กลุ่มคน ที่มีโอกาสเสียชีวิต ถ้าติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ผู้สูงอายุ ผู้ป่วย
กลุ่มคนบ้างกลุ่มมีโอกาสเสียชีวิตมากกว่า ถ้าติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้แก่ ผู้สูงอายุ ผู้ป่วย และอาจจะรวมถึงผู้ชายด้วยจากการวิเคราะห์ขนาดใหญ่ครั้งแรกในผู้ติดเชื้อมากกว่า 44,000 ในประเทศจีน อัตราการเสียชีวิตในผู้สูงอายุสูงกว่าคนวัยกลางคนถึง 10 เท่า โดยแยกเป็นประเภทดังนี้
-
อัตราการเสียชีวิตในกลุ่มคนที่อายุต่ำกว่า 30 ปี ต่ำที่สุด โดยมีผู้เสียชีวิต 8 คนในจำนวนผู้ติดเชื้อ 4,500 คน
-
อัตราการเสียชีวิตในกลุ่มคนที่อายุสูงกว่า 80 ปีขึ้นไปสูงที่สุด
-
อัตราการเสียชีวิตในกลุ่มผู้ที่ป่วยเป็นเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ หรือปัญหาในการหายใจ มีโอกาสเสียชีวิตมากกว่าคนปกติอย่างน้อย 5 เท่า
-
อัตราการเสียชีวิตในกลุ่มผู้ชายมีอัตราการเสียชีวิตสูงกว่าผู้หญิงเล็กน้อย
ปัจจัยต่าง ๆ เหล่านี้ส่งผลต่อกันและกัน และเราก็ยังไม่เห็นภาพที่สมบูรณ์ของความเสี่ยงในคนแต่ละประเภทในแต่ละพื้นที่ ตัวอย่างเช่น กลุ่มชายวัย 80 ปี ในจีน มีความเสี่ยงที่ต่างไปจากกลุ่มคนอายุเดียวกันในยุโรปและแอฟริกาอย่างมากนั้นก็เพราะ ระบบสาธารณสุขในประเทศจะต้องรองรับผู้ติดเชื้อจำนวนมาก แต่มีเพียงบางพื้นที่เท่านั้นที่มีห้องไอซียูหรือมีเครื่องช่วยหายใจจำนวนมากนี้คือสาเหตุหลักๆที่จะทำให้ผู้ติดเชื้อเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก
เตือนไวรัสกลายพันธุ์ B117 รอบนี้ระบาดหนักกว่าเดิม ชี้อาการป่วยชัด-ติดง่าย-อัตราตายเพิ่ม
ผศ.นพ.โอภาส พุทธเจริญ หัวหน้าศูนย์โรคอุบัติใหม่ทางคลินิก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ได้โพสต์ผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว “Opass Putcharoen” โดยระบุข้อความว่า เตรียมรับมือไวรัสกลายพันธุ์ B117 ระบาดอย่างเป็นทางการ
1. ติดง่ายขึ้นกว่าเดิม มาตรการใส่หน้ากาก รักษาระยะห่าง ยังใช้ได้ แต่ต้องเคร่งครัดมากขึ้น
2. จำนวนคนติดเชื้อจะสูงขึ้น ผู้ป่วยอาการหนักอาจจะมากขึ้นตามไปด้วย จำนวนเตียงต้องพร้อม รอบนี้อาจจะหนักว่าเดิม
3. รอบนี้ผู้ติดเชื้อมักจะมีอาการมากกว่ารอบก่อนที่คนส่วนใหญ่ไม่มีอาการ แต่รอบนี้จะมีไข้ น้ำมูก ชัดเจน
4. การฉีดวัคซีนต้องตามให้ทัน อย่างน้อยป้องกันไม่ให้คนติดมีอาการรุนแรงและอาจป้องกันการแพร่กระจายด้วย
5. โอกาสติดในโรงพยาบาลง่ายมากกว่าเดิม ถ้าไม่ระวัง มีการระบาดในโรงพยาบาลจะโกลาหล
6. ข้อมูลจากอังกฤษพบว่าสายพันธุ์ B117 (UK) มีอัตราป่วยเสียชีวิตมากขึ้น
7. ถ้าคุมได้ไม่ดีมีการกระจายต่อเนื่อง อาจมีการกลายพันธุ์ขึ้นเองในประเทศ เป็นสายพันธุ์ประจำถิ่นและอาจหลบภูมิคุ้มกันจากวัคซีน หรือติดเชื้อซ้ำอีกครั้ง
ติดตามเนื้อหาดีๆแบบนี้ได้ที่
Facebook : https://www.facebook.com/innnews.co.th
Twitter : https://twitter.com/innnews
Youtube : https://www.youtube.com/c/INNNEWS_INN
TikTok : https://www.tiktok.com/@inn_news