งานวิจัยเผย “โรคอ้วน”ในชายส่งผลต่อคุณภาพของสเปิร์ม เสี่ยงภาวะมีบุตรยาก
โรคอ้วน คือ ภาวะน้ำหนักเกินที่เกิดจากร่างกายสะสมไขมันไว้มากเกินปกติ หรือมากกว่าที่ร่างกายจะเผาผลาญจึงสะสมไขมันไว้ตามอวัยวะต่างๆในร่างกายเสี่ยงต่อ “โรคเบาหวาน” และปัญหาสุขภาพอื่นๆ รวมถึงส่งผลต่อคุณภาพของสเปิร์มและภาวะมีบุตรยากอีกด้วย
“ครูก้อย นัชชา ลอยชูศักดิ์” กรรมการบริหาร บริษัท เบบี้แอนด์มัม (ประเทศไทย) จำกัด ครูวิทยาศาสตร์ผู้ก่อตั้งเพจให้ความรู้เตรียมตั้งครรภ์ตามหลักวิทยาศาสตร์ยืนหนึ่งในใจผู้มีบุตรยากhttps://www.facebook.com/BabyAndMom.co.th/ เผยว่า ปัญหาภาวะมีบุตรยากจากฝ่ายชายพบมากถึง 25% จากภาวะมีบุตรยากทั้งหมด ซึ่งปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะมีบุตรยากในฝ่ายชายนั้นมีหลายปัจจัย ตั้งแต่ปัญหาทางกายภาพ อายุที่มากขึ้น โรคประจำตัว ปัจจัยภายนอกทางสิ่งแวดล้อมและไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิต เช่น สูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ การพักผ่อน และการออกกำลังกาย และวิถีชีวิตที่เร่งรีบทำให้การดูแลสุขภาพนั้นไม่ดีเท่าที่ควรโดยเฉพาะในเรื่องของอาหารการกิน หลาย ๆ คนไม่ทานอาหารเช้า หรือเลือกที่จะทานอาหารแปรรูป ทานอาหารสำเร็จรูป อาหารแบบเร่งด่วน (Fast Food) ซึ่งในอาหารจำพวกนี้มักมีสารอาหารไม่ครบถ้วนและส่วนใหญ่ยังประกอบไปด้วยคาร์โบไฮเดรต และไขมันที่มากเกินความจำเป็นของร่างกายและขาดการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ส่งผลให้มีภาวะอ้วนตามมา ซึ่งจากการศึกษาและรวบรวมงานวิจัยเกี่ยวกับภาวะมีบุตรยากในชายหลายฉบับรวมถึงโภชนาการเสริมภาวะเจริญพันธุ์ในชาย พบว่า “โรคอ้วน” ส่งผลต่อส่งผลต่อการมีบุตรยาก โดยมีรายงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร Reproduction เมื่อปี 2017 จากงานวิจัยเรื่อง Obesity, a serious etiologic factor for male subfertility in modern society รายงานว่า”โรคอ้วน”ทำลายคุณภาพของสเปิร์มส่งผลต่อการมีบุตรยาก ดังนี้
1.โรคอ้วนนำไปสู่ภาวะฮอร์โมนเพศชายต่ำ (Obesity leads to hypogonadism)เป็นภาวะที่ร่างกายผลิตฮอร์โมนเพศชายหรือ เทสโทสเตอโรน (Testosterone) ได้ไม่เพียงพอ ซึ่งเป็นฮอร์โมนเพศหลักในผู้ชายที่ผลิตโดยลูกอัณฑะหลังได้รับการกระตุ้นจากต่อมใต้สมองมีหน้าที่ในการพัฒนาลักษณะทางกายภาพให้แสดงความเป็นชายคอยควบคุมการทำงานของระบบต่างๆในร่างกาย มีส่วนช่วยในการสร้างและรักษามวลกล้ามเนื้อ มวลกระดูก รวมไปถึง “ระบบการสร้างสเปิร์ม” อีกทั้งยังมีบทบาทสำคัญ ในการพัฒนาบุคลิกทางเพศเมื่อขาดฮอร์โมนชนิดนี้จะส่งผลให้ร่างกายไม่มีแรง ความรู้สึกและอารมณ์ทางเพศลดลง และมีการผลิตอสุจิน้อยลง ซึ่งนำไปสู่ภาวะมีลูกยากได้
