โควิด-19ปัจจัยฉุดส่งออกไทย
นางสาวกัณญภัค ตันติพิพัฒน์พงศ์ ประธานสภาผู้ส่งออกสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) พร้อมด้วยนายวิศิษฐ ลิ้มลือชา รองประธาน สรท.แถลงข่าวสถานการณ์ส่งออกสินค้าทางเรือเดือนพฤศจิกายน 2563 โดยระบุว่า การส่งออกสินค้าทางเรือหดตัว- 3.65% โดยส่งออกสินค้าทางเรือตั้งแต่เดือนมกราคม-พฤศจิกายน 2563 หดตัว – 6.92 %และคาดว่าในปี 2563 จะหดตัว – 6.78% และถ้าเดือนธันวาคม 2563 ที่ผ่านมาไทยสามารถส่งออกได้ถึง 8,000 ล้านเหรียญสหรัฐ คาดว่าตัวเลขการส่งออกจะหดตัว – 6.0% สำหรับการส่งออกสินค้าทางเรือไปยังสหรัฐอเมริกา ตั้งแต่เดือนมกราคม-พฤศจิกายน ปี 2563 ผลิตภัณฑ์ยางเติบโต 33.3 %รถยนต์และอุปกรณ์ส่วนประกอบเติบโต 68.3 %อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูปเติบโต 12.8 %อัญมณีและเครื่องประดับเติบโต 12.9 %ส่วนการส่งออกไปยังสหภาพยุโรปหดตัว – 8.5% จีนหดตัว – 8.9 %อาเซียนหดตัว – 15.0%ส่วนกลุ่มประเทศ CLMV หดตัว – 13.0% ทั้งหมดหดตัวจากปัญหาการแพร่ระบาดโควิด-19 อย่างไรก็ตาม สรท.มองว่าปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการส่งออกไทยในปี 2564 คือ การกลับมาของโควิด-19 ปัญหาตู้สินค้าขาดแคลนและค่าระวางเรือที่ปรับตัวสูงขึ้น ค่าเงินบาทที่มีทิศทางปรับตัวแข็งค่าขึ้นราคาน้ำมันที่ทรงตัวในระดับต่ำกว่าปี 2562 โดย สรท.มีข้อเสนอแนะให้รัฐบาลออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ เร่งพัฒนาประเทศไปสู่สังคมดิจิตอล เทคโนโลยี ผู้ประกอบการต้องใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยให้มากยิ่งขึ้น และส่งเสริมให้ไทยเป็นศูนย์กลางการพัฒนาต่อและซ่อมตู้คอนเทนเนอร์สำหรับส่งสินค้า