พาณิชย์ยันRCEPพร้อมใช้ประโยชน์1ม.ค.65
อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ยืนยันRCEP พร้อมใช้ประโยชน์ 1 ม.ค.2565 ไทยได้ประโยชน์ไม่ทิ้ง SMEs
นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า หลังจากรัฐสภาได้เห็นชอบให้ไทยให้สัตยาบันความตกลง RCEP แล้วนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติ 3 หน่วยงานประกอบด้วย กรมศุลกากร, กรมการค้าต่างประเทศ และสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม จะต้องมีการเตรียมตัวแก้ไขระเบียบที่เกี่ยวข้องให้แล้วเสร็จเพื่อปฏิบัติตามเงื่อนไขของอาเสร็จคาดว่าจะใช้ระยะเวลา 2-6 เดือน จากนั้นกระทรวงการต่างประเทศ จะออกหนังสือรับรองสัตยาบันเสนอไปถึงสำนักงานเลขาธิการอาเซียนมั่นใจว่าถามตกลงRCEP จะมีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคมปี 2565 เป็นต้นไป
อย่างไรก็ ประโยชน์ของ RCEP 7 ประเด็น สำคัญ คือ ขยายโอกาสสร้างแต้มต่อจากภาษี, เพิ่มทางเลือกในการใช้สินค้าของไทย, การใช้เวลาในการตรวจปล่อยสินค้าที่น้อยลง, ดึงดูดการลงทุนที่ไทยต้องการทั้งเทคโนโลยีและการพัฒนาอุตสาหกรรม, การพัฒนาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์, ส่งเสริมการค้าไร้กระดาษ และการให้ความสำคัญกับ SMEs ซึ่งจะต้องมีส่วนร่วมในการเข้าถึงข้อมูล การมีส่วนในการผลิต และใช้ประโยชน์จากแต้มต่อต่างๆ ภายในRCEPให้ได้มากที่สุด
“พาณิชย์”เร่งเดินหน้าตั้งกองทุนFTA เดือนมี.ค.
อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เผย เร่งเดินหน้าตั้งกองทุนFTA เดือนมี.ค.นี้รายละเอียดการจัดตั้งแล้วเสร็จ
นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยถึงความคืบหน้าการจัดตั้งกองทุน FTA ว่า ภายในเดือนมีนาคมนี้ กรมฯ จะจัดทำรายละเอียดข้อเสนอการขอตั้งกองทุน FTA แล้วเสร็จ และจะเร่งนำเสนอเข้าสู่ที่ประชุมคณะทำงานพิจารณาแนวทางการพัฒนากองทุนฯ ซึ่งมีปลัดกระทรวงพาณิชย์เป็นประธานพิจารณา ก่อนเสนอ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เพื่อขอความเห็นชอบให้เสนอเรื่องการตั้งกองทุนต่อคณะกรรมการนโยบายการบริหารทุนหมุนเวียน ที่มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเป็นประธาน
ทั้งนี้ หากคณะกรรมการนโยบายฯ เห็นชอบในหลักการ กรมฯ จะนำร่าง พ.ร.บ.จัดตั้งกองทุนFTAเข้าสู่กระบวนการประชาพิจารณ์ ก่อนเสนอคณะรัฐมนตรี และรัฐสภาตามกระบวนการตรากฎหมายต่อไปภายในปีนี้
อย่างไรก็ดี สำหรับกรอบประเด็นสำคัญในการจัดตั้งกองทุน ได้มีการศึกษาและหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งในส่วนของวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งกองทุน การช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบ อาจแบ่งเป็น 2 รูปแบบ คือ เงินจ่ายขาด และเงินหมุนเวียน โดยจะมีหน่วยงานข้อกลางที่เป็นภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคเกษตร ภาควิชาการ หรือธนาคารของรัฐในระดับพื้นที่ เป็นตัวกลางสำหรับประสานงานและเสนอคำขอรับความช่วยเหลือไปยังหน่วยบริหารกองทุนต่อไป
ติดตามเนื้อหาดีๆแบบนี้ได้ที่
Facebook : https://www.facebook.com/innnews.co.th
Twitter : https://twitter.com/innnews
Youtube : https://www.youtube.com/c/INNNEWS_INN
TikTok : https://www.tiktok.com/@inn_news