2.โรคอ้วนเหนี่ยวนำให้เกิดการอักเสบในร่างกาย (Obesity induces inflammation)และกระตุ้นให้อนุมูลอิสระในร่างกายเพิ่มมากขึ้นโดยการอักเสบในร่างกายจะส่งผลต่อการเจริญเติบโตของสเปิร์ม (Sperm maturation) อ้างอิงจากงายวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร Journal Reproduction & infertility เมื่อปี 2015 ศึกษาพบว่า เมื่อร่างกายอักเสบจะส่งผลให้ร่างกายผลิต Reactive oxygen species (ROS) หรือ อนุมูลอิสระออกมามาก และอนุมูลอิสระนี้ส่งผลให้ระบบสืบพันธุ์เพศชายรวมถึงระบบการสร้างสเปิร์มด้อยคุณภาพส่งผลต่อการมีบุตรยาก
โดยอนุมูลอิสระจะเข้าไปยับยั้งการส่งสัญญาณของอินซูลินและการสูญเสียการทำหน้าที่ของสารอะดิโพไคน์ (Adipokines) ที่ผลิตโดยเนื้อเยื่อไขมันทำให้เกิดการอักเสบอย่างรุนแรงและความเครียดจากปฏิกิริยาออกซิเดชั่น ซึ่งส่งผลให้มีภาวะไขมันในเลือดสูงผิดปกติ และส่งผลโดยตรงต่อเนื้อเยื่ออัณฑะและท่อน้ำอสุจิ นอกจากนี้ไขมันในถุงอัณฑะที่เพิ่มขึ้นยังส่งผลให้ความร้อนของอวัยวะสืบพันธุ์เพิ่มขึ้น ซึ่งส่งผลเสียต่อการสร้างอสุจิอย่างต่อเนื่อง
ดังนั้นโรคอ้วนจึงเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมซึ่งมีความสำคัญต่อการสร้างอสุจิในอัณฑะและการเจริญเติบโตของตัวอสุจิในท่อน้ำอสุจิ ลักษณะทางสัณฐานวิทยาของตัวอสุจิที่ผิดปกติ และการเปลี่ยนแปลงไขมันของเยื่อหุ้มเซลล์ และความเสียหายของ DNA เพิ่มขึ้น ส่งผลให้ DNA แตกหัก และท้ายที่สุดส่งผลให้คุณภาพของตัวอสุจิไม่ดี ทั้งในเรื่องอัตราการปฏิสนธิ (fertilization rate) ลดอัตราการเคลื่อนไหว และลดปฏิกิริยาอะโครโซม (Acrosome reaction)คือปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นเมื่อสเปิร์มเจาะเข้าผสมกับไข่ได้หรือหากเกิดการปฏิสนธิแต่ DNA ที่ไม่สมบูรณ์จะคงยังส่งผลต่อคุณภาพของตัวอ่อน (Embryo quality) อัตราการตั้งครรภ์ (Pregnancy rate) และอัตราการแท้ง (Miscarriage rate) อีกด้วย
- โรคอ้วนเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวาน เนื่องจากภาวะอ้วนทำให้เกิดการดื้อต่อฮอร์โมนอินซูลิน จึงทำให้ร่างกายมีน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ หากปล่อยให้ร่างกายอยู่ในสภาวะนี้เป็นเวลานานจะทำให้อวัยวะต่าง ๆ เสื่อมและอาการแทรกซ้อนนอกจากนี้ยังมีภาวะโรคแทรกซ้อนทางระบบประสาทที่เกิดจากโรคเบาหวานซึ่งอาจเป็นสาเหตุของปัญหาเรื่องการแข็งตัวของอวัยวะเพศหรือการหลั่งน้ำอสุจิได้ รวมถึงส่งผลต่อคุณภาพของสเปิร์ม ทำให้ผู้ชายที่เป็นโรคเบาหวานมีโอกาสเป็นผู้ที่อยู่ในภาวะมีบุตรยากจากข้อมูลของ The Canadian Diabetes Association มีการระบุว่า 50 – 70% ของผู้ชายที่เป็นโรคเบาหวานประสบกับภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศเช่น เจ้าโลกไม่สามารถแข็งตัวหรือแข็งตัวได้ไม่นานในบางกรณีการไร้สมรรถภาพทางเพศอาจเป็นสัญญาณเตือนแรกของผู้ป่วยโรคเบาหวานเพราะผู้ชายที่เป็นโรคนี้มีแนวโน้มที่จะประสบปัญหาไร้สมรรถภาพทางเพศ 2 – 3 เท่า
“ครูก้อย นัชชา ลอยชูศักดิ์” กล่าวเสริมว่า นอกจากโรคอ้วนและโรคเบาหวานในชายแล้ว ยังมีโรคที่เกี่ยวกับอัณฑะที่ส่งผลต่อคุณภาพของสเปิร์มเช่นกัน เพราะอัณฑะทำหน้าที่ผลิตและเก็บอสุจิ หากมีปัญหาสุขภาพเกี่ยวกับอัณฑะ ก็จะส่งผลต่อคุณภาพของสเปิร์มได้เช่น การติดเชื้อที่อัณฑะมะเร็งอัณฑะภาวะลูกอัณฑะไม่ลงถุงการเข้ารับผ่าตัดอัณฑะการได้รับบาดเจ็บที่อัณฑะโดยอาจทำให้จำนวนอสุจิลดลง รวมถึงหลอดเลือดดำอัณฑะขอด (Varicocele) โดยหลอดเลือดดำตรงอัณฑะจะใหญ่ และทำให้อุณหภูมิของอัณฑะสูงขึ้นซึ่งส่งผลต่อจำนวนและรูปร่างของอสุจิมีความผิดปกติซึ่งเกี่ยวกับอัณฑะที่มีมาแต่กำเนิด
สำหรับผู้ชายที่ต้องการมีบุตรและมีภาวะอ้วน หรือ โรคเบาหวาน ควรหันกลับมาดูสุขภาพในองค์รวมเริ่มจากการดูแลเรื่องอาหารการกินเป็นพิเศษ ลดแป้งงดหวาน งดของมัน ของทอด ทานอาหารที่มีโภชนาการสูง เน้นโปรตีน เพราะโปรตีนช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อ เมื่อมีกล้ามเนื้อมากขึ้น ส่งผลให้ระบบเผาผลาญทำงานได้ดีขึ้น ช่วยเบิร์นไขมันได้เร็วขึ้น เน้นผักผลไม้เสริมสารต้านอนุมูลอิสระหลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ และการสูบบุหรี่ รวมถึงการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอและพักผ่อนอย่างเพียงพอ หรือ เสริมด้วยผลิตภัณฑ์เสริมอาหารMotila1 By KruKoyโมทิล่าวัน บาย ครูก้อยเป็นทางเลือกสุขภาพสำหรับผู้ชายที่วางแผนมีบุตรและกังวลเรื่องคุณภาพของสเปิร์มโดยสามารถศึกษาความรู้และรายงานวิจัยเกี่ยวกับสารสกัดที่ช่วยปรับปรุงคุณภาพของสเปิร์ม รวมถึงโภชนาการเสริมภาวะเจริญพันธุ์ตามหลักวิทยาศาสตร์สำหรับผู้มีบุตรยากได้ที่เว็บไซต์ หรือเฟซบุ๊กเพจ BabyAndMom.co.th ครูก้อย นัชชา กล่าว.
ติดตามเนื้อหาดีๆแบบนี้ได้ที่
Facebook : https://www.facebook.com/innnews.co.th
Twitter : https://twitter.com/innnews
Youtube : https://www.youtube.com/c/INNNEWS_INN
TikTok : https://www.tiktok.com/@inn_news
LINE Official Account : @innnews