Home
|
ทั่วไป

บ้านหาดเล็ก อำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด

Featured Image
บ้านหาดเล็ก อำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด  ขุมทรัพย์แห่งการท่องเที่ยว @ชายฝั่งชายแดนภาคตะวันออก

 

 

 

บ้านหาดเล็ก อำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด เป็นชุมชนชายแดนชายฝั่งทะเลภาคตะวันออกมีความอุดมสมบูรณ์ทั้งทรัพยากรทางธรรมชาติทั้งทางบกและทางทะเล ชาวบ้านส่วนใหญ่ดำรงชีวิตอยู่ด้วยการทำประมงพื้นบ้าน ความอุดมสมบูรณ์ ยังนำมาสู่การ ปรับเปลี่ยน การทำกิจกรรมจากประมงพื้นบ้าน สู่การประกอบอาชีพประมงเชิงพาณิชย์ในระยะต่อมา

 

ชุมชนชายแดนแห่งนี้เผชิญกับปัญหาต่าง ๆ เรื่อยมา ในปี พ.ศ.2540 ผลกระทบจากเกิดปัญหาภัยธรรมชาติ นำพาความอุดมสมบูรณ์ของระบบนิเวศออกไปจากชุมชนหาดเล็ก ผลกระทบครั้งนั้นนำมาสู่การแย่งชิงทรัพยากรโดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณเขต3 ไมล์ทะเล

 

ในตำบลหาดเล็ก มีพื้นดินเพียงน้อยนิดไม่สามารถมีรายได้จากส่วนอื่นๆ เช่นการเพาะปลูกไม้ผล เพราะมีเทือกเขาบรรทัดกั้นระหว่างประเทศไทย-กัมพูชา ไม่สามารถทำเกษตรเฉกเช่นเดียวกับพื้นที่อื่น ๆ ชาวบ้านใช้พื้นที่เชิงเขาบรรทัดเป็นที่พักอาศัย ส่วนทางด้านทิศตะวันตกติดอ่าวไทย เมื่อทรัพยากรไม่เพียงพอต่อการยังชีพเช่นนี้จึงทำให้คนหนุ่มสาวจำนวนหนึ่งออกนอกพื้นที่เพื่อประกอบอาชีพอื่น

 

นอกจากภัยธรรมชาติ ข้อจำกัดในเชิงพื้นที่แล้ว ชาวประมงในตำบลหาดเล็กยังได้รับผลกระทบจากกฎหมายที่ได้สร้างข้อจำกัดในการประกอบอาชีพและการดำรงชีวิตโดยในปีพ.ศ. 2558 สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ประกาศใช้พระราชบัญญัติการประมง พ.ศ.2558 พระราชบัญญัติดังกล่าวมีข้อกำหนดในการจัดการประมงผิดกฎหมาย ได้แก่ การควบคุมเรือประมงหากไม่ขึ้นทะเบียน ไม่มีใบมอบอนุญาต หรือที่เรียกกันว่า “อาชญาบัตร” จะไม่สามารถออกจับปลาได้ มีการห้ามใช้เรืออวนลาก การติดตั้งเครื่องมือติดตามเรือสำหรับประมงนอกน่านน้ำขนาด 60 ตันกรอสขึ้นไป รวมถึงการใช้ระบบควบคุมการแจ้งเข้า-ออกของเรือประมงขนาด 30 ตันกรอส ขึ้นไป นอกจากที่กล่าวมาแล้วมีเงื่อนไขอื่นๆ อีกกว่า 15 มาตรา (คณะอนุกรรมการยุทธศาสตร์เศรษฐกิจฐานราก, 2559)กฎหมายฉบับนี้ครอบคลุมทั้งกิจการเรือประมงพาณิชย์และประมงพื้นบ้าน เป็นสาเหตุให้เรือประมงพาณิชย์บางส่วนย้ายไปประกอบกิจกรรม ณ ท่าเรือปากคลอง ประเทศกัมพูชา เพื่อหาปลาในเขตน่านน้ำของกัมพูชาและขนสินค้าประมง เมื่อเรือประมงพาณิชย์ส่วนใหญ่ขยับขยายออกจากพื้นที่จึงส่งผลให้เศรษฐกิจในพื้นที่บ้านหาดเล็กซบเซายิ่งขึ้นไปอีก

