“ชลน่าน”แจงเพื่อไทย ยื่นแก้ รธน.5 ร่าง แก้ 256, สิทธิเสรีภาพ, ระบบเลือกตั้ง, ที่มานายกฯ และตัดอำนาจ ส.ว.
นายแพทย์ชลน่าน ศรีแก้ว ส ส.น่าน พรรคเพื่อไทย กล่าวถึงการยื่นร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม ว่า จะยื่นในสมัยประชุมนี้ให้เร็วที่สุด เนื่องจากเป็นนโยบายของพรรคที่ต้องทำ และมีร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม จากพรรคพลังประชารัฐบรรจุแล้ว คาดว่าจะมีการเร่งรัดให้นำร่างดังกล่าวเข้าสู่ที่ประชุมสภาให้เร็วที่สุดทราบว่าน่านจะเป็นวันที่ 22 มิถุนายนนี้
แนวทางของพรรคเพื่อไทยในการเสนอร่างเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมรายมาตรา มีทั้งหมด5ร่าง 1.แก้เพิ่มเติมมาตรา 256 ให้มีสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) ไปแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2.ร่างเกี่ยวกับสิทธิเสรีภาพต่างๆ เช่นสิทธิในการร้อง, สิทธิการตรวจสอบถ่วงดุล ระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร หรือฝ่ายตุลาการ 3.ร่างเกี่ยวกับระบบการเลือกตั้ง 4.ร่างแก้ไขมาตรา 159 เกี่ยวกับที่มาของนายกรัฐมนตรี และมาตรา 272 ตัดอำนาจสมาชิกวุฒิสภา(ส.ว.)ในการเลือกนายกรัฐมนตรี 5.ยกเลิกมาตรา 279 เกี่ยวกับคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช. )คาดว่าน่าจะยื่นภายในสัปดาห์หน้า
ขณะที่ร่างพรรคอื่นๆ มีความใกล้เคียงกัน แต่ร่างของพรรคพลังประชารัฐ ไม่มีการแก้ไขมาตรา 256 และมีระบบเลือกตั้งแบบบัตร2ใบ แต่เหมือนจะมีการปรับให้เป็นแบบใบเดียว ซึ่งก็จ้องดูว่าจะปรับแก้ไขอะไรหรือไม่ ส่วนของพรรคเพื่อไทยเสนอให้มีบัตร 2 ใบ แบ่งเขต 400 เขต บัญชีรายชื่อ 100 คน เหมือนรัฐธรรมนูญปี 2540
ทั้งนี้ อยากให้ติดตามสถานการณ์เพราะมีสัญญาณว่าอีก 1ปีอาจจะยุบสภา ซึ่งจะเป็นข้อเท็จจริงหรือไม่นั้นยังไม่ชัด แต่สอดคล้องกับการเร่งรัดการยื่นแก้ไขรัฐธรรมนูญ หากแก้ได้ก็จะเป็นการเอื้อประโยชน์ให้กับฝ่ายที่เสนอร่างทันที โดยเฉพาะเรื่องการทำไพรมารี่โหวต
“ชลน่าน”มอง การกู้เงินของรัฐบาลเป็นภาระให้คนไทย ชี้กู้ได้แต่ต้องไม่กระทบวินัยการเงินการคลัง ขอระมัดระวัง
ทั้งนี้ นายแพทย์ชลน่าน ได้กล่าวถึงการพิจารณาพ.ร.ก.กู้เงิน 5 แสนล้านบาท ว่าในการอภิปรายครั้งนี้ เนื้อหาการอภิปรายรัฐบาล ประกาศชัดว่าสนับสนุน แต่มีข้อสังเกตและข้อเสนอแนะ โดยเฉพาะความสามารถในการนำเม็ดเงินไปใช้แก้ปัญหา เพราะเป็นการเปรียบเทียบกับเม็ดเงินในครั้งแรกในการแก้ปัญหาด้านสาธารณสุขและเศรษฐกิจ ที่สะท้อนว่าแก้ไม่ตรงจุดและไม่สามารถฟื้นฟูเศรษฐกิจได้
ขณะที่ฝ่ายค้าน มีความชัดเจนตั้งแต่ก่อนลงมติว่าไม่อนุมัติ พ.ร.ก.ฉบับนี้ โดยมีเหตุผลเกี่ยวกับ รัฐธรรมนูญและข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง โดยฝ่ายค้านเห็นว่าไม่มีความจำเป็นเร่งด่วนในการกู้เงินเพราะดูจากเมื่อดูจากพ.ร.ก.กู้เงินฉบับแรก พบว่ามีส่วนน้อยที่ถูกเบิกไปใช้ด้านสุขภาพ ซึ่งหากเป็นเรื่องเร่งด่วนจริงต้องใช้จะต้องถูกใช้ใน 6 เดือนแรกอย่างน้อยกึ่งหนึ่ง เพื่อยับยั้งการระบาดและจัดหาวัคซีน เหตุผลสำคัญคือการไม่สามารถใช้เงิน 1 ล้านล้านแก้ปัญหาการระบาด และฟื้นฟูเศรษฐกิจ นอกจากนี้ เม็ดเงินที่กู้ใหม่เมื่อนำไปเปรียบเทียบกับก้อนแรก ถือว่า ซึ่งตามสถานการณ์จริงอาจต้องใช้ 2 ล้านล้านบาท ดังนั้นเงิน 5 แสนล้านบาท จึงน้อยมากเหมือนการตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ
นอกจากนี้ฝ่ายรัฐบาล โดยเฉพาะพรรคภูมิใจไทย ยังกล่าวถึงการตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ ติดตามการใช้งบประมาณก้อนนี้ ซึ่งน่าจะเป็นเพราะเห็นว่า กมธ.ที่ติดตามเงินกู้ 1 ล้านล้านบาท ไม่มีประสิทธิภาพจึงเสนอชุดใหม่ขึ้นมา
ทั้งนี้การกู้เงินครั้งนี้จะเป็นภาระให้คนไทย เพราะเป็นหนี้สาธารณะ ขณะนี้อยู่ที่ 8.5 ล้านล้าน หากรวมส่วนนี้ไปจะเป็น 9 ล้านล้าน เกินร้อยละ 60 และต้องขยายกรอบการกู้เงิน ซึ่งสามารถทำได้ แต่ต้องไม่กระทบกับวินัยการเงินการคลัง จึงต้องมีการระมัดระวังเป็นอย่างมาก
ติดตามเนื้อหาดีๆแบบนี้ได้ที่
Facebook : https://www.facebook.com/innnews.co.th
Twitter : https://twitter.com/innnews
Youtube : https://www.youtube.com/c/INNNEWS_INN
TikTok : https://www.tiktok.com/@inn_news