Home
|
ทั่วไป

สสส. – สคอ. จัดแคมเปญ “ดื่มไม่ขับ กลับบ้านปลอดภัย”

Featured Image
สสส.ร่วมกับสคอ.และภาคีเครือข่าย แถลงข่าว “ดื่มไม่ขับ กลับบ้านปลอดภัย”

 

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับ สำนักงานเครือข่ายลดอุบัติเหตุ (สคอ.) และภาคีเครือข่าย จัดงานแถลงข่าว “ดื่มไม่ขับ กลับบ้านปลอดภัย” ปี 2565 ณ โรงแรมแกรนด์ริชมอนด์ สไตลิช คอนเวนชั่น จ.นนทบุรี เพื่อสร้างกระแสรับรู้ มอบความห่วงใย และชี้ผลกระทบความรุนแรงและความสูญเสียจากอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาล ซึ่งเป็นปีที่ 4 ของแคมเปญ “กลับบ้านปลอดภัย”

 

นางก่องกาญจน์ ทักษ์หิรัญฤทธิ์ ผู้ช่วยผอ.สำนักสนับสนุนการควบคุมปัจจัยเสี่ยงทางสังคม กล่าวว่า เนื่องจากใกล้ช่วงเทศกาลปีใหม่ประชาชนเตรียมแผนเดินทางท่องเที่ยวและกลับภูมิลำเนา ซึ่งกิจกรรมในวันนี้เป็นโอกาสเตือนให้ทุกคนท่องเที่ยวปีใหม่อย่างปลอดภัยและมีความสุข จากข้อมูลของสธ. ปี 2563 พบผู้บาดเจ็บจากอุบัติเหตุทางถนนถึง 799,009 คน และในจำนวนนี้อาจกลายเป็นผู้พิการถึง 4.6 % และในเทศกาลปีใหม่ 2565 นี้ สสส.และภาคีเครือข่ายจึงรณรงค์ผ่านแคมเปญ “รับไหว” เพื่อเตือนผู้ขับขี่ถึงผลกระทบจากอุบัติเหตุ และกระตุ้นให้กลุ่มผู้ใกล้ตัวของผู้ดื่ม ช่วยกันเตือนสติของผู้ดื่มที่บอกว่า “ขับไหว” ด้วยคำว่า ” รับไหวหรือ?” คอยเตือนสติว่า ผลจากที่บอกว่าขับไหวจะรับไหวหรือถ้าเกิดการเสียชีวิตของคนในครอบครัว เป็นที่มาของแมสเสจ “รับไม่ไหว…อย่าบอกขับไหว”

 

ภก.สงกรานต์ ภาคโชคดี ผอ.สำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า (สคล.) ระบุว่า ในช่วงที่โควิดระบาดหนัก ทำให้อุบัติเหตุทางถนนลดน้อยลง นอกจากนี้เยาวชนยังถูกสื่อออนไลน์ทำให้กลายเป็นนักดื่มหน้าใหม่ที่อายุลดลง อีกทั้งการดื่มแอลกอฮอล์ทำให้ภูมิต้านทานลดลง ลดประสิทธิภาพของวัคซีนโควิด-19 เพิ่มการกระจายเชื้อเนื่องจากคลัสเตอร์ในวงเหล้า ทางที่ดีที่สุดคือ ลด ละ เลิก แอลกอฮอล์

 

นพ.ธนะวัฒน์ วงศ์ผัน รองนายแพทย์สาธารณสุขจ.สระบุรี กล่าวถึงอุบัติเหตุในช่วงการระบาดของโควิด-19ว่า ในช่วงที่มีการเคอร์ฟิว ทำให้ผู้ประสบอุบัติเหตุทางท้องถนนลดลง แต่เมื่อมีการคลายมาตรการปัญหาอุบัติเหตุเริ่มกลับมาอีกครั้ง ส่วนใหญ่เกิดจากการขับรถเร็วและการดื่มเหล้า และเมื่ออุบัติเหตุเกิดขึ้นจะต้องตรวจยืนยันการติดเชื้อโควิด-19 ซึ่งเป็นการเพิ่มภาระให้กับบุคลากรทางการแพทย์ นพ.ธนะวัฒน์ยังกล่าวเสริมว่า เสียงที่มักจะได้ยินหน้าห้องฉุกเฉินมักจะเป็นเสียงของครอบครัวที่กรีดร้องอยู่เสมอ ไม่ใช่เพื่อนฝูงที่ตั้งวงดื่มเหล้าด้วยกัน เมื่อเกิดอุบัติเหตุ คนที่เสียใจที่สุดก็คือครอบครัวของผู้บาดเจ็บเอง

 

ด้านนายพรหมมินทร์ กันธิยะ ผอ.สำนักงานเครือข่ายลดอุบัติเหตุ (สคอ.) ให้ข้อมูลจาก ศูนย์วิชาการความปลอดภัยทางถนน ระบุว่า ผู้ขับขี่ที่บาดเจ็บและชีวิตช่วงปี 2564 ตรวจพบแอลในเลือดสูงกว่าช่วงเวลาเดียวกันในปี 2563 มากถึง 17% ในปี 2564 มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิต 5,387 ราย มากกว่าปี 2563 ที่มีผู้บาดเจ็บและชีวิต 4,415 ราย ในการเสียชีวิตเหล่านั้นมีการเกี่ยวข้องกับการดื่มสุรา โดยพฤติกรรมคนไทยปี 50-64 มีพฤติกรรมดื่มประจำถึง 44% ร้อยละ 36 จากจำนวนดังกล่าว คือคนดื่มหนัก และยังมีการดื่มแล้วขับสูงถึงร้อยละ 31

 

นอกจากนี้ล่วงปีใหม่นี้ทางสสส.และเครือข่ายได้เตรียมการทั่วประเทศที่จะสื่อสารเรื่องอุบัติเหตุ ขอทางผู้ว่าฯจังหวัดทั่วประเทศให้เข้มข้นเรื่องการเมาไม่ขับ โดยเฉพาะเด็กและเยาวชนที่อายุไม่เกิน 20ปี ถ้าเกิดอุบัติเหตุให้สอบถามไปถึงร้านค้าที่ขายแอลกอฮอล์ให้กับเยาวชนด้วย

 

 

 

 

 

 

ติดตามเนื้อหาดีๆแบบนี้ได้ที่

Facebookhttps://www.facebook.com/innnews.co.th

Twitterhttps://twitter.com/innnews

Youtubehttps://www.youtube.com/c/INNNEWS_INN

TikTokhttps://www.tiktok.com/@inn_news

LINE Official Account@innnews

  • Tiktok
  • Youtube
  • Youtube