จากปัญหาที่ถาโถม ทั้งภัยธรรมชาติ กฎหมาย และโรคระบาด ซ้ำแล้วซ้ำเล่า แต่ยังคงมีความพยายาม ที่จะปลุกปั้นให้ชุมชนหาดเล็กฟื้นคืนชีวิตได้อีกครั้งอย่างไม่ย่อท้อ  โดยการให้ความสำคัญกับการพึ่งพาตนเองมากขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่ง การดูแลทรัพยากรธรรมชาติเพื่อหวังฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเลให้คืนกลับมาโดยเร็ว เป็นการปรับตัวให้สามารถดำรงวิถีชีวิตอยู่ได้ โดยการจัดการท่องเที่ยวชุมชนเชิงนิเวศการทำกิจกรรมด้านการท่องเที่ยวควบคู่ไปกับการประกอบอาชีพประมงการจัดกิจกรรมการท่องเที่ยวชุมชน  งานเทศกาลประเพณี ลอยกระทง 2 แผ่นดิน กิจกรรมการแพเปียก แต่ก็ต้องระงับไปการแพร่ระบาดของ Covid19 เมื่อ พ.ศ.2562ยิ่งทำให้ชีวิตของชาวบ้านในตำบลหาดเล็ก ถูกกระหน่ำซ้ำเติม ให้ย่ำแย่ลงไปอีก เพราะจุดผ่านแดนถาวรบ้านหาดเล็ก ต้องปิดด่านเป็นการชั่วคราวเพื่อป้องกันการแพร่ระบาด ทำให้ ตลาดการค้าชายแดนบ้านหาดเล็กต้องปิดลงส่งผลกระทบอย่างกว้างขวาง อาทิ กลุ่มที่ประกอบอาชีพสองแถวคอยรับนักท่องเที่ยวต้องหยุดดำเนินการ กลุ่มผู้ค้าปลีกและส่งบริเวณชายแดน

 

อย่างไรก็ตามในระหว่างที่รอให้สถานโควิดเบาบางลง กิจกรรม

บ้านหาดเล็ก อำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด

ขุมทรัพย์แห่งการท่องเที่ยว @ชายฝั่งชายแดนภาคตะวันออก

 

บ้านหาดเล็ก อำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด เป็นชุมชนชายแดนชายฝั่งทะเลภาคตะวันออกมีความอุดมสมบูรณ์ทั้งทรัพยากรทางธรรมชาติทั้งทางบกและทางทะเล ชาวบ้านส่วนใหญ่ดำรงชีวิตอยู่ด้วยการทำประมงพื้นบ้าน ความอุดมสมบูรณ์ ยังนำมาสู่การ ปรับเปลี่ยน การทำกิจกรรมจากประมงพื้นบ้าน สู่การประกอบอาชีพประมงเชิงพาณิชย์ในระยะต่อมา

 

ชุมชนชายแดนแห่งนี้เผชิญกับปัญหาต่าง ๆ เรื่อยมา ในปี พ.ศ.2540 ผลกระทบจากเกิดปัญหาภัยธรรมชาติ นำพาความอุดมสมบูรณ์ของระบบนิเวศออกไปจากชุมชนหาดเล็ก ผลกระทบครั้งนั้นนำมาสู่การแย่งชิงทรัพยากรโดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณเขต3 ไมล์ทะเล

 

ในตำบลหาดเล็ก มีพื้นดินเพียงน้อยนิดไม่สามารถมีรายได้จากส่วนอื่นๆ เช่นการเพาะปลูกไม้ผล เพราะมีเทือกเขาบรรทัดกั้นระหว่างประเทศไทย-กัมพูชา ไม่สามารถทำเกษตรเฉกเช่นเดียวกับพื้นที่อื่น ๆ ชาวบ้านใช้พื้นที่เชิงเขาบรรทัดเป็นที่พักอาศัย ส่วนทางด้านทิศตะวันตกติดอ่าวไทย เมื่อทรัพยากรไม่เพียงพอต่อการยังชีพเช่นนี้จึงทำให้คนหนุ่มสาวจำนวนหนึ่งออกนอกพื้นที่เพื่อประกอบอาชีพอื่น

 

