สรุป #จิตอาสากยศ จ่ายเงินก็แล้ว ยังต้องทำความดีใช้หนี้อีกหรอ?

เป็นมินิดราม่าที่อยากให้พูดเป็นวงกว้างกับกรณีการกู้ยืมเงินกองทุนเพื่อการศึกษา หรือ กยศ. เพื่อนักเรียนผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์ แต่ทำไม? แทนที่เงินทุนจะช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายกลับสร้างภาระแก่นักเรียนมากกว่าหนี้สินที่เคยมี เรื่องราวจะเป็นยังไง iNN พาใส่ชุดนักเรียนสรุปทำความเข้าใจแล้วกับ #จิตอาสากยศ
อธิบาย กยศ.
- กยศ. หรือ กองทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา เป็นหน่วยงานของกระทรวงการคลัง ที่ส่งเสริมการศึกษาผ่านการกู้ยืมเงินแก่นักเรียน นักศึกษา
- โดย กยศ. จะช่วยออกค่าเทอมและค่ากินอยู่ขั้นต่ำ และต้องชำระหนี้+ดอกเบี้ยคืนเมื่อเรียนจบแล้ว
- นอกจากนี้ยังมีเงื่อนไขให้นักศึกษาต้องทำกิจกรรมจิตสาธารณะไม่ต่ำกว่าปีละ 36 ชั่วโมง ถึงจะสามารถกู้ได้ต่อปีหน้า
- สาเหตุเพื่อขัดเกลาจิตใจให้มีความเมตตากรุณา มีความเสียสละและมีจิตสาธารณะ
- ผู้กู้ยืมสามารถเก็บชั่วโมงอาสาผ่านการเข้าร่วมกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมและต้องมีลายเซ็นต์รับรองเป็นหลักฐาน
โดยกำหนดชั่วโมงจิตอาสาสำหรับผู้กู้ยืมแต่ละกลุ่มดังนี้
- กรณีเป็นผู้กู้ยืมเงินรายใหม่ ไม่กำหนดจำนวนชั่วโมง
- กรณีเป็นผู้กู้ยืมเงินรายเก่าเปลี่ยนระดับการศึกษา ไม่กำหนดจำนวนชั่วโมง
- กรณีเป็นผู้กู้ยืมเงินรายเก่าเลื่อนชั้นปีทุกระดับการศึกษา กำหนดจำนวนไม่น้อยกว่า 36 ชม.
- ซึ่งการบังคับทำจิตอาสานี้สร้างวิบากกรรมทางการศึกษามากกว่าประโยชน์ซะอีก
#จิตอาสากยศ ที่มาจากน้ำตาแห่งความกดดัน
- เดิมทีความเห็นไม่พอใจเกี่ยวกับการบังคับทำอาสามีมานานแล้ว แต่กลับมาเป็นกระแสอีกครั้งหลังสภารับร่าง พ.ร.บ.เงินกู้ กยศ. ฉบับใหม่ ที่เพิ่มงบกู้ยืมมากขึ้น
- ปีที่แล้วมีผู้กู้ยืมมากกว่า 6 ล้านคน สะท้อนปัญหาความยากจนทางการเรียนประเทศไทย
- กระแส #จิตอาสากยศ ก็ผุดขึ้นเพื่อเรียกร้องยกเลิกการเก็บชั่วโมงจิตอาสาขึ้นมา
- โดยมองว่าเบียดบังเวลาเรียน ไม่จำเป็น เพราะไหนๆเรียนจบก็ต้องจ่ายหนี้คืนอยู่แล้ว
- และเด็กที่กู้ส่วนใหญ่เป็นเด็กไม่มีฐานะมั่นคง ลำพังแค่ทำงานพิเศษเลี้ยงชีพเวลาก็แทบไม่พอ
- แถมระบบจ่ายเงิน กยศ. ก็ล่าช้า เอกสารวุ่นวาย ไม่ได้ขอทุนการศึกษาจะต้องทำอาสาทำไม
- นอกจากนี้ก็พบโพสต์รับจ้างและหาคนทำกิจกรรมอาสาออนไลน์มากมาย ทำให้ต้องเสียเงินเพื่อไม่ต้องทำกิจกรรมเอง
- แม้เว็บไซต์ของ กยศ. จะทราบเรื่องจ้างวานนี้แต่ก็ไม่ออกมายกเลิกกฎเกณฑ์ใดๆ จนถึงปัจจุบัน
จากการกู้ยืมเพื่อแบ่งเบาภาระทางการศึกษาของภาครัฐ สู่ภาระของนักศึกษาที่มากเกินจำเป็น นอกจากยอดผู้สมัครโครงการดังกล่าวจะสะท้อนถึงความยากจนทางโครงสร้างและการศึกษาในไทยแล้ว หนี้หลังเรียนจบก็เป็นภาระยาวนานต่อไป ร่วมพูดคุย ถกประเด็นนี้ต่อได้ที่ #จิตอาสากยศ
ติดตามข่าวสรุปข้อมูล สรุปดราม่าผ่านเรา ไอ.เอ็น.เอ็น
ติดตามเนื้อหาดีๆแบบนี้ได้ที่
Facebook : https://www.facebook.com/innnews.co.th
Twitter : https://twitter.com/innnews
Youtube : https://www.youtube.com/c/INNNEWS_INN
TikTok : https://www.tiktok.com/@inn_news
LINE Official Account : @innnews