Home
|
ข่าว

นายกฯกำชับมั่นคงเข้มสกัดต่างด้าวลักลอบเข้าประเทศ

Featured Image
นายกฯกำชับฝ่ายมั่นคงจับกุมแรงงานต่างด้าวลักลอบเข้าประเทศผิดกฎหมาย ควบคู่มาตรการป้องกันควบคุมโควิด-19

 

 

นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กำชับผู้ว่าราชการจังหวัดตามแนวชายแดน เจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคง ทั้งตำรวจ ทหาร ฝ่ายปกครอง เพิ่มความเข้มงวด เฝ้าระวัง สกัดกั้นขบวนการขนย้าย ค้าแรงงานต่างด้าว ที่แอบลักลอบเข้าประเทศไทยตามแนวชายแดนโดยผิดกฎหมาย หลังพบการรายงานการจับกุม ลักลอบขนย้ายแรงงานเถื่อนผ่านชายแดนมากขึ้น โดยให้ฝ่ายความมั่นคงบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวดเพิ่มมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาอาชญากรรมทุกประเภท ทั้งลักลอบเข้าเมืองผิดกฎหมาย ค้าอาวุธเถื่อนและยาเสพติด ควบคู่ไปกับมาตรการป้องกันและควบคุมโรค Covid-19 บริเวณชายแดน รวมทั้งใช้กลไก ศูนย์สั่งการชายแดนไทยกับประเทศเพื่อนบ้านจังหวัด ผ่านผู้ว่าราชการจังหวัดบูรณาการการทำงาน ร่วมกันและนำเทคโนโลยีมาใช้เชื่อมโยงกันอย่างเป็นระบบ และให้จัดสถานที่กักกัน (OQ) ให้เพียงพอเพื่อรองรับการจับกุมลักลอบข้ามแดนที่มากขึ้น เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดโควิดอย่างมีประสิทธิภาพ

ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรี สั่งขยายผลขบวนการนำพาแรงงานเถื่อนข้ามพรมแดน เร่งสืบสวนผู้อยู่เบื้องหลังเพื่อขยายผลจับกุมเครือข่ายแรงงานข้ามชาติผิดกฎหมาย พร้อมกระทรวงแรงงาน เร่งหารือแนวทางแก้ไขปัญหาขาดแคลนแรงงานในภาคอุตสาหกรรมด้วย เพื่อให้เกิดการนำเข้า แรงงานอย่างถูกกฎหมาย รองรับความต้องการของภาคการผลิตและบริการไทยที่ขยายตัวต่อเนื่อง

 

 

 

 

นายกฯชื่นชมพัฒนาการวัคซีนโควิดพันธุ์ไทย หลัง “ChulaCov-19 mRNA กับ ใบยา” ใกล้สำเร็จ

 

นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ยังเปิดเผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ยินดีที่วัคซีนโควิดฝีมือคนไทย “ChulaCov-19 mRNA กับ ใบยา” ซึ่งผลิตโดยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยใกล้ประสบความสำเร็จโดยในการประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 4 พ.ย. 2564 ได้มีมติอนุมัติงบประมาณในโครงการของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(อว.) จำนวน 2 โครงการที่เกี่ยวกับการผลิตวัคซีนป้องกันโควิด -19 ที่พัฒนาโดยนักวิจัยไทย ได้แก่

 

1)โครงการวิจัยและพัฒนาวัคซีน ChulaCov- 19 mRNA ของคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเพื่อทำการทดสอบทางคลินิกระยะที่ 3 และการผลิตเพื่อขึ้นทะเบียนวัคซีน ซึ่งคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ให้ความเห็นชอบ วงเงิน 2,316.8 ล้านบาท

2)โครงการวิจัยและพัฒนาวัคซีนป้องกันวัคซีนจากใบยา (Baiya SARS-CoV-2 VAX1) ที่ถูกพัฒนาขึ้นโดยนักวิจัยไทย จากบริษัท ใบยาไฟโตฟาร์ม จำกัด และคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อดำเนินการผลิตและทดสอบวัคซีนทางคลินิกในมนุษย์ระยะที่ 3 วงเงิน 1,309 ล้านบาท ทั้งนี้ รวมสองโครงการเป็นเงิน 3,625.8 ล้านบาท ด้าน ศ.ดร.นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(อว.) ได้ออกมาเปิดเผยว่า วัคซีนทั้งสองชนิดนี้จะช่วยเสริมความมั่นคงทางวัคซีนของประเทศ มีเป้าจะขึ้นทะเบียนได้ประมาณกลางปี 2565 ซึ่งคาดว่าจะผลิตได้ไม่น้อยกว่า 60 ล้านโดส และเมื่อไทยสามารถพัฒนาวัคซีนและผลิตด้วยตัวเองในทุกระยะ รวมทั้งสามารถดัดแปลงปรับวัคซีนให้ครอบคลุมเชื้อซึ่งจะกลายพันธุ์ต่อไปเรื่อยๆ ประเทศไทยก็จะสามารถรับมือกับสถานการณ์โรคระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 หรือเชื้ออื่นๆ ได้ในอนาคต