นอกจากภัยธรรมชาติ ข้อจำกัดในเชิงพื้นที่แล้ว ชาวประมงในตำบลหาดเล็กยังได้รับผลกระทบจากกฎหมายที่ได้สร้างข้อจำกัดในการประกอบอาชีพและการดำรงชีวิตโดยในปีพ.ศ. 2558 สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ประกาศใช้พระราชบัญญัติการประมง พ.ศ.2558 พระราชบัญญัติดังกล่าวมีข้อกำหนดในการจัดการประมงผิดกฎหมาย ได้แก่ การควบคุมเรือประมงหากไม่ขึ้นทะเบียน ไม่มีใบมอบอนุญาต หรือที่เรียกกันว่า “อาชญาบัตร” จะไม่สามารถออกจับปลาได้ มีการห้ามใช้เรืออวนลาก การติดตั้งเครื่องมือติดตามเรือสำหรับประมงนอกน่านน้ำขนาด 60 ตันกรอสขึ้นไป รวมถึงการใช้ระบบควบคุมการแจ้งเข้า-ออกของเรือประมงขนาด 30 ตันกรอส ขึ้นไป นอกจากที่กล่าวมาแล้วมีเงื่อนไขอื่นๆ อีกกว่า 15 มาตรา (คณะอนุกรรมการยุทธศาสตร์เศรษฐกิจฐานราก, 2559)กฎหมายฉบับนี้ครอบคลุมทั้งกิจการเรือประมงพาณิชย์และประมงพื้นบ้าน เป็นสาเหตุให้เรือประมงพาณิชย์บางส่วนย้ายไปประกอบกิจกรรม ณ ท่าเรือปากคลอง ประเทศกัมพูชา เพื่อหาปลาในเขตน่านน้ำของกัมพูชาและขนสินค้าประมง เมื่อเรือประมงพาณิชย์ส่วนใหญ่ขยับขยายออกจากพื้นที่จึงส่งผลให้เศรษฐกิจในพื้นที่บ้านหาดเล็กซบเซายิ่งขึ้นไปอีก

 

จากปัญหาที่ถาโถม ทั้งภัยธรรมชาติ กฎหมาย และโรคระบาด ซ้ำแล้วซ้ำเล่า แต่ยังคงมีความพยายาม ที่จะปลุกปั้นให้ชุมชนหาดเล็กฟื้นคืนชีวิตได้อีกครั้งอย่างไม่ย่อท้อ  โดยการให้ความสำคัญกับการพึ่งพาตนเองมากขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่ง การดูแลทรัพยากรธรรมชาติเพื่อหวังฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเลให้คืนกลับมาโดยเร็ว เป็นการปรับตัวให้สามารถดำรงวิถีชีวิตอยู่ได้ โดยการจัดการท่องเที่ยวชุมชนเชิงนิเวศการทำกิจกรรมด้านการท่องเที่ยวควบคู่ไปกับการประกอบอาชีพประมงการจัดกิจกรรมการท่องเที่ยวชุมชน  งานเทศกาลประเพณี ลอยกระทง 2 แผ่นดิน กิจกรรมการแพเปียก แต่ก็ต้องระงับไปการแพร่ระบาดของ Covid19 เมื่อ พ.ศ.2562ยิ่งทำให้ชีวิตของชาวบ้านในตำบลหาดเล็ก ถูกกระหน่ำซ้ำเติม ให้ย่ำแย่ลงไปอีก เพราะจุดผ่านแดนถาวรบ้านหาดเล็ก ต้องปิดด่านเป็นการชั่วคราวเพื่อป้องกันการแพร่ระบาด ทำให้ ตลาดการค้าชายแดนบ้านหาดเล็กต้องปิดลงส่งผลกระทบอย่างกว้างขวาง อาทิ กลุ่มที่ประกอบอาชีพสองแถวคอยรับนักท่องเที่ยวต้องหยุดดำเนินการ กลุ่มผู้ค้าปลีกและส่งบริเวณชายแดน

