แม้สถานการณ์จะเริ่มผ่อนคลายขึ้นจากการที่ประชาชนส่วนใหญ่ให้ความร่วมมือในการเข้ารับวัคซีนฯเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันจากโรคระบาดโควิด-19แล้ว และแน่นอน ประชาชนบางกลุ่มก็อาจจะได้วัคซีนทั้งเข็มสอง เข็มสาม เข็มบูสท์เตอร์ แต่ขณะเดียวกันไวรัสสายพันธุ์ใหม่ก็ยังคงระบาดอยู่เรื่อยๆ ทำให้บางหน่วยงานหรือองค์กรยังต้องคงไว้ซึ่งนโยบายในการให้พนักงานทำงานจากที่บ้าน หรือ Work From Home เพื่อสนับสนุนการเว้นระยะห่างทางสังคม และเพื่อความปลอดภัยของพนักงานเอง ซึ่งนั่นหมายความว่าเมื่อพนักงานสามารถทำงานจากที่ไหนก็ได้ ข้อมูลขององค์กรก็สามารถไปที่ไหนก็ได้เช่นกัน ด้วยเหตุนี้ความปลอดภัยบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตจึงเป็นเรื่องที่ทุกองค์กรต้องให้ความสำคัญอย่างมาก และการที่จะหาเกราะป้องกันข้อมูลบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตขององค์กร จึงไม่ต่างกับการฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันเชื้อไวรัสโควิดเลย
บริษัทไซเบอร์ อีลีท จำกัด (CBE) ในฐานะผู้ให้บริการระบบรักษาความปลอดภัยเทคโนโลยีสารสนเทศ คงต้องบอกอย่างตรงไปตรงมาว่า ระบบ Antivirus ทั่วๆ ไป ยังไม่สามารถทำหน้าที่เป็นเกราะป้องกันข้อมูลลูกค้าหรือข้อมูลภายในองค์กรของท่านได้เพียงพอ เนื่องจากภัยคุกคามไซเบอร์มีการพัฒนารูปแบบการโจมตีอยู่ตลอดเวลา มีความรวดเร็วและรุนแรงมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มของมัลแวร์ (Malware) หรือไวรัสคอมพิวเตอร์ ไม่ว่าจะเป็น ไวรัสต่างๆ (Virus) เวิร์ม (Worm) โทรจัน (Trojan) บอทเน็ต (Botnet) และอื่นๆ พวกนี้มีการพัฒนารูปแบบการโจมตีใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง ก่อให้เกิดอันตราย และความเสียหายรุนแรงกับอุปกรณ์การเชื่อมต่อทุกประเภท หรือที่เรียกว่า Endpoint ทั้งคอมพิวเตอร์ เซิร์ฟเวอร์ สมาร์ทโฟน ฯลฯ บางตัวส่งผลร้ายแรงถึงขั้นเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในองค์กรล่ม จนไม่สามารถทำงานได้ หรือข้อมูลสำคัญถูกขโมยเกิดความเสียหายที่ประเมินค่าไม่ได้ และนอกจากมัลแวร์แล้วยังมีการโจมตีทางไซเบอร์อื่นๆ ที่มักพบได้บ่อย เช่น
- ฟิชชิง (Phishing): การหลอกลวงทางอินเทอร์เน็ตแบบหว่านแห วิธีการคือส่งข้อความผ่านทางอีเมลหรือเมสเซนเจอร์ เพื่อขอข้อมูลที่สำคัญ เช่น รหัสผ่าน หรือหมายเลขบัตรเครดิต เป็นต้น
- สเปียร์ ฟิชชิง (Spear phishing): เป็นการหลอกลวงที่กำหนดเป้าหมายบุคคลหรือองค์กรชัดเจน เฉพาะเจาะจง มีการปรับแต่งการโจมตีให้ดูเหมือนมาจากแหล่งที่มาที่น่าเชื่อถือหรือเป็นที่รู้จัก
- ช่องโหว่ (Vulnerabilities): เป็นการเข้าจู่โจมเมื่อตรวจพบข้อบกพร่องหรือช่องโหว่ในซอฟต์แวร์
- มัลแวร์แฝงโฆษณา (Malvertising): แสร้งทำตัวเป็นโฆษณา อ้างอิงเนื้อหาจากเว็บเบราว์เซอร์ต่างๆ เพื่อสร้างโฆษณาที่ตรงกับความต้องการของ User โดยพยายามหลอกให้คลิกเพื่อติดตั้ง หรือหลอกลวงเอาข้อมูลส่วนบุคคลและข้อมูลสำคัญต่างๆ
ซึ่งเกราะป้องกันที่ดีขององค์กร จะต้องประกอบด้วย
- ป้องกันการขโมยทรัพย์สินทางปัญญา ด้วยการตรวจสอบทุกๆ การเชื่อมต่อ
- ทำงานแบบ Non-Stop ไม่มีสะดุด แม้ขณะถูกโจมตี
- แจ้งเตือนทันที เมื่อพบเหตุการณ์ไม่ปกติ
- ป้องกันการเข้ารหัสข้อมูลของ Ransomware รวมถึง Crypto Wall และ Crypto Locker
- ระบบตรวจสอบ Application รวมถึง Protocol ชั้นสูง
- ตรวจจับสิ่งแปลกปลอมที่ไม่มีในฐานข้อมูล และการโจมตีรูปแบบใหม่ๆ พร้อมทั้งหยุดการโจมตีได้ทันที
- ทำลายการโจมตีรูปแบบใหม่ๆ ได้ทันที
- แสดงข้อมูลของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างละเอียด เพื่อประโยชน์ในการวิเคราะห์ปัญหา
- ควบคุมดูแลทุกๆ Process ที่กำหนด และเฝ้าระวังพฤติกรรมที่ผิดปกติได้แบบ Real-Time
- ทำงานร่วมกับ SIEM Solution ได้สมบูรณ์แบบ
- รองรับการใช้งานได้หลากหลายรูปแบบ ทั้ง On-Premises, Cloud, Hybrid และอื่นๆ
- ซ่อมแซมส่วนที่เสียหายได้ เช่น Memory Attack, Process Hidden, Modified Registry
หากองค์กรของท่านต้องการความพร้อมเรื่องวัคซีนทางไซเบอร์ และบริการด้านการรักษาความปลอดภัยไซเบอร์อื่นๆ เพิ่มเติม เรามีผู้เชี่ยวชาญที่พร้อมให้คำปรึกษาและคำแนะนำแก่ท่าน
หากท่านสนใจและต้องการทราบข้อมูลบริการด้านการรักษาความปลอดภัยไซเบอร์เพิ่มเติมสามารถติดต่อได้ที่
Email: [email protected]
Tel: 094-480-4838
FB: https://www.facebook.com/cyberelite
Linkedin: https://www.linkedin.com/company/cyber-elite-thailand
ติดตามเนื้อหาดีๆแบบนี้ได้ที่
Facebook : https://www.facebook.com/innnews.co.th
Twitter : https://twitter.com/innnews
Youtube : https://www.youtube.com/c/INNNEWS_INN
TikTok : https://www.tiktok.com/@inn_news
LINE Official Account : @innnews