หากถามว่าเป้าหมายขององค์กรขนาดใหญ่ นอกจากเรื่องผลประกอบการที่ดี มีรายได้ มีกำไรแล้ว สิ่งสำคัญที่ผู้บริหารย่อมต้องให้ความสนใจไม่แพ้การดำเนินธุรกิจเลย คือเรื่องของสุขภาวะความเป็นอยู่ของพนักงานภายในองค์กร
การดูแลสุขภาวะที่ดีนั้นไม่ใช่เป็นเพียงเรื่องที่แต่ละองค์กรตั้งเป้าหมายจัดทำกันเอง แต่ประเด็นดังกล่าวเป็นประเด็นที่โลกกำลังให้ความสนใจ จัดให้ “Good health and Well-being” หรือการดูแลความเป็นอยู่ของคนในสังคม เป็น 1 ใน 17 เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) ที่สหประชาชาติร่วมกันกำหนดขึ้นเป็นวาระการพัฒนาระดับโลกที่ต้องบรรลุให้ได้ภายในปี 2030
‘Well-being Sustainability’ หากตีความหมายแบบเข้าใจง่ายๆ คงหมายถึง ความเป็นอยู่ที่ดี เป็นความหมายเชิงบวกของการดำเนินชีวิตของคนในสังคมแบบยั่งยืน
หากเปรียบองค์กรหรือบริษัทหนึ่งเป็นสังคม พนักงานทุกคนในองค์กรก็คือคนที่ดำเนินชีวิตอยู่ในสังคมนั้นๆ โดยมีผู้บริหารเป็นผู้ดูแลความเป็นอยู่ของทุกคนในภาพรวม ผ่านเครื่องมือที่เรียกว่าสวัสดิการของพนักงาน
สำหรับเบญจจินดาแล้ว การดูแลพนักงานถือเป็นหนึ่งในเรื่องที่องค์กรให้ความสำคัญมาเป็นอันดับต้นๆ การดูแลพนักงานในแบบของชาวเบญจจินดานั้น จึงได้ออกแบบให้ครอบคลุมในทุกมิติ ทั้งเรื่องทางร่างกาย (Physical) จิตใจ (Mentall) และ การเงิน (Financial) เพื่อให้พนักงานมีความสุขแบบสมดุล คือมีความสุขทั้งสภาพร่างกาย จิตใจ มีความเป็นอยู่ที่ดี และมีการคิดที่เป็นสุข ที่ก่อให้เกิดความสุขในการทำงานอย่างยั่งยืน หรือโปรแกรมที่เรียกว่า “SMARTer”
ด้วย SMART culture ของชาวเบญจจินดาแล้ว โปรแกรมการดูแลพนักงานต่างๆ จึงต้องจัดให้เหมาะสม เพื่อให้ SMARTer หรือพนักงานเบญจจินดาทุกคน ได้ทำงานอย่างอย่างมีความสุข
เริ่มต้นจากการดูแลด้านร่างกาย (Physical) ที่เบญจจินดา มีการดูแลสุขภาพร่างกายของพนักงานอย่างสม่ำเสมอ ทั้งโปรแกรมการตรวจสุขภาพประจำปี การประกันสุขภาพให้พนักงานในรูปแบบต่างๆ สามารถดูแลพนักงานได้ยามป่วยไข้ การจัดโปรแกรมทันตกรรมให้พนักงานได้มาใช้บริการ รวมถึงการเสริมสร้างสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมการมีสุขภาพร่างการที่แข็งแรง เช่น ฟิตเนส สนามกีฬา
อีกทั้ง ยังมีโปรแกรมการออกกำลังกายต่างๆ ให้พนักงานได้เข้าร่วม ตัวอย่างเช่น กิจกรรม Just Keep Running ชาเล้นจ์สนุกๆ ที่รวบรวมนักวิ่งมาแข่งกันวิ่งเก็บระยะทางผ่านแอพพลิเคชัน นอกจากพนักงานสายวิ่งจะได้มาแข่งวิ่งออกกำลังกายเป็นประจำแล้ว ยังเป็นช่องทางให้พนักงานมาร่วมกิจกรรมกับองค์กร สร้างความสัมพันธ์ที่ดีร่วมกันภายในองค์กรอีกด้วย
ด้านสุขภาวะทางด้านอารมณ์และจิตใจ (Mental) แน่นอนอยู่แล้วภายใต้การทำงานที่ตรึงเครียดในยุคปัจจุบัน องค์กรสมัยใหม่จึงต้องดูแลสภาพจิตใจของพนักงานไปพร้อมกันด้วยไม่ว่าจะทางตรงหรือทางอ้อม รวมถึงการสร้างบรรยากาศการทำงานที่ผ่อนคลาย หาพื้นที่ให้พนักงานได้ปลดปล่อยความเครียด หรือใช้สมาธิในช่วงเวลาพัก หรือหลังเลิกงาน ซึ่งเบญจจินดามีพื้นที่สร้างสรรค์ อย่างพิพิธภัณฑ์ศิลปะไทยร่วมสมัย – MOCA Bangkok ซึ่งพนักงานสามารถเข้าชมได้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย หรือร้านกาแฟ Rakbankerd Cafe สถานที่พักผ่อน พูดคุย ของพนักงาน และยังมีช่องทาง INN Lifestyle ที่คอยให้ข้อมูล ข่าวสาร อัพเดทที่มีประโยชน์ต่างๆ ต่อพนักงาน
สุดท้าย สุขภาวะด้านการเงิน (Financial) ถือเป็นเรื่องใหม่อีกเรื่อง ที่องค์กรยุคใหม่หันมาให้ความสำคัญมากยิ่งขึ้น การดูแลสุขภาวะทางการเงินให้กับพนักงาน จึงไม่ใช่แค่เรื่องการเก็บเงินเข้ากองทุน หรือการจัดตั้งสหกรณ์ออมทรัพย์สำหรับพนักงาน ที่เป็นสวัสดิการพื้นฐานอีกต่อไปแล้ว แต่สามารถมองไกลไปถึงการทำให้พนักงานรู้จักการจัดการทางการเงินที่ดี ทั้งมุมของการออมเงิน การลงทุน เพื่อให้พนักงานรู้จักจัดการเงินที่มีอยู่ให้เป็นประโยชน์สูงสุด องค์กรจึงมีโปรแกรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเงินสมัยใหม่ เข้ามาอบรมให้พนักงานที่สนใจได้เรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
เมื่อพนักงานมีสุขภาวะที่สมดุลในทุกด้าน ย่อมส่งผลต่อการปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพเช่นเดียวกัน การลงทุนสร้าง Well-being ให้กับพนักงาน จึงถือเป็นการลงทุนที่ยั่งยืนขององค์กร บ่มเพาะพนักงานหรือชาว “SMARTer” ให้เติบโตไปพร้อมกับองค์กร จึงถือเป็นอีกหนึ่งเป้าหมายทางธุรกิจ ที่ทุกคนองค์กรจำเป็นต้องวางแผนลงทุนอย่างชาญฉลาด ไม่แพ้การลงทุนทางด้านอื่นๆ เลยทีเดียว
ติดตามเนื้อหาดีๆแบบนี้ได้ที่
Facebook : https://www.facebook.com/innnews.co.th
Twitter : https://twitter.com/innnews
Youtube : https://www.youtube.com/c/INNNEWS_INN
TikTok : https://www.tiktok.com/@inn_news