มิว สเปซ รุกอุตสาหกรรมอวกาศ เริ่มสร้างยานลำแรกปี 64
มิว สเปซ รุกอุตสาหกรรมอวกาศ เริ่มสร้างยานลำแรกปี 64 ในปี 2563 นับว่าเป็นปีที่กิจกรรมทางอวกาศกลับมาคึกคักอีกครั้ง ทั้งจากการที่ภาครัฐผลักดันให้เกิด พ.ร.บ. กิจการอวกาศ และการสร้างกลไกเพื่อส่งเสริมและสนับสนุน ให้ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนมีส่วน ร่วมในการพัฒนากิจการอวกาศ ซึ่งเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมเป้าหมาย new S-curve ที่จะทำให้ประเทศ ไทยมีความสามารถในการลงทุน และมีบทบาทที่สำคัญต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมอวกาศ เพื่อสร้าง มูลค่าให้แก่เศรษฐกิจไทย สำหรับบทบาทของภาคเอกชนเอง ก็นับว่าเป็นหนึ่งในกลไกสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและกระตุ้นให้ เกิดการลงทุนในภาคอุตสาหกรรมอวกาศ ซึ่งปีนี้บริษัทด้านดาวเทียมและเทคโนโลยีอวกาศภาคเอกชน บริษัท มิว สเปซ แอนด์ แอดวานซ์ เทคโนโลยี จำกัด (มิว สเปซ คอร์ป) ที่ก่อตั้งมาเพียง 3 ปี สามารถ ดึงดูดนักลงทุนเอกชนจากหลากหลายอุตสาหกรรมธุรกิจให้มาลงทุนในอุตสาหกรรมด้านอวกาศ ทั้ง บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน), ผู้บริหารกลุ่ม Dow Chemical, SCG รวมถึงนักลงทุนปัจจุบันอย่าง Nice Apparel Group ผู้ผลิตเสื้อผ้ากีฬาระดับโลก, B.Grimm Group ,Majuven Fund กลุ่มธุรกิจเอกชน และกลุ่มนักลงทุนรายย่อยอื่นๆ เช่นผู้บริหารจาก UCLA Foundation จนกระทั่งดันให้มูลค่าของ บริษัทเพิ่มขึ้นสูงกว่า 3,000 ล้านบาท สำหรับการระดมทุนในระดับ Series B เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม นายวรายุทธ เย็นบำรุง กรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร มิว สเปซ คอร์ป กล่าว ในงานวันเปิดตัว (Soft Opening) โรงงานการผลิตแห่งแรกว่า “เงินลงทุนที่ได้จากการระดมทุนในรอบนี้ จะนำไปใช้สำหรับการเร่งสร้างโรงงานขนาดใหญ่ต่อไป เพื่อที่จะผลิตชิ้นส่วนและสร้างยานอวกาศ (Spaceship) ลำแรกของประเทศไทยรวมถึงการผลิตชิ้นส่วนดาวเทียมและยานอวกาศ สำหรับใช้ใน ประเทศ เพื่อการส่งออกภารกิจด้านการสื่อสาร, ความมั่นคง, ระบบระบุตำแหน่งบนพื้นโลก(GPS) ทดสอบ หุ่นยนต์และ ระบบขับเคลื่อนอัตโนมัติสำหรับยานพาหนะไร้คนขับบนดวงจันทร์ โดยจะนำเทคโนโลยี 5G มาใช้ภายในโรงงาน รวมถึงจะเป็นพื้นที่สำหรับการพัฒนาเทคโนโลยี Space IDC ซึ่งบริษัทมีแผนที่จะทำ การทดสอบระบบ Space IDC จำลองภายในไตรมาสแรกของปี 2564 นี้” สำหรับการให้บริการ Space IDC หรือ Space Internet Data Center เป็นการดำเนินโครงการที่เกิดจาก ความร่วมมือระหว่าง มิว สเปซ คอร์ป และ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ ให้บริการศูนย์กลางข้อมูล (Data Center) ที่อยู่นอกชั้นบรรยากาศของโลก “มิว สเปซ มีเป้าหมายที่จะสร้างสถานีเกตเวย์ อีก 11 แห่งเริ่มที่กรุงเทพมหานคร เพื่อรองรับการใช้งาน ของดาวเทียมวงโคจรต่ำ (Low Earth Orbit Satellite: LEO) ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตและกำลัง เตรียมความพร้อมที่จะเข้าประมูลโครงการอวกาศขององค์การนาซ่า (NASA) อีก 8 โครงการ ในช่วงต้นปี 2564 จากประสบการณ์ที่ผ่านมา มิว สเปซ มีการความก้าวหน้ามากขึ้นอย่างต่อเนื่องจากการร่วมส่ง โครงการพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศทั้งสิ้น 7 โครงการ ซึ่ง Tipping Point Solicitation Project สามารถผ่านการพิจารณาในรอบแรกได้สำเร็จ จึงคาดว่าในครั้งนี้ มีความเป็นไปได้สูงมากที่ มิว สเปซ จะได้รับเลือกเข้าโครงการพัฒนา” นายวรายุทธกล่าว ในท่ามกลางวิกฤตการแพร่ระบาดของโควิด-19 มิว สเปซ มีแผนที่จะเพิ่มการจ้างงานมากกว่า 100 อัตรา โดยเริ่มที่ 50 อัตราแรกภายในต้นปี 2564 เพื่อสร้างแรงงานทักษะสูง และให้สอดคล้องกับ แผนการ พัฒนาเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมอวกาศ ซึ่งนับว่าเป็นข่าวดีของประเทศไทย ที่มีบริษัทเอกชน คนรุ่นใหม่ ที่มีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาเทคโนโลยีและสร้างนวัตกรรม เพื่อผลักดันให้อุตสากรรมอวกาศ สามารถเป็นเศรษฐกิจใหม่ (New economy) ในประเทศไทยได้อย่างเป็นรูปธรรม