง่ของการกระจายจะมีการจัดสรรไปที่ผู้มีความเสี่ยงสูง ผู้สูงอายุผู้มีโรคประจำตัว รวมทั้งหญิงตั้งครรภ์ 12 สัปดาห์ขึ้นไป รวมถึงกลุ่มชาวต่างชาติที่พำนักอยู่ในประเทศไทย เน้นไปที่กลุ่มผู้สูงอายุและ 7 กลุ่มโรค รวมทั้งหญิงตั้งครรภ์ 12 สัปดาห์ขึ้นไปด้วยเช่นกัน และผู้ที่จำเป็นต้องเดินทางไปต่างประเทศ ซึ่งทางกระทรวงการต่างประเทศได้เน้นย้ำก่อนที่จะได้รับวัคซีนไฟเซอร์ ประเทศไทยได้มีการฉีดวัคซีนให้ชาวต่างชาติตั้งแต่เดือนพ.ค. เป็นต้นมาเกือบ 200,000 คน
ศบค.ย้ำยกระดับ 16 จังหวัด เพื่อคุมแพร่ระบาดโรงงาน-แคมป์คนงาน เป็นหลัก หวังสถานประกอบการยังเปิดกิจการได้แบบมีเงื่อนไขแพทย์หญิงอภิสมัย ศรีรังสรรค์ ผู้ช่วยโฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 หรือ ศบค. กล่าวว่า การปรับมาตรการยกระดับการป้องกันควบคุมโรคนำไปสู่การปรับพื้นที่สีแดงเข้มที่เพิ่มมาอีก 16 จังหวัด มีข้อสรุปในเรื่องการยกมาตรการควบคุมป้องกันโรคในสถานประกอบกิจการ รวมทั้งโรงงาน แคมป์แรงงาน บริษัท หรือการจัดกิจการที่มีลักษณะคนรวมกลุ่มจำนวนมาก โดยเน้นย้ำว่าเป็นการป้องกันควบคุมโรคในพื้นที่เฉพาะหรือการ Bubble and seal ซึ่งไม่ใช่เฉพาะแค่กิจการ สถานประกอบการ ที่มีรายงานการติดเชื้อหรือการระบาดแล้ว แต่ที่บังไม่มีการรายงานติดเชื้อ การระบาดเป็นคลัสเตอร์ จะได้รับข้อมูลจากจังหวัดเพื่อจัดการมาตรการบับเบิ้ลแอนด์ซิลอย่างเข้มงวด คือตรวจเฝ้าระวัง ลดการติดเชื้อในโรงงาน และหากมีการติดเชื้อในโรงงานสามารถค้นหาได้รวดเร็ว และลดการแพร่ระบาดออกไปยังชุมชน ซึ่งพยายามให้สถานประกอบการหรือโรงงานยังเปิดกิจการได้ แต่ต้องเปิดอย่างมีเงื่อนไข ขอให้มีการจัดกลุ่มต่างๆ ไม่ให้มารวมกลุ่มปะปนกัน แยกกิจกรรมเพื่อไม่ให้มีการติดเชื้อและแพร่ระบาดไปยังฝ่ายอื่นๆทั่วโรงงาน ส่วนบางสถานประกอบการที่พนักงานอยู่อีกพื้นที่หนึ่งบางทีเป็นการเดินทางข้ามจังหวัด เพื่อสามารถป้องกันการติดเชื้อ ควบคุมการแพร่ระบาดในพื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพ
แพทย์หญิงอภิสมัย กล่าวว่า เมื่อวานที่ประชุมยังได้สรุปข้อบังคับ เรื่องการขนส่งก๊าซทางการแพทย์ จึงมีความจำเป็นและส่วนหนึ่งจะมีออกซิเจนด้วยรวมทั้งก๊าซอื่นๆ ซึ่งที่ประชุม อนุญาตให้มีการยกเว้นข้อบังคับที่สำคัญ คือ 1. ข้อบังคับพนักงานจราจรทั่วราชอาณาจักรว่าด้วยการห้ามรถบรรทุกหกล้อขึ้นไปบนถนนบางสาย เช่น ก่อนหน้านี้ข้อบังคับนี้ระบุว่ารถบรรทุก 6 ล้อขึ้นไปไม่สามารถไม่สามารถขึ้นบนทางด่วน ซึ่งการขนส่งออกซิเจนให้ประชาชนหรือขนไปยังโรงพยาบาลสนามเป็นไปอย่างยากลำบาก ซึ่งส่วนนี้มีการกำหนดไว้แต่เดิมที่สามารถเดินรถได้ใบอนุญาตในช่วง 05.00-09.00 น. หรือ 15.00-21.00 น. และข้อบังคับเจ้าพนักงานจราจรในทางพิเศษการห้ามบรรทุกวัตถุอันตรายเดินในทางพิเศษ ช่วงเวลาเดียวกัน ซึ่งที่ประชุมมีข้อสรุปว่าสามารถยกเว้นได้เพื่อดำเนินการช่วยเหลือประชาชน สามารถปฏิบัติได้
ติดตามเนื้อหาดีๆแบบนี้ได้ที่
Facebook : https://www.facebook.com/innnews.co.th
Twitter : https://twitter.com/innnews
Youtube : https://www.youtube.com/c/INNNEWS_INN
TikTok : https://www.tiktok.com/@inn_news