 

 

โฆษกประจำสำนักนายกฯ กล่าวว่า ความก้าวหน้านี้ เป็นผลจากการทำงานที่มุ่งมั่นตั้งใจ ของคนไทย เพื่อสร้างผลประโยชน์ให้พี่น้องชาวไทย รวมทั้งยังสามารถต่อยอดเทคโนโลยีการผลิตวัคซีนดังกล่าวไปสู่การผลิตวัคซีนป้องกันโรคระบาดที่จะเกิดขึ้นใหม่ในไทยได้ในอนาคต รวมทั้งทำให้ไทยมีข้อมูลการวิจัยและพัฒนาวัคซีนในประเทศที่น่าเชื่อถือตามมาตรฐานสากล ซึ่งนายกร

 

 

 

 

 

นายกฯ กำชับดูแลชาวนาราคาข้าวตกต่ำ เร่งเดินหน้าบรรเทาความเดือดร้อนพี่น้องเกษตรกรเต็มที่

 

 

นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยอีกว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ไม่ได้นิ่งนอนใจ กรณีพี่น้องชาวนาร้องเรียนว่า ขณะนี้ราคาข้าวตกต่ำ จนถูกกว่าบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ได้กำชับกระทรวงพาณิชย์และ ธ.ก.ส. เร่งหาแนวทางว่าจะแก้ไขปัญหาและช่วยเหลือเกษตรกร ทั้งนี้ เข้าใจดีว่า ขณะนี้ชาวนาได้รับผลกระทบหลายด้านทั้งจากโรคโควิด-19 น้ำท่วมและราคาข้าวตกต่ำ จึงต้องหาทางบรรเทาความเดือดร้อนโดยเร็ว

 

อย่างไรก็ตาม กระทรวงพาณิชย์รายงานว่า ขณะนี้เริ่มมีคำสั่งซื้อจากต่างประเทศมากขึ้นในช่วง 6 เดือนหลัง ประกอบกับค่าเงินบาทที่อ่อนตัวลง เพิ่มความสามารถในการแข่งขันข้าวไทย คาดว่าปีนี้จะส่งออกได้ราว 6 ล้านตันตามที่ตั้งเป้าไว้ ประกอบกับความต้องการบริโภคในประเทศสัญญานดีขึ้นจากการเปิดประเทศ สถานการณ์น้ำท่วมที่เริ่มคลี่คลายลง และมาตรการที่กระทรวงพาณิชย์เข้าไปแก้ไขปัญหา จะช่วยให้ราคาข้าวเปลือกในตลาดดีขึ้นเป็นลำดับ และล่าสุด ธ.ก.ส. แจ้งว่าระบบจะสามารถโอนเงินให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวในโครงการประกันรายได้ งวดแรกในวันที่ 9 พ.ย.นี้

 

สำหรับมาตรการดูแลชาวนามีทั้งโครงการประกันรายได้ปี 2564/65 โดยกำหนดราคาข้าวเปลือกที่ความชื้นไม่เกิน 15% เช่น ข้าวเปลือกหอมมะลิ ตันละ 15,000 บาท ข้าวเปลือกเจ้า ตันละ 10,000 บาท ข้าวเปลือกเหนียว ตันละ 12,000 บาท รวมทั้งยังมีมาตรการคู่ขนานเหมือนกับปีก่อนโดยให้เกษตรกรรวบรวมจัดเก็บข้าวไว้ในยุ้งฉาง ซึ่งจะได้รับค่าฝากเก็บ ตันละ 1,500 บาท และรับซื้อข้าวเปลือกกับสหกรณ์และโรงสีเพื่อเพิ่มสภาพคล่อง โดยชดเชยดอกเบี้ย 3% ระยะเวลา 2-6 เดือน สำหรับโรงสี และ 1 ปี สำหรับสหกรณ์ นอกจากนี้กรมการค้าภายในยังได้อนุมัติให้ผู้ประกอบการนอกพื้นที่เข้าไปช่วยรับซื้อข้าวเหนียวในพื้นที่ภาคเหนือ 7 จังหวัด ตั้งแต่เดือน ต.ค. 2564 และอนุมัติโครงการตลาดนัดข้าวเปลือกให้มีผู้รับซื้อเข้าไปแข่งขันรับซื้อในพื้นที่ที่มีผู้รับซื้อไม่เพียงพอกับผลผลิต เพื่อให้เกิดการแข่งขันและราคา ใน 19 จังหวัด อีกด้วย

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ติดตามเนื้อหาดีๆแบบนี้ได้ที่

Facebook : https://www.facebook.com/innnews.co.th

Twitter : https://twitter.com/innnews

Youtube : https://www.youtube.com/c/INNNEWS_INN

TikTok : https://www.tiktok.com/@inn_news

  • Tiktok
  • Youtube
  • Youtube