ศบค.รับกทม.-ปริมณฑลผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้น-เร่งตั้งรพ.
ศบค.รับ กทม.-ปริมณฑล พบผู้ติดเชื้อเพิ่มมากขึ้น ขอความร่วมมือแยกผู้ป่วยออกจากคนปกติ เตรียมตั้ง รพ.รองรับกลุ่มผู้ป่วยสีเหลือง เชิญชวนเป็นแพทย์อาสา
นายเเพทย์ ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษก ศูนย์บริหารสถานการณ์ การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (โควิด-19) (ศบค.) แถลงถึงการรายงานสถานการณ์ผู้ติดเชื้อในกรุงเทพฯและปริมณฑล ว่า ในช่วงเดือนเมษายน เริ่มมีผู้ติดเชื้อและมีจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ หากจัดการควบคุมได้ก็จะดีกว่าทั้งประเทศ ซึ่งในเขตปทุมวันที่เป็นชุมชนที่แออัด และมียอดพุ่งขึ้นสูงในช่วงหลังสงกรานต์ จึงต้องรีบหาผู้ติดเชื้อในบริเวณดังกล่าว เพื่อแยกผู้ติดเชื้อกับผู้ไม่ติดเชื้อ ซึ่งวันนี้จะไปค้นหาเชิงรุกที่ชุมชนพัฒนาบ่อนไก่ ของให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวให้ความร่วมมือในการรับการตรวจด้วย ขณะที่แขวงสี่แยกมหานาค เขตดุสิตพบผู้ติดเชื้อถึง 80 ราย ในพื้นที่ชุมชนแออัด จุดเริ่มต้นของการระบาดในชุมชนนี้ เกิดจาก 3 สาเหตุ คือ 1.คลัสเตอร์รัชดา 2.รับเชื้อจากแถวพระราม2 และ3.ไปเที่ยวแพเมืองกาญจนบุรี
ส่วนปริมลฑล จ.สมุทรปราการ ติดเชื้อในโรงงานแห่งหนึ่งใน อ.พระสมุมรเจดีย์ จำนวน 160 ราย เริ่มต้นจากพนักงานชาวเมียนมาคนหนึ่ง และนำไปสู่เพื่อนร่วมงานและคนในครอบครัวคนอื่นๆ
สำหรับการควบคุมการติดเชื้อ ผู้ที่เป็นผู้ป่วยและมีความเสี่ยงสูงในเขตพื้นที่กทม. จึงต้องขอให้ความร่วมมือจากประชาชนในพื้นที่ ที่สำคัญคือต้องแยกผู้ป่วยออกจากคนปกติ โดยเร็ว มีแนวคิดที่จะสร้าง โรงพยาบาลรองรับกลุ่มผู้ป่วยสีเหลือง ที่สำคัญแพทย์ พยาบาล ที่มีจำนวนจำกัด จึงเชิญชวนแพทย์ ที่ต้องการเป็นแพทย์อาสา เข้ามาลงทะเบียนเพื่อรับทราบและเรียกตัวมาช่วยในการทำงาน
ศบค.โต้ข่าวลือยันมียาฟาวิพิราเวียร์ เพียงพอรักษาผู้ป่วย พร้อมสั่งเพิ่มจากญี่ปุ่นเพิ่ม ตั้งอนุฯ1 ชุดบูรณาการงานโควิด กรุงเทพฯและปริมณฑล
นายเเพทย์ ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษก ศูนย์บริหารสถานการณ์ การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (โควิด-19) (ศบค.) กล่าวถึงกระแสข่าวยารักษาโควิด-19 ใกล้จะหมด ว่ายาฟาวิพิราเวียร์” ( Favipiravir) ที่ใช้รักษาผู้ป่วย โควิดที่มีอาการหนักยืนยันว่า ยังคงมีเหลือเพียงพอ และขณะนี้ยังสั่งเพิ่มเติมจากประเทศญี่ปุ่น จึงมั่นใจได้ว่ายายังมีเพียงพอ กระแสข่าวที่ว่ายาไม่พอนั้นไม่เป็นความจริง การได้รับยานี้ไม่จำเป็นต้องได้ทุกคน จะต้องมีข้อบ่งชี้ และให้แพทย์เป็นผู้พิจารณา
พร้อมกันนี้ นายเเพทย์ ทวีศิลป์ กล่าวถึงผลการประชุมนัดพิเศษ ว่า ได้มีข้อสรุปให้ตั้งคณะกรรมการชุดหนึ่งเพื่อบูรณาการงานโควิด-19 ในกรุงเทพฯและปริมณฑลซึ่งถือว่าเป็นงานใหญ่โดยมีชื่อว่า ศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์โควิค-19 กรุงเทพและปริมณฑล มี พล.อ.ประยุทธ์จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นผู้อำนวยการศูนย์ โดยโครงสร้างศูนย์ที่อยู่ในกรุงเทพมหานคร 50 เขต ได้มีศูนย์ควบคุมการแพร่ระบาดโควิด-19 ระดับเขตซึ่งมีผู้อำนวยการเขตเป็นผู้อำนวยการศูนย์รับถ่ายทอดนโยบายต่างๆ ซึ่งเป็นเช่นเดียวกับในจังหวัดต่างๆที่มีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้อำนวยการศูนย์
ส่วนเรื่องของวัคซีนที่มีการฉีดน้อยมากในแต่ละวันนั้น จะทันกับการรักษาหรือไม่ เมื่อรับแล้ว อย่างน้อยหากติดเชื้อก็จะทำให้อาการโควิดลดน้อยลง สำหรับตัวเลขการฉีดวัคซีนค่อนข้างน้อยเพราะช่วงนี้เป็นช่วงปลายลอตแรก และหลังจากนี้น่าจะมีการฉีดเพิ่มมากขึ้น เพราะลอตใหม่พึ่งจะเข้ามา
ติดตามเนื้อหาดีๆแบบนี้ได้ที่
Facebook : https://www.facebook.com/innnews.co.th
Twitter : https://twitter.com/innnews
Youtube : https://www.youtube.com/c/INNNEWS_INN
TikTok : https://www.tiktok.com/@inn_news