เอเปคนะจ๊ะ
@ยังคงมาในแนวหน้าตา ย้ำในมุมพยายามขอความร่วมมือกับคนไทยทุกคนในการทำให้งานประชุม เอเปค ผ่านไปอย่างเรียบร้อย ท่ามกลางม็อบราษฎร และอีกหลายม็อบขู่ชุมนุม ไม่นับรวมการเฝ้าระวังเหตุป่วนความมั่นคง อย่างที่คืนวาน (15/11/65) เกิดเหตุระเบิดปั๊มน้ำมันเผาตู้สัญญาณโทรศัพท์ ที่จ.ปัตตานี
@จนเจ้าที่ต้องเข้มตรวจผู้คนที่มาจากภาคใต้ หรือแม้กระทั่ง3นักศึกษารามฯที่เป็นชาวมุสลิมที่ถูกตรวจค้นควบคุมตัววันนี้ ขนานไปกับแอ๊คชั่นจากกองทัพและหน่วยความมั่นคงเฝ้าระวังไม่ให้เสียภาพพจน์ประเทศไทยโดย “บิ๊กป้อม” มีการสั่งทหาร- ตำรวจ -กอ.รมน.คุมเข้ม และ ไม่ประมาท หลัง เกิดเหตุระเบิด 2 ปั้มน้ำมัน ที่ปัตตานี-ยะลา ป่วนภาพลักษณ์ ไทย ช่วงAPECชี้ไม่ว่า เกิดเหตุ ที่ไหน ล้วนกระทบการเป็นเจ้าภาพ
@ขณะที่ นายกลุงตู่ ไปพูดในงานประชุมเชิงวิชาการ APEC ที่จุฬาลงกรณฯ ทำนองอยากให้มีสันติสุข โดยชูภาพสยามเมืองยิ้มของประเทศไทยว่า ไม่ว่าจะอยู่ประเทศไหนในโลก เราต้องรักกัน“เราต้องรักและสามัคคีกัน ให้กำลังใจซึ่งกันและกัน เผื่อแผ่ สิ่งสำคัญเราต้องการสันติสุขในประเทศไทย เป็นบ่อเกิดทุกเรื่อง ทั้งสังคม เศรษฐกิจเพราะฉะนั้นเราต้องรักกัน และต้อนรับ ด้วยยิ้มแห่งสยาม สยามเมืองยิ้ม
@เรียกว่าบรรยากาศเอเปคในยุคลุงตู่ น่าสนใจ ว่า นอกจากการถูกจับผิดข้อผิดพลาด และเปรียบเทียบจากฝ่ายนักการเมืองตรงข้าม ไม่าจะเป็ สมคิด หรือ อุ๊งอิ๊ง ที่ออกมากระซุ่นว่าไทยควรจะได้ประโยชน์จากเวทีเอเปคมากกว่านี้ ที่ต่างก็ มองว่ารัฐบาลลุงตู่เน้นในเชิงรูปแบบพิธีการ มากกว่า เนื้อหา สาระ ประโยชน์ที่ประเทศไทยจะได้รับ ไม่นับรวมการมีน้ำหนักในสายตาผู้นำประเทศมหาอำนาจอย่างสหรัฐหรือจีน โดยเฉพาะในด้านเศรษฐกิจ ไม่นับรวมความคาดหวังแบบติดปลายนวม จากเวทีนี้ ที่ส่วนหนึ่งทำให้ขาดการมีส่วนร่วม จนกลายเป็นความหวาดระแวงจากรัฐบาล ว่า ใครเคลื่อนไหวอะไรช่วงนี้ เป็น ผู้ไม่หวังดี
@อย่างที่ทั้งนักวิชาการด้านรัฐศาสตร์ความมั่นคง และ ด้านเศรษฐศาสตร์ เห็นคล้ายกัน ไม่าจะเป็น “อ.สมภพ มานะรังสรรค์” มองว่าประเด็นที่รัฐบาลไทยนำเสนอไม่ว่าจะเป็น การสร้างสมดุลเรื่องพลังงานหมุนเวียน (Renevable Energy) ซึ่งจะมีการนำโมเดลการพัฒนาเศรษฐกิจ BCG (Bio-Circular-Green Economy) หรือ เศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว นั้น แม้จะเป็นประเด็นที่น่าสนใจ แต่ก็ต้องยอมรับว่า เป็นช่วงเวลาที่ไม่เหมาะสมมากนัก เพราะนำเสนอที่ใกล้เคียงกับการประชุมเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลกแห่งสหประชาชาติ หรือ COP27 ซึ่งถือเป็นเวทีในระดับนานาชาติที่พูดประเด็นเรื่องนี้โดยตรงอยู่แล้ว
@รัฐบาลไทยน่าจะใช้โอกาสครั้งสำคัญนี้ ในการนำเสนอประเด็นที่เป็น “จุดขาย” มากกว่านี้ เช่น ในประเด็นเรื่องความขัดแย้งด้านภูมิรัฐศาสตร์ หรือ ปัญหาเศรษฐกิจโลกถดถอย พร้อมกับนำเสนอวิธีการที่จะนำพาชาวโลกไปสู่การแก้ไขปัญหาเหล่านั้นมากกว่า เพราะ “จุดเด่นสำคัญของประเทศไทย คือ ที่ตั้งของเราไม่อยู่ในจุดที่ล่อแหลมต่อความขัดแย้งทางด้านภูมิรัฐศาสตร์” และควรพยายามนำเสนอเรื่องข้อมูลข่าวสารต่างๆ ที่เป็นแนวโน้มเรื่องนโยบายสำคัญๆ โดยเฉพาะการเปิดรับการลงทุนจากต่างประเทศ
@เช่นเดียวกับ อ.สุรชาติ บำรุงสุข ที่มองว่าผู้นำรัฐบาลอาจจะมีความหวังจากความสำเร็จของเอเปคที่กรุงเทพ ที่จะเป็น “ตัวช่วย” ในการพยุงสถานะของรัฐบาล แต่ความสำเร็จดังกล่าวดูจะเกิดไม่ง่ายนัก เนื่องจากความสนใจของโลกดูจะอยู่กับ “จี-20” ที่บาหลี มากกว่าอยู่กับ “เอเปค” ที่กรุงเทพฯ
โดย มองว่า สัญญาณที่จะต้องติดตามของการเมืองไทยยุคหลังเอเปค และผลกระทบน่าจะชัดเจนมากขึ้นเมื่อการประชุมเอเปคสิ้นสุดลง … ฤาว่าเอเปคคือละครใหญ่ฉากสุดท้ายของรัฐบาล ถ้าละครนี้ปิดฉากลงอย่างไม่น่าประทับใจแล้ว การเมืองยุคหลังเอเปคก็คือการเมืองยุคหลัง บิ๊กตู่
ติดตามเนื้อหาดีๆแบบนี้ได้ที่
Facebook : https://www.facebook.com/innnews.co.th
Twitter : https://twitter.com/innnews
Youtube : https://www.youtube.com/c/INNNEWS_INN
TikTok : https://www.tiktok.com/@inn_news
LINE Official Account : @innnews