อย่างไรก็ตามในระหว่างที่รอให้สถานโควิดเบาบางลง กิจกรรมต่าง ๆ ยังคงขับเคลื่อนต่อไป โดจะเห็นว่าตำบลหาดเล็ก มีอยู่ 5 หมู่บ้าน แต่ละหมู่บ้านมีความโดดเด่นและหลากหลาย เช่น บ้านหมู่1 คลองมะขาม และหมู่ 2 บ้านโขดทราย ชาวบ้านมีการสร้างบ้าน อยู่ในน้ำและจอดเรือไว้ บริเวณที่อยู่อาศัย ในอดีตทีนี้เคยมีปัญหาเกี่ยวกับการปลูกบ้านในน้ำ แต่ชาวบ้านรวมทั้งองค์กรปกครองท้องถิ่นดูแลรักษา ผืนน้ำผืนป่าและระบบนิเวศน์ จึงทำให้กรมเจ้าท่าเห็นถึงความตั้งใจและการรวมพลังเพื่อพัฒนาชุมชนให้ดีขึ้นตามนโยบายของรัฐบาลและนำมาสู่การอนุญาต ให้มีการสร้างที่อยู่อาศัยในน้ำ ภายใต้ชื่อ “หาดเล็กโมเดล” ซึ่งถือได้ว่าเป็นการเดินหน้าพัฒนาโครงการบ้านมั่นคงในพื้นที่ของกรมเจ้าท่าและในที่สุดทำให้ “หาดเล็กโมเดล” ชุมชนในน้ำ ต้นแบบบ้านมั่นคงในที่ดินกรมเจ้าท่าและในปัจจุบันเรียเรียกว่า“บ้านในน้ำ”

 

ส่วนในหมู่บ้านอื่นๆเช่นหมู่ที่ 3 บ้านหาดศาลเจ้า เป็นพื้นที่ ที่ชาวบ้านยังคงมีการอนุรักษ์ รักษาวิธีการทำ ประมงแบบพื้นบ้าน กุ้งหอยปูปลา ที่ชาวบ้านหามาจะถูกนำมา รวบรวมไว้ เพื่อจำหน่ายทั้งในชุมชน รวมถึงรอให้ พ่อค้าแม่ค้าจากต่างพื้นที่ เข้ามาซื้อขาย และนำไปขายนอกพื้นที่อีกทอดหนึ่ง

 

ปัญหาที่ชาวชุมชนพบเจอตลอดมา  ทำให้ชาวบ้านได้เรียนรู้ในการทำกิจกรรมเพื่อเสริมเศรษฐกิจที่มีฐานของการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติการทำประมงเชิงอนุรักษ์ควบคู่กับกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ก่อให้เกิดรายได้หมุนเวียนในชุมชนนอกจากนั้นยังมีความพยายามสงวนอาชีพประมงพื้นบ้านให้คงอยู่ เพราะเป็นเพียงอาชีพเดียวที่สร้างรายได้หลักให้กับพวกเขา

 

ลำพัง ความตั้งใจของชาวบ้าน เพียงอย่างเดียวอาจเป็น อุปสรรคที่ทำให้การขับเคลื่อนกิจกรรมในชุมชนล่าช้า แต่วันนี้ยังมีองค์กรปกครองท้องถิ่นอย่างเทศบาลตำบลหาดเล็กอำเภอคลองใหญ่จังหวัดตราด มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน ที่เข้ามาช่วยหนุนเสริมทำให้ชาวบ้านได้มีกำลังใจในการขับเคลื่อนกิจกรรมต่าง ๆ ในพื้นที่

 

จากเดิมที่เริ่มท้อแท้ในวันนี้ชาวบ้านยังได้ร่วมกัน ดึงเอาศักยภาพของชุมชน มาเตรียมความพร้อมในการจัดการท่องเที่ยว ได้อย่างมีประสิทธิภาพเช่น แหล่งท่องเที่ยวชุมชนเชิงนิเวศมีแหล่งท่องเที่ยวที่จะสามารถนำมาใช้ในการจัดการท่องเที่ยวชุมชนเชิงนิเวศที่มีทั้งชายหาดเล็กที่สุดในภาคตะวันออกกว้างเพียง6 เมตร มีป่าชายเลนครอบคลุมพื้นที่กว่า 100 ไร่ ,มีพื้นที่มีส่วนที่แคบที่สุดในประเทศไทยเพียง 450 เมตร ณ บริเวณหมู่ที่ 2 บ้านโขดทรายปัจจุบันมีการปรับปรุงสถานที่สำหรับนักท่องเที่ยวเป็นจุดชมวิวที่นักท่องเที่ยวสามารถขึ้นไปถ่ายรูป ชื่นชมบรรยากาศและทิวทัศน์สามารถมองเห็นเกาะกูดได้อีกด้วย

 

แหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ของชุมชนชายแดน 2 แผ่นดินการมีประวัติศาสตร์ชายแดนร่วมกันทำให้ชาวบ้านของทั้ง 2 ประเทศยังไปมาหาสู่มีการสื่อสารเป็นภาษาไทยและกัมพูชา นอจากนั้นยังมีเรื่องราวที่เกี่ยวพันประวัติศาสตร์การเมืองของไทย หลังเกิดเหตุรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ.2500 จอมพล ป.พิบูลสงคราม อดีตนายกรัฐมนตรี ลี้ภัยทางการเมืองโดยล่องเรือออกนอกประเทศ จากการเหตุการณ์ในครั้งนั้น จึงนับได้ว่าบ้านหาดเล็กเป็นจุดสุดท้าย หรือก้าวสุดท้าย ของจอมพลป.ที่มิได้กลับมาที่ประเทศไทยอีกเลย

 

การเดินทางจากจันทบุรีมุ่งหน้าสู่ชายแดนไทยกัมพูชากว่า 151 กิโลเมตร ใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมง แต่สิ่งที่ทำให้ ตำบลหาดเล็กอำเภอคลองใหญ่จังหวัดตราดมีความโดดเด่น เป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่ต้องห้ามพลาดมิใช่มีเพียงแค่ระบบนิเวศที่สวยงาม อุดมสมบูรณ์ หรือการเป็นพื้นที่ประวัติศาสตร์แต่ที่บ้านหาดเล็ก ยังมีกิจกรรมและสถานที่ท่องเที่ยวท่ามกลางบรรยากาศของทะเล เรียบขนานกับเทือกเขาบรรทัดที่กั้นระหว่างประเทศไทยและประเทศกัมพูชารวมถึงอาหารที่มีความสดใหม่สะอาด มีที่พักที่สะอาดปลอดภัย รวมถึงผู้คนในชุมชนแห่งนี้ที่มีรอยยิ้มและมิตรภาพรอรับนักท่องเที่ยว ชุมชนชายแดนไทยกัมพูชา

 

ต่าง ๆ ยังคงขับเคลื่อนต่อไป โดจะเห็นว่าตำบลหาดเล็ก มีอยู่ 5 หมู่บ้าน แต่ละหมู่บ้านมีความโดดเด่นและหลากหลาย เช่น บ้านหมู่1 คลองมะขาม และหมู่ 2 บ้านโขดทราย ชาวบ้านมีการสร้างบ้าน อยู่ในน้ำและจอดเรือไว้ บริเวณที่อยู่อาศัย ในอดีตทีนี้เคยมีปัญหาเกี่ยวกับการปลูกบ้านในน้ำ แต่ชาวบ้านรวมทั้งองค์กรปกครองท้องถิ่นดูแลรักษา ผืนน้ำผืนป่าและระบบนิเวศน์ จึงทำให้กรมเจ้าท่าเห็นถึงความตั้งใจและการรวมพลังเพื่อพัฒนาชุมชนให้ดีขึ้นตามนโยบายของรัฐบาลและนำมาสู่การอนุญาต ให้มีการสร้างที่อยู่อาศัยในน้ำ ภายใต้ชื่อ “หาดเล็กโมเดล” ซึ่งถือได้ว่าเป็นการเดินหน้าพัฒนาโครงการบ้านมั่นคงในพื้นที่ของกรมเจ้าท่าและในที่สุดทำให้ “หาดเล็กโมเดล” ชุมชนในน้ำ ต้นแบบบ้านมั่นคงในที่ดินกรมเจ้าท่าและในปัจจุบันเรียเรียกว่า“บ้านในน้ำ”

 

ส่วนในหมู่บ้านอื่นๆเช่นหมู่ที่ 3 บ้านหาดศาลเจ้า เป็นพื้นที่ ที่ชาวบ้านยังคงมีการอนุรักษ์ รักษาวิธีการทำ ประมงแบบพื้นบ้าน กุ้งหอยปูปลา ที่ชาวบ้านหามาจะถูกนำมา รวบรวมไว้ เพื่อจำหน่ายทั้งในชุมชน รวมถึงรอให้ พ่อค้าแม่ค้าจากต่างพื้นที่ เข้ามาซื้อขาย และนำไปขายนอกพื้นที่อีกทอดหนึ่ง

 

ปัญหาที่ชาวชุมชนพบเจอตลอดมา  ทำให้ชาวบ้านได้เรียนรู้ในการทำกิจกรรมเพื่อเสริมเศรษฐกิจที่มีฐานของการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติการทำประมงเชิงอนุรักษ์ควบคู่กับกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ก่อให้เกิดรายได้หมุนเวียนในชุมชนนอกจากนั้นยังมีความพยายามสงวนอาชีพประมงพื้นบ้านให้คงอยู่ เพราะเป็นเพียงอาชีพเดียวที่สร้างรายได้หลักให้กับพวกเขา

 

ลำพัง ความตั้งใจของชาวบ้าน เพียงอย่างเดียวอาจเป็น อุปสรรคที่ทำให้การขับเคลื่อนกิจกรรมในชุมชนล่าช้า แต่วันนี้ยังมีองค์กรปกครองท้องถิ่นอย่างเทศบาลตำบลหาดเล็กอำเภอคลองใหญ่จังหวัดตราด มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน ที่เข้ามาช่วยหนุนเสริมทำให้ชาวบ้านได้มีกำลังใจในการขับเคลื่อนกิจกรรมต่าง ๆ ในพื้นที่

 

จากเดิมที่เริ่มท้อแท้ในวันนี้ชาวบ้านยังได้ร่วมกัน ดึงเอาศักยภาพของชุมชน มาเตรียมความพร้อมในการจัดการท่องเที่ยว ได้อย่างมีประสิทธิภาพเช่น แหล่งท่องเที่ยวชุมชนเชิงนิเวศมีแหล่งท่องเที่ยวที่จะสามารถนำมาใช้ในการจัดการท่องเที่ยวชุมชนเชิงนิเวศที่มีทั้งชายหาดเล็กที่สุดในภาคตะวันออกกว้างเพียง6 เมตร มีป่าชายเลนครอบคลุมพื้นที่กว่า 100 ไร่ ,มีพื้นที่มีส่วนที่แคบที่สุดในประเทศไทยเพียง 450 เมตร ณ บริเวณหมู่ที่ 2 บ้านโขดทรายปัจจุบันมีการปรับปรุงสถานที่สำหรับนักท่องเที่ยวเป็นจุดชมวิวที่นักท่องเที่ยวสามารถขึ้นไปถ่ายรูป ชื่นชมบรรยากาศและทิวทัศน์สามารถมองเห็นเกาะกูดได้อีกด้วย

 

แหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ของชุมชนชายแดน 2 แผ่นดินการมีประวัติศาสตร์ชายแดนร่วมกันทำให้ชาวบ้านของทั้ง 2 ประเทศยังไปมาหาสู่มีการสื่อสารเป็นภาษาไทยและกัมพูชา นอจากนั้นยังมีเรื่องราวที่เกี่ยวพันประวัติศาสตร์การเมืองของไทย หลังเกิดเหตุรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ.2500 จอมพล ป.พิบูลสงคราม อดีตนายกรัฐมนตรี ลี้ภัยทางการเมืองโดยล่องเรือออกนอกประเทศ จากการเหตุการณ์ในครั้งนั้น จึงนับได้ว่าบ้านหาดเล็กเป็นจุดสุดท้าย หรือก้าวสุดท้าย ของจอมพลป.ที่มิได้กลับมาที่ประเทศไทยอีกเลย

 

การเดินทางจากจันทบุรีมุ่งหน้าสู่ชายแดนไทยกัมพูชากว่า 151 กิโลเมตร ใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมง แต่สิ่งที่ทำให้ ตำบลหาดเล็กอำเภอคลองใหญ่จังหวัดตราดมีความโดดเด่น เป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่ต้องห้ามพลาดมิใช่มีเพียงแค่ระบบนิเวศที่สวยงาม อุดมสมบูรณ์ หรือการเป็นพื้นที่ประวัติศาสตร์แต่ที่บ้านหาดเล็ก ยังมีกิจกรรมและสถานที่ท่องเที่ยวท่ามกลางบรรยากาศของทะเล เรียบขนานกับเทือกเขาบรรทัดที่กั้นระหว่างประเทศไทยและประเทศกัมพูชารวมถึงอาหารที่มีความสดใหม่สะอาด มีที่พักที่สะอาดปลอดภัย รวมถึงผู้คนในชุมชนแห่งนี้ที่มีรอยยิ้มและมิตรภาพรอรับนักท่องเที่ยว ชุมชนชายแดนไทยกัมพูชา

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ติดตามเนื้อหาดีๆแบบนี้ได้ที่

Facebook : https://www.facebook.com/innnews.co.th

Twitter : https://twitter.com/innnews

Youtube : https://www.youtube.com/c/INNNEWS_INN

TikTok : https://www.tiktok.com/@inn_news

LINE Official Account : @innnews

  • Tiktok
  • Youtube
  • Youtube