ข่าวต้นชั่วโมง 15.00 น.
“ยุทธพงศ์”อัดรัฐบาลกระตุ้นเศรษฐกิจล้มเหลว พบไม่โปร่งใสบ้านมั่นคง ประชาชนร้องเรียน กมธ.จำนวนมาก จี้แก้หนี้รถไฟฟ้าสีเขียว ค้านต่อสัมปทานแลกหนี้
นายยุทธพงศ์ จรัสเสถียร รองหัวหน้าพรรคและ ส.ส.มหาสารคาม พรรคเพื่อไทยและ นายจิรพงษ์ ทรงวัชราภรณ์ ส.ส.นนทบุรี ปัญหาหนี้สินครัวเรือนที่เพิ่มขึ้น และปัญหาการทุจริตโครงการบ้านมั่นคง ว่ามีตัวเลขพุ่งสูงขึ้นจากปีที่ผ่านมา พร้อมมองการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผ่านโครงการต่างๆ นั้นล้มเหลว
ด้านนายจิรพงษ์ ได้กล่าวถึงข้อร้องเรียนจากประชาชน 274 ครัวเรือน ต่อคณะกรรมาธิการ(กมธ.)การป้องกันปราบปรามการฟอกเงินและยาเสพติด หลังพบความไม่โปร่งใสจากโครงการบ้านมั่นคง บางส่วนไม่ได้รับบ้านรวมถึงมีปัญหาล่าช้า และการบริหารจัดการที่ไม่มีความพร้อม ซึ่งล่าสุดเมื่อวันที่ 8 พ.ย. มีประชาชนเข้ามาร้องเรียนอีกครั้ง พบบางส่วนไม่ได้รับเงินเยียวยาตามที่ตกลง 3,000 บาท 3 ปี อีกทั้งยังพบมีการโอนเงินเยียวยาผ่านไปทางสหกรณ์ที่มีปัญหาเรื่องความไม่โปร่งใส ทั้งนี้ในวันพุธที่ 15 ธันวาคมนี้ ทาง กมธ. จะเชิญส่วนที่เกี่ยวข้อง อาทิ ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์(พม.)และผู้อำนวยการ สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน)(พอช.) เข้ามาชี้แจงสอบถามข้อเท็จจริงอีกครั้ง
ทั้งนี้นายยุทธพงศ์ ยังได้แถลงข่าวถึงแนวทางการแก้ปัญหาหนี้สินรถไฟฟ้าสายสีเขียว โดยนายยุทธพงศ์ กล่าวว่าสาเหตุหลักที่ทำให้รถไฟฟ้าสายสีเขียวเป็นหนี้ เพราะเกิดจากการให้ประชาชนใช้บริการฟรี 25 สถานี ตั้งแต่ปี 2560 จนถึงปัจจุบัน (ช่วงสีเขียวใต้ตั้งแต่สถานีแบริ่งๆสิ้นสุดที่สถานีเคหะฯ) และ (ช่วงสีเขียวเหนือตั้งแต่สถานีหมอชิตสิ้นสุดที่สถานีคูคต) และหนี้สินที่ภาครัฐมีสะสมต่อบีทีเอส ผลตามมาคือมีความพยายามที่จะต่อสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียวไปอีก 40 ปี เพื่อแลกกับหนี้ก้อนนี้ และจะยกสัมปทานไปให้กับบีทีเอสทั้งหมด ซึ่งพรรคเพื่อไทยได้คัดค้านมาโดยตลอด เหตุไม่เข้ากฎหมายร่วมทุน และความไม่โปร่งใส อีกทั้งยังมีกรณีที่ กทม.
จงใจบริการจัดจ้างบีทีเอส เดินรถส่วนต่อขยายแบบผิดกฎหมายและราคาแพงเกินจริง รวมถึง กทม.จัดจ้างบีทีเอสวิ่งรถ โดยหลีกเลี่ยงการประมูล ไม่เปิดให้บริษัทอื่นเข้ามาแข่งขัน และมีมูลค่าสูงเกินจริง ดังนั้น ได้เสนอแนวทางแก้ไขโดย
1.ต้องหยุดการว่าจ้างที่ผิดกฎหมายโดยเร็ว
2.ระหว่างแก้ไขปัญหา ต้องจ้างบีทีเอสเดินรถไปก่อน แต่ กทม. จะต้องเก็บค่าโดยสารที่เหมาะสม
3.จะต้องทำตามกฎหมายร่วมทุน
4.รัฐบาลจะต้องเอาผิดกับคนรับผิดชอบทั้งอดีตและปัจจุบัน และ กทม.จะต้องต่อสู้คดีให้ถึงที่สุด
5.อยากให้ว่าที่ผู้สมัคร กทม. ใช้เป็นนโยบายหาเสียง กรณีต้องให้มีการประมูลแข่งขันหลังจากหมดสัญญาเพื่อค่าโดยสารที่เป็นธรรมในอนาคต
ติดตามเนื้อหาดีๆแบบนี้ได้ที่
Facebook : https://www.facebook.com/innnews.co.th
Twitter : https://twitter.com/innnews
Youtube : https://www.youtube.com/c/INNNEWS_INN
TikTok : https://www.tiktok.com/@